โปรแกรมสำหรับงานในสำนักงาน

รวมบทความเกี่ยวกับโปรแกรมใช้งานในสำนักงาน โปรแกรมพิมพ์เอกสาร Word สร้างรายงาน การคำนวณ สร้างแผนภูมิด้วย Excel เช่น โปรแกรมพิมพ์เอกสาร คำนวณ สร้างกราฟ รวม Tips การใช้งานโปรแกรมสำหรับสำนักงาน ฯลฯ

 


การคำนวณเกี่ยวกับรายรับรายจ่าย สำหรับคุณๆ ที่มีร้านขายของเล็กๆ
เป็นการคำนวณรายรับรายจ่ายที่มีรายการรายรับรายจ่าย ในแต่ละเดือนค่อนข้างมาก เหมาะ สำหรับร้านขายของขนาดเล็กๆ ในแต่ละ เดือนผู้ขายต้องการที่จะ สรุปยอดขายทั้งหมดในการขาย รายจ่าย ในการจัดซื้อสินค้าเก็บในสต็อกในแต่ละเดือน และกำไร ขาดทุน ในแต่ละปี

ในการคำนวณให้ปฏิบัติดังนี้
1. เริ่มต้นสร้างงานใหม่ โดยคลิกคำสั่ง แฟ้ม>>ใหม่>>กระดาษคำนวณ แต่ถ้าหากเข้า โปรแกรมแล้วปรากฏเป็นหน้าจอว่างๆ ก็ เริ่มทำงานได้ เลย


2. ปกติจะมีชีทอยู่เพียง 3 ชีท ให้เพิ่มเข้ามาอีก 10 ชีท และเปลี่ยนชื่อจาก แผ่นงาน 1 เป็นชื่อเดือน เช่น Jan โดยดับเบิ้ลคลิกที่ แผ่นงาน 1 แล้วพิมพ์ชื่อใหม่คือ Jan


3. ให้เปลี่ยนแผ่นงาน 2 เป็น Feb และเปลี่ยนชีทอื่นๆ จนกว่าจะครบทั้ง 12 เดือน ส่วนชีท สุดท้ายให้ตั้งชื่อว่า สรุปรายรับรายจ่าย สำหรับเก็บตัวเลขรายรับราย จ่ายของแต่ละเดือน

 

4. ในการคำนวณในลักษณะนี้จะแบ่งคำนวณในแต่ละเดือนให้อยู่คนละชีท การเลื่อนไปยังชีท ที่ต้องการ ให้คลิกที่ปุ่มสามเหลี่ยม ชี้ซ้ายหรือขวา ที่มุมล่างซ้าย ของจอ


5. ในแต่ละชีทให้ป้อนข้อมูลตามตัวอย่างดังนี้ ในช่องรายการที่ซื้อหรือขาย อาจจะเว้นช่องไว้ มากกว่านี้ ขึ้นอยู่กับจำนวนลูกค้า จะมากแค่ไหน ในแต่ละเดือน สำหรับการป้อนข้อมูลอาจจะป้อนข้อมูล เดือนละ 2 ครั้ง หรือเดือนละครั้ง โดยนำข้อมูลที่เขียนใน ใบเสร็จรับเงินมาป้อน


6. ในการป้อนข้อมูล ในช่องรวมเงิน คือ เซลล์ G4 ถึง G9, H4 ถึง H9, E13 ถึง E14 และ F13 ถึง F14 ไม่ต้องป้อนข้อมูล ในส่วนนี้ จะเป็นส่วนที่ป้อนสูตร


7. ในเซลล์ G4 จะรวมเงินทั้งหมดที่นายแทนซื้อแฟ้มแขวน นำราคาขาย(F4) คูณกับจำนวน ซื้อ(D4) ก็คือ =D4*F4 จากนั้นก็ ก็อปปี้ลงด้านล่างถึงเซลล์ G9


