โปรแกรมสำหรับงานในสำนักงาน

รวมบทความเกี่ยวกับโปรแกรมใช้งานในสำนักงาน โปรแกรมพิมพ์เอกสาร Word สร้างรายงาน การคำนวณ สร้างแผนภูมิด้วย Excel เช่น โปรแกรมพิมพ์เอกสาร คำนวณ สร้างกราฟ รวม Tips การใช้งานโปรแกรมสำหรับสำนักงาน ฯลฯ

 

บทความแสดงการลบไฟล์เอกสารที่ได้สร้างด้วย Word 2003 ที่ไม่ต้องการใช้งานแล้ว
ถ้าต้องการลบไฟล์ใดๆ ก็สามารถทำได้
1. คลิกเมนู File>>Open
2. จะแสดงชื่อไฟล์ ต้องการลบไฟล์ใดๆ ก็คลิกชื่อไฟล์นั้นๆ แล้วกดปุ่ม Delete ที่แป้นพิมพ์
3. จะปรากฏกรอบข้อความถามความแน่ใจ ว่าต้องการลบใช่หรือไม่ ให้คลิกปุ่ม Yes

บทความอธิบายวิธีการพิมพ์ข้อความในโปรแกรม Word 2003  สำหรับวิธีการพิมพ์ข้อความนั้น ไม่ว่าจะพิมพ์เอกสารในโปรแกรมๆ ก็ตาม มีคำแนะนำดังนี้
1. เอกสารที่จะพิมพ์นั้น อาจจะมีข้อความตัวใหญ่ตัวเล็ก ตัวหนา ตัวเอียง จัดตำแหน่งไว้ด้านซ้าย ด้านขวาหรือตรงกลาง ในการพิมพ์ก็พิมพ์ไปตามปกติ ไม่ต้องสนใจว่า

ตำแหน่งของตัวหนังสือจะเป็นอย่างไร หรือลักษณะของตัวหนังสือจะเป็นอย่างไร
2. ในกรณีที่เราพิมพ์ผิดเช่น คำว่า “ข้อความ” ให้กดปุ่ม Backspace เพื่อลบออก แล้วพิมพ์เข้าไป ใหม่
3. อาจใช้อีกวิธีหนึ่งเช่น จะเห็นว่าตกตัว อ ไป ลืมพิมพ์ ก็กดปุ่มลูกศร เลื่อนตัวกระพริบหรือตัว เคอร์เซอร์ ไปอยู่กึ่งกลางระหว่างตัว ข กับ ค แล้วก็พิมพ์ตัว อ
4. จากนั้นกดปุ่มลูกศร เลื่อนไปทางขวาสุด เพื่อพิมพ์ข้อความอื่นๆ ต่อไป
5. เมื่อเราพิมพ์ถึงอักษรตัวสุดท้ายหรือบรรทัดสุดท้ายแล้วให้กดปุ่ม Enter 1 ครั้ง เพื่อตัดลงไป บรรทัดใหม่
6. การพิมพ์ข้อความที่มีหลายบรรทัด ในกรณีนี้ให้พิมพ์ไปตามปกติ โดยไม่ต้อง Enter เพื่อขึ้น บรรทัดใหม่ โปรแกรมจะตัดคำให้อัตโนมัติ

7. ขณะที่พิมพ์อยู่นั้น บางคำหรือบางประโยคอาจมีขีดเส้นใต้เป็นเส้นเขียวหรือเส้นแดง ไม่ต้อง สนใจ ปล่อยไว้อย่างนั้นก่อน แล้วค่อยจัดการภายหลัง แต่ก็ควรตรวจสอบว่าคำๆ นั้น สะกดถูกต้องหรือไม่
8. ข้อความต้นฉบับที่มีทั้งตัวหนา ตัวเอียง ขีดเส้นใต้ ก็ยังไม่ต้องสนใจ พิมพ์ไปตามปกติ พิมพ์ เสร็จแล้ว ค่อยจัดการในภายหลัง จะง่ายกว่าการพิมพ์ไปจัดไป

การตัดคำลงไปบรรทัดใหม่
แม้โปรแกรม Word จะมีความสามารถตัดคำภาษาไทย แต่ก็ใช่ว่าจะสามารถทำได้ 100% เสียทีเดียว เพราะภาษาไทยมีความซับซ้อน ไม่ได้แยกเป็นคำๆ เหมือนภาษาอังกฤษ
1. พิมพ์ข้อความไปสัก 2 บรรทัด โปรแกรมจะตัดลงบรรทัดใหม่ เมื่อสุดขอบด้านขวามือ
2. จะพบว่าในบรรทัดแรกหลังคำว่า เพราะ จะมีช่องว่างเล็กน้อย
3. สร้างแถบดำข้อความทั้งย่อหน้า แล้วคลิกปุ่ม Justify จัดข้อความแบบเสมอหน้า เสมอหลัง ของขอบกระดาษ
4. คลิกหลังคำว่า ภาษาไทย แล้วกดปุ่ม Space Bar ที่แป้นพิมพ์ เพื่อวรรค
5. ถ้าช่องว่างหลังคำว่า เพราะ พอดีกับคำว่าภาษาไทย คำนี้ก็จะกระโดดไปต่อท้ายคำว่า เพราะ แต่ถ้าไม่พอดี ก็คงต้องลบบางคำออกไป เช่น คำว่า “ก็” ใน แต่ก็ใช่ว่า ...

