โปรแกรมสำหรับงานในสำนักงาน

รวมบทความเกี่ยวกับโปรแกรมใช้งานในสำนักงาน โปรแกรมพิมพ์เอกสาร Word สร้างรายงาน การคำนวณ สร้างแผนภูมิด้วย Excel เช่น โปรแกรมพิมพ์เอกสาร คำนวณ สร้างกราฟ รวม Tips การใช้งานโปรแกรมสำหรับสำนักงาน ฯลฯ

 

 

บทความแแสดงการคำนวณใน Excel 2003 ด้วยฟังก์ชันแบบที่ 3
เป็นการใช้ฟังก์ชันเกี่ยวกับการตัดทอนทศนิยม ด้วยฟังก์ชัน CEILING, ROUND และ TRUNC เพื่อตัดทอนทศนิยมแบบต่างๆ
1. CEILING ตัดทอนทศนิยมเช่น ปัดให้ลงท้ายด้วย 25 50 70 สตางค์ และเต็มบาท เพื่อช่วยให้ สามารถทอนเงินได้ ในกรณีที่ราคาสินค้าไม่ลงตัวเช่น 20.21 บาท ก็จะปัดเป็น 20.25 บาท
2. ROUND ตัดทอนทศนิยมโดยปัดให้เป็นจำนวนเต็ม ทศนิยมที่มีค่า ตั้งแต่ 0.5 จะปัดให้เป็น จำนวนเต็มที่มีค่ามากกว่านั้น เช่น 5.5 ก็จะปัดให้เป็น 6 ส่วน 5.4 จะปัดให้เป็น 5
3. TRUNC ตัดทอนทศนิยมทิ้งไปเลย ไม่ว่าจะเป็น 20.21, 20.25, 5.5 หรือ 5.4 ตัดทิ้งไป ก็จะเป็น 20, 20, 5 และ 5
วิธีคำนวณ
1. พิมพ์ข้อมูลลงไปตามตัวอย่าง
2. ในเซลล์ B3 พิมพ์ =CEILING(A3,0.25)
3. ในเซลล์ C3 พิมพ์ =ROUNT(A3)
4. ในเซลล์ D3 พิมพ์ =TRUNC(A3)

 

บทความแแสดงการคำนวณใน Excel 2003 ด้วยฟังก์ชันแบบที่ 4
เป็นตัวอย่างการใช้ฟังก์ชันที่เหมาะสำหรับนักวิจัย สำหรับงานด้านสถิติ เช่น การหาค่าเฉลี่ยของ ข้อมูล ค่ามัธยฐาน ฐานนิยม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นต้น
1. พิมพ์ข้อมูลลงไปตามตัวอย่าง
2. เซลล์ H1 พิมพ์ =MIN(A2:E5) เพื่อหาคะแนนต่ำสุดของนักเรียน
3. เซลล์ H2 พิมพ์ =MAX(A2:E5) เพื่อหาคะแนนสูงสุดของนักเรียน
4. เซลล์ H3 พิมพ์ =AVERAGE(A2:E5) เพื่อหาคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทั้งห้อง
5. เซลล์ H4 พิมพ์ =MEDIAN(A2:E5) เพื่อหาค่ามัธยฐาน
6. เซลล์ H5 พิมพ์ =MODE(A2:E5) เพื่อหาฐานนิยม
7. เซลล์ H6 พิมพ์ =STDEVP(A2:E5) เพื่อหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

 

บทความแแสดงการคำนวณใน Excel 2003 ด้วยฟังก์ชันแบบที่ 5
เป็นการใช้ฟังก์ชันช่วยในการค้นหาข้อมูล มีให้เลือกใช้หลายฟังก์ชันเช่น MATCH, VLOOKUP, HLOOKUP, INDEX เป็นต้น ซึ่งเหมาะสำหรับข้อมูลที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก
1. พิมพ์ข้อมูลลงไป
2. เซลล์ E2 พิมพ์ =MATCH(D2,$B$1:$B$10,0) เป็นการค้นหาว่า สมทรง ส่วนดี (D2) อยู่ใน ลำดับที่เท่าไรของข้อมูลทั้งหมด คำตอบก็คือลำดับที่ 5

 

 

บทความอธิบายการทำงานกับฐานข้อมูลใน Excel 2003

การทำงานกับฐานข้อมูลจะนิยมใช้งานโปรแกรมประเภทนี้โดยเฉพาะเช่น Access แม้โปรแกรม Excel จะสามารถทำได้ แต่ก็เหมาะสำหรับการจัดการกับข้อมูลขนาดเล็กๆเท่านั้น ลักษณะของฐานข้อมูลจะ เป็นการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ อย่างเป็นระบบ ระเบียบเพื่อความสะดวกในการค้นหา เรียกใช้งาน หรือจัดการในลักษณะต่างๆ


ฐานข้อมูลที่เราพบเห็นกันบ่อยๆ หรือที่ใกล้ตัวที่สุด เช่น ข้อมูลบัตรประจำตัวประชาชน บัตร ATM ซึ่งผู้จัดเก็บข้อมูลของเราไว้ ก็จะรวบรวมข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับตัวเรา เช่นชื่อ-สกุล หมายเลขบัตรประจำตัว ฯลฯ เพื่อความสะดวกในการให้บริการข้อมูลในกรณีที่ต้องการใช้ เช่น บัตร ATM หายไป ก็สามารถแจ้ง อายัดบัตรโดยบอกชื่อนามสกุลของเรา ทางธนาคารก็จะสามารถจัดการให้เราได้


แต่ในทางธุรกิจ ฐานข้อมูลมีความสำคัญมาก การเก็บข้อมูลที่เป็นระบบระเบียบทำให้สามารถ วิเคราะห์ความเป็นไปหรือทิศทางของธุรกิจของหน่วยงานได้ สามารถดูได้ตลอดเวลายอดขายสินค้าในเดือน นี้เป็นอย่างไรบ้าง เดือนต่อไปจะเป็นอย่างไร ต้องผลิตเพิ่มหรือไม่

ลักษณะของฐานข้อมูล
ในการพิมพ์ข้อมูลในโปรแกรม Excel จะสามารถพิมพ์ข้อมูลต่างๆ ลงไปได้เลย โดยอาจแตกต่างจาก การคำนวณเล็กน้อยเช่น
1. หัวข้อหรือฟิลด์ เพื่อกำหนดโครงร่างโดยรวมของข้อมูล ว่ามีอะไรบ้าง เช่น รหัสสินค้า ชื่อสินค้า ประเภทสินค้า ราคา จำนวน รวม
2. ข้อมูลแต่ละรายการหรือแต่ละแถวจะเรียกว่าระเบียน หรือเรคคอร์ด
3. ให้พิมพ์ข้อมูลลงไปตามตัวอย่าง


Sponsored Ads