8. ในเซลล์ H4 การคิดกำไร คิดโดยนำผลรวมเงินในเซลล์ G4 ลบกับจำนวนซื้อ (D4) คูณกับราคาทุน (E4) ก็คือ =G4-(D4*E4) จากนั้นก็ก็อปปี้ลงด้านล่างถึง เซลล์ H9


9. ในเซลล์ D10 ถึง H10 จะเป็นการรวมยอดทั้งหมด ก็ให้คลิกที่ D10 แล้วพิมพ์ =SUM(D4:D9) จากนั้นก็ก็อปปี้ไปด้านขวามือ ถึงเซลล์ H10


10. การคำนวณเกี่ยวกับรายจ่ายในเซลล์ที่เหลือคือ E13 ถึง E14 และ F13 ถึง F14 ก็ปฏิบัติคล้ายๆ กัน

 

11.เนื่องจากในแต่ละชีทตั้งแต่JanถึงDecจะเหมือนกัน (ขอสมมติว่าลูกค้าทั้งหมดเป็นลูกค้า ประจำที่มาซื้อของร้านคุณทุก เดือน) เพราะฉะนั้นให้ป้อนให้สมบูรณ์ แค่ชีทเดียวก็พอ ชีทตั้งแต่ Feb ถึง Dec ให้ใช้วิธีก็อปปี้ข้ามชีท


12. การก็อปปี้ให้สร้างแถบดำที่ข้อมูลทั้งหมดโดยคลิกที่มุมบนซ้ายของชีท เพื่อเลือกเซลล์ ทั้งหมด ในชีทที่ชื่อ Jan คลิกคำสั่ง แก้ไข>>คัดลอก หรือคลิ กขวาที่ชีทชื่อ Jan แล้วเลือกคำสั่ง คัดลอก


13. แล้วคลิกที่ชีทชื่อ Feb คลิกที่เซลล์ A1 คลิกคำสั่ง แก้ไข>>วาง เสร็จแล้วก็คลิกทีชีทชื่อ Mar แล้วปฏิบัติคล้ายๆ กัน จนกว่าจะครบ ทั้ง 12 เดือน คือถึง เดือน Dec


14. สำหรับในชีทสุดท้ายคือ สรุปรายรับรายจ่าย จะเป็นชีทที่สรุปรายรับรายจ่ายในแต่ละเดือน ออกมาว่ามีค่าเท่าไร และจะรวม ออกมาว่าทั้งปี จะมีกำไร ขาดทุน เท่าไร ให้ป้อนข้อมูลลงไปตามตัวอย่าง

 

15. การนำตัวเลขยอดรวมในแต่ละชีทมาแสดงที่ชีทนี้จะใช้วิธียกยอดมาหรืออ้างอิงโดยใช้สูตร
=ชื่อชีท.ตำแหน่งหรือเซลล์ที่มีตัวเลขยอดรวม
ตัวอย่าง ในเซลล์ C3 และ D3 ยอดรวมรายรับและรายจ่ายของเดือนมกราคม จะเป็นการนำยอด รวมของเดือนมกราคม คือเซลล์ H10 (1370) และ F15 (1060) ก็สามารถพิมพ์สูตรได้ดังนี้
ในเซลล์ C3 พิมพ์ =Jan.H10 แล้ว Enter
ในเซลล์ D3 พิมพ์ =Jan.F15 แล้ว Enter
อาจใช้การพิมพ์สูตรอีกวิธีหนึ่ง โดยคลิกที่เซลล์ C3 ในชีทสรุปรายรับรายจ่ายประจำปี 2546 พิมพ์เครื่องหมาย = แล้วคลิกที่ชื่อ ชีท Jan จากนั้นให้คลิกที่เซลล์ที่ เป็นผลรวมรายรับ คือ H10 แล้วกด Enter โปรแกรมก็จะพิมพ์สูตร =Jan.H10 ให้อัตโนมัติ
วิธีนี้จะทำให้ข้อมูลต่างๆ สัมพันธ์กัน เช่นเมื่อข้อมูลตัวเลขในชีท Jan เปลี่ยนตัวเลขในแผ่น งานสรุปรายรับรายจ่ายก็เปลี่ยนตาม ไปด้วย