 

การเลือกข้อความหรือการสร้างแถบดำที่ข้อความ ก่อนที่จะจัดการกับข้อความหรือตัวหนังสือที่ได้พิมพ์ขึ้นมา จะต้องเลือกข้อความโดยการสร้างแถบ ดำเสียก่อน การสร้างแถบดำ ทำได้หลายวิธี เช่น
1. จะสร้างแถบดำที่ย่อหน้าแรก ตั้งแต่คำว่า “ในการ... “ จนถึง “...ตามต้องการ” ก็เลื่อนเมาส์ ไปข้างหน้าคำว่า “ใน”
2. กดปุ่มซ้ายของเมาส์ค้างไว้แล้วลากเมาส์ไปปล่อยด้านหลังคำว่า ต้องการ
3. หากลากเมาส์แล้วข้อความถูกย้าย ไปตำแหน่งอื่นๆ ให้คลิก Edit>>Undo เพื่อให้กลับเป็นแบบ เดิมก่อนแล้วจึงสร้างแถบดำอีกครั้ง
4. ส่วนการสร้างแถบดำที่เป็นวิธีที่ดี แล้วอยากจะแนะนำก็คือ ให้คลิกที่ตัวข้างหน้าข้อความ
5. กดปุ่ม Shift ที่แป้นพิมพ์ค้างไว้
6. เลื่อนเมาส์ไปคลิกที่ด้านหลังข้อความนั้น แล้วปล่อยปุ่ม Shift วิธีนี้เป็นวิธีที่ค่อนข้างจะดีกว่า วิธีอื่น ๆ เพราะสามารถสร้างแถบดำได้อย่างแม่นยำและได้ผล เหมาะสำหรับการเลือกข้อความที่มีหลายๆ หน้าหรือมีจำนวนมาก ซึ่งอาจจะสร้างแถบดำโดยการคลิกด้านหลัง กดปุ่ม Shift ค้างไว้ แล้วก็มาคลิกด้าน หน้าข้อความก็ได้
7. หากต้องการให้แถบดำหายไปก็คลิกเมาส์ที่ตำแหน่งใดๆ ในหน้าเอกสาร

 

การเปลี่ยนขนาด สี แบบของตัวหนังสือ หลังจากที่ได้พิมพ์ข้อความเสร็จแล้ว ในการเปลี่ยนแบบของตัวหนังสือ ขนาด สี หรือเอฟเฟคท์ ก็ต้องสร้างแถบดำก่อน อาจจะสร้างแถบดำแค่บรรทัดเดียว ในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนแค่บรรทัดเดียว หรือสร้างแถบดำหลายๆ บรรทัด กรณีที่ต้องการเปลี่ยนหลายๆ บรรทัด
1. เลือกข้อความหรือคำที่ต้องการ โดยการสร้างแถบดำ
2. การเปลี่ยนแบบของตัวหนังสือให้เป็นแบบอื่น คลิกที่ปุ่ม Font แล้วคลิกที่แบบตัวหนังสือที่ ต้องการ เช่น AngsanaUPC, CordiaUPC เป็นต้น
3. การเปลี่ยนขนาด ให้คลิกที่ปุ่ม Font size แล้วคลิกขนาดที่ต้องการ
4. เปลี่ยนสไตล์ ตัวหนา ตัวเอียง ให้คลิกที่ปุ่มตัวหนา (B) ตัวเอียง (I) ตัวขีดเส้นใต้ (U) ยกเลิก ตัวหนาหรือตัวขีดเส้นใต้ ก็คลิกซ้ำที่ปุ่มนั้น ๆ อีกครั้งหนึ่ง
5. ในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนสี ให้คลิกที่ปุ่ม Font Color คลิกตรงปุ่มชี้ลงแล้วคลิกสีที่ต้องการ
6. ต้องการเปลี่ยนเอฟเฟคท์ของตัวหนังสือ ให้คลิกที่เมนู Format>>Font
7. ในหน้าจอนี้สามารถเปลี่ยนทีเดียวได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นแบบของตัวหนังสือ (Font Style) ตัวหนา ตัวเอียง ขนาด สี และเอฟเฟคท์ต่าง ๆ อาจจะเป็นตัวหนังสือแบบมีเงาหรือเป็นแบบ Emboss อาจจะเลือกตัวหนังสือแบบ Animation เช่น เลือกแบบ Sparkle Text ซึ่งจะเป็นประกายรอบๆ ข้อความ
8. เลือกถูกใจแล้ว ให้คลิกปุ่ม OK
9. ในกรณีที่พิมพ์เป็นภาษาไทย หากต้องการเปลี่ยนแบบของตัวหนังสือ ก็คลิกที่ปุ่ม Font แล้ว คลิกเลือกตัวหนังสือที่ใช้กับภาษาไทยได้ สังเกตได้ง่ายๆ มีตัว ท.ทหารอยู่ข้างหน้าหรือชื่อลงท้ายด้วย UPC (AngsanaUPC) ถ้าเป็นตัวอื่นๆ เช่น Arial Black จะทำให้กลายเป็นตัวประหลาดอ่านไม่ออก

Sponsored Ads