 

16. ในเซลล์ C15 เป็นการรวมรายรับของทุกเดือน ในเซลล์ C3 ถึง C4 ให้ใช้สูตร =SUM (C3:C14) กด Enter แล้วก็อปปี้สูตรไป ที่เซลล์ D15 เพื่อรวมรายจ่าย ของทุกเดือน
17. ในเซลล์ E3 เป็นยอดคงเหลือโดยการนำรายรับลบรายจ่าย คือ =C3-D3 แล้วก็อปปี้ ลงด้านล่างถึงเซลล์ E15
18. ให้ป้อนสูตรให้ครบทุกเดือนตามต้องการ สำหรับเดือนที่ยังมาไม่ถึง ก็อาจจะลอง คำนวณ เล่นๆ ดูก่อน โดยการนำข้อมูลในเดือนก่อนหน้านั้นมาเป็นแนวทาง ในการคำนวณ วิธีนี้ก็จะเป็น ประโยชน์ ในการวางแผนได้มากทีเดียว และหลังจากทำงานเสร็จแล้ว ให้บันทึกงานเก็บไว้ โดยคลิกคำสั่ง แฟ้ม>>บันทึก


หากคุณมีบริษัทขายสินค้าประเภทหนึ่ง มีพนักงานขายทั้งหมด 12 คน แต่ละคนรับผิดชอบ ในแต่ละเขตโดยแบ่งเป็น 2 เขต คือ กรุงเทพ และต่างจังหวัด ในการ จ่ายค่าตอบแทนให้พนักงาน จะจ่าย โดยมีเงื่อนไขดังนี้
1. จ่ายเงินเดือน ตามอายุงาน ประสบการณ์ ความสามารถ
2. จ่ายเบี้ยเลี้ยง จะพิจารณาดังนี้
- ถ้าเขตที่พนักงานทำงาน อยู่ในกรุงเทพจ่ายเดือนละ 2000 บาท
- ถ้าเขตที่พนักงานทำงาน อยู่ในต่างจังหวัดจ่ายเดือนละ 3000 บาท
3. จ่ายค่าคอมมิสชั่น จะพิจารณาดังนี้
- ถ้ามียอดขายตั้งแต่ 1000000 บาทขึ้นไป จะให้ค่าคอมฯ 4% ของยอดขาย
- ถ้ามียอดขายตั้งแต่ 700000 บาทขึ้นไป จะให้ค่าคอมฯ 3% ของยอดขาย
- ถ้ามียอดขายตั้งแต่ 400000 บาทขึ้นไป จะให้ค่าคอมฯ 2% ของยอดขาย
- ถ้ามียอดขายตั้งแต่ 200000 บาทขึ้นไป จะให้ค่าคอมฯ 1% ของยอดขาย
- ถ้ามียอดขายน้อยกว่า 200000 บาท จะไม่จ่ายค่าคอมฯ
ในการคำนวณลักษณะนี้ก็จะยากขึ้นมาอีกนิดหน่อย เพราะตัวเลขค่อนข้างมาก และซับซ้อน

1. คุณอาจแยกเป็นเดือนๆ เหมือนในสถานการณ์ที่ 2 แล้วค่อยสรุปภายหลัง หรืออาจจะสร้าง เป็นเทมเพลทก็ได้ โดยให้ช่องยอด ขาย คือ เซลล์ E3 - E14 เป็น 0 เพราะยอดขายแต่ละเดือนไม่แน่นอน ส่วนเซลล์ D3 - D14, F3 - F14 และ G3 - G14 ก็คำนวณให้ เรียบร้อย
2. ให้คุณป้อนข้อมูลตามตัวอย่าง ยกเว้นในเซลล์ D3 - D14, F3 - F14 และ G3 - G14 ห้ามพิมพ์ข้อมูลใดๆ เพราะต้องพิมพ์สูตร

 

3. การคำนวณหาเบี้ยเลี้ยงที่จะพิมพ์ในเซลล์ D3 จะใช้สูตร If
โครงสร้างของสูตร =if(เงื่อนไขที่หนึ่ง;if(เงื่อนไขที่สอง;......))
การคำนวณเบี้ยเลี้ยงจะมีอยู่ 2 เงื่อนไขก็คือ
- ถ้าเขตที่พนักงานทำงาน อยู่ในกรุงเทพ (C3=”กทม”) จ่ายเดือนละ 2000 บาท
- ถ้าเขตที่พนักงานทำงาน อยู่ในต่างจังหวัด (C3=”ตจว”) จ่ายเดือนละ 3000 บาท
จากประโยคข้อความ เราจะมาตีความให้เป็นประโยคทางคณิตศาสตร์ ก็จะได้ดังนี้
if(C3=”กทม”;2000
if(C3=”ตจว”;3000
จากนั้นก็นำสูตรทั้งสองมารวมเข้าด้วยกัน ในแต่ละเงื่อนไขให้คั่นด้วยคอมม่า วงเล็บปิด ด้านท้ายต้องสัมพันธ์กับวงเล็บเปิดด้านหน้า เช่น เปิด 2 ก็ต้องปิด 2 แล้วก็ กด Enter เสร็จแล้ว ก็อปปี้ไปจนถึงเซลล์ D14
=if(C3=”กทม”;2000;if(C3=”ตจว”;3000))

 

4. การคำนวณหาค่าคอมมิสชั่นในเซลล์ F3 ก็คล้ายๆ กัน ใช้สูตร If
การคำนวณจะมีอยู่ 5 เงื่อนไข
- ถ้ามียอดขายตั้งแต่ 1000000 บาทขึ้นไป (E3>=1000000) จะให้ค่าคอมฯ 4% ของยอดขาย (E3*4%)
- ถ้ามียอดขายตั้งแต่ 700000 บาทขึ้นไป (E3>=700000) จะให้ค่าคอมฯ 3% ของยอดขาย (E3*3%)
- ถ้ามียอดขายตั้งแต่ 400000 บาทขึ้นไป (E3>=400000) จะให้ค่าคอมฯ 2% ของยอดขาย (E3*2%)
- ถ้ามียอดขายตั้งแต่ 200000 บาทขึ้นไป (E3>=200000) จะให้ค่าคอมฯ 1% ของยอดขาย (E3*1%)
- ถ้ามียอดขายน้อยกว่า 200000 บาท (E3<\<>200000) จะไม่จ่ายค่าคอมฯ (E3*0%)
จากประโยคข้อความ เราจะมาตีความให้เป็นประโยคทางคณิตศาสตร์ ก็จะได้ดังนี้
if(E3>=1000000;E3*4%
if(E3>=700000;E3*3%
if(E3>=400000;E3*2%
if(E3>=200000;E3*1%
if(E3<\<>200000;E3*0%
จากนั้นก็นำสูตรทั้งหมดมารวมเข้าด้วยกัน ในแต่ละเงื่อนไขให้คั่นด้วยคอมม่า วงเล็บปิด ด้านท้ายต้องสัมพันธ์กับวงเล็บเปิดด้านหน้า เช่น เปิด 5 ก็ต้องปิด 5 แล้ว ก็กด Enter เสร็จแล้วก็อปปี้ ไปจนถึงเซลล์ F14
=if(E3>=1000000;E3*4%;if(E3>=700000;E3*3%;if(E3>=400000;E3*2%;if(E3>=200000; E3*1%;if (E3<\<>200000;E3*0%)))))
5. การคำนวณรวมเงินในเซลล์ G3 ก็คือ เงินเดือน+เบี้ยเลี้ยง+ค่าคอมฯ หรือ =B3+D3+F3
6.แล้วก็คำนวณยอดรวมทั้งหมดด้านล่างด้วยเพื่อจะได้ทราบว่าในแต่ละเดือนจะจ่ายเงินให้ พนักงาน เท่าไรบ้าง เช่น ยอดรวมเงิน เดือนทั้งหมด 113,500 บาท เบี้ยเลี้ยง 30,000 บาท เป็นต้น

 


ในการคำนวณลักษณะนี้ก็จะคล้ายๆ กันกับ การคำนวณเบี้ยเลี้ยงและค่าคอมฯ จะเป็นการรวม คะแนนการสอบ 4 ช่วง จากนั้นก็นำมาคิดเกรด โดยมีเกณฑ์การคิด เกรด ดังนี้
- ถ้าทำคะแนน ได้ตั้งแต่ 80 ขึ้นไป จะให้เกรด A
- ถ้าทำคะแนน ได้ตั้งแต่ 70 ขึ้นไป จะให้เกรด B
- ถ้าทำคะแนน ได้ตั้งแต่ 60 ขึ้นไป จะให้เกรด C
- ถ้าทำคะแนน ได้ตั้งแต่ 50 ขึ้นไป จะให้เกรด D
- ถ้าทำคะแนน น้อยกว่า 50 จะให้เกรด F (สอบตก)
1. ให้ป้อนข้อมูลตามตัวอย่าง ในเซลล์ F5 - F14 รวมคะแนน และ G5-G14 ไม่ต้องพิมพ์ เพราะเป็นส่วนที่ต้องพิมพ์สูตรลงไป เพื่อ หาคำตอบ

2. การคำนวณในเซลล์ F5 เป็นการรวมคะแนนสอบทั้ง 4 ช่วง สอบครั้งที่ 1, 2 และ 3 และคะแนนจิตพิสัย ก็คือ =B5+C5+D5+E5 แล้วก็ก็อปปี้ลงด้านล่างให้ เรียบร้อย

 

 

 

3. ในเซลล์ G5 คำนวณโดยใช้สูตร If
การคำนวณจะมีอยู่ 5 เงื่อนไข
- ถ้าทำคะแนน ได้ตั้งแต่ 80 ขึ้นไป (F5>=80) จะให้เกรด A (“A”)
- ถ้าทำคะแนน ได้ตั้งแต่ 70 ขึ้นไป (F5>=70) จะให้เกรด B (“B”)
- ถ้าทำคะแนน ได้ตั้งแต่ 60 ขึ้นไป (F5>=60) จะให้เกรด C (“C”)
- ถ้าทำคะแนน ได้ตั้งแต่ 50 ขึ้นไป (F5>=50) จะให้เกรด D (“D”)
- ถ้าทำคะแนน น้อยกว่า 50 (F5<\<>50) จะให้เกรด F (“F”) (สอบตก)
จากประโยคข้อความ เราจะมาตีความให้เป็นประโยคทางคณิตศาสตร์ ก็จะได้ดังนี้
if(F5>=80;”A”
if(F5>=70;”B”
if(F5>=60;”C”
if(F5>=50;”D”
if(F5<\<>50;”F”
จากนั้นก็นำสูตรทั้งหมดมารวมเข้าด้วยกัน ในแต่ละเงื่อนไขให้คั่นด้วยคอมม่า วงเล็บปิด ด้านท้ายต้องสัมพันธ์กับวงเล็บเปิดด้านหน้า เช่น เปิด 5 ก็ต้องปิด 5 แล้ว กด Enter เสร็จแล้วก็ ก็อปปี้ไปจนถึงเซลล์ F14
=if(F5>=80;”A”;if(F5>=70;”B”;if(F5>=60;”C”;if(F5>=50;”D”;if(F5<\<>50;”F”)))))

 

 

ในการใช้สูตร IF หากเงื่อนไขใดเป็นข้อความ เช่น if(F5=80;”A” คะแนน 80 ขึ้นไปให้เกรด A ตัว A ต้องคร่อมด้วยเครื่องหมายคำพูด

<@Subhead 2 not in content:>ตัวอย่างเพิ่มเติม
if(F5>=70;”ผ่าน” ได้คะแนน 70 ขึ้นไป ให้ผ่านวิชานั้นๆ
ส่วนข้อมูลที่เป็นตัวเลขไม่ต้องคร่อมด้วยเครื่องหมายคำพูด เช่น
if(C3=”ตจว”;3000 อยู่ต่างจังหวัดได้เบี้ยเลี้ยง 3000 บาท จำนวน 3000 ไม่ต้องคร่อมด้วย เครื่องหมายคำพูด


จริงๆ แล้วโปรแกรมนี้มีสูตรให้ใช้อยู่มากเหมือนกัน แต่ในการทำงานจริงก็ไม่ค่อยจะได้ใช้กัน สักเท่าไรนัก ก็คงจะมีเพียงไม่กี่สูตร เท่านั้นที่จะได้ใช้กันบ่อยๆ ดังนี้
=SUM(ขอบเขตของข้อมูลจาก:ถึง)
คำนวณหายอดรวมของข้อมูลจากขอบเขตที่กำหนด
=AVERAGE(ขอบเขตของข้อมูลจาก:ถึง)
คำนวณหาค่าเฉลี่ยของข้อมูลจากขอบเขตที่กำหนด
=MIN(ขอบเขตของข้อมูลจาก:ถึง)
คำนวณหาค่าต่ำสุดหรือน้อยสุดของข้อมูลจากขอบเขตที่กำหนด
=MAX(ขอบเขตของข้อมูลจาก:ถึง)
คำนวณหาค่าสูงสุดหรือมากสุดของข้อมูลจากขอบเขตที่กำหนด
=COUNT(ขอบเขตของข้อมูลจาก:ถึง)
นับจำนวนข้อมูลจากขอบเขตที่กำหนด ว่ามีทั้งหมดเท่าไร โดยจะนับข้อมูลที่เป็นตัวเลข
=COUNTA(ขอบเขตของข้อมูลจาก:ถึง)
นับจำนวนข้อมูลจากขอบเขตที่กำหนด ว่ามีเท่าไร โดยนับข้อมูลที่เป็นข้อความ เช่น นับจำนวนพนักงานจากรายชื่อที่มีอยู่
=COUNTIF(ข้อมูลในเซลล์...ถึงเซลล์;”เงื่อนไขที่ต้องการนับ”)
คำนวณหาจำนวนข้อมูล ในเซลล์ที่กำหนด ว่าในเงื่อนไขที่ต้องการนับนั้นมีเท่าไร เช่น นับจำนวนคนที่ได้เฉพาะเกรด A มีเท่าไร หรือนับคะแนนที่ได้มากกว่า 70 ว่ามีกี่คน
ตัวอย่างการพิมพ์สูตร =COUNTIF(G5:G14;”A”) หรือ =COUNTIF(F5:F14;”>70”)
=SUMIF(ข้อมูลในเซลล์...ถึงเซลล์;”เงื่อนไข”)
คำนวณหาผลรวมของข้อมูล ตามเงื่อนไขที่กำหนด เช่น
เงื่อนไข : คนที่ได้คะแนนตั้งแต่ 80 ขึ้นไป มีคะแนนรวมกันเท่าไร
=SUMIF(F5:F14;”>=80”) ความหมาย ให้รวมตัวเลขในเซลล์ F5 ถึง F14 โดยนำเฉพาะ ตัวเลขที่มีค่า 80 ขึ้นไป มารวม เพื่อหาค่า ว่าเท่ากับเท่าใด

จากตัวอย่างดังต่อไปนี้ จะเป็นการสรุปเกี่ยวกับยอดขายคอมพิวเตอร์ระหว่างปี 2543-2545
1. ให้ป้อนข้อมูลตามตัวอย่าง เซลล์ E7-E12 และ L7-L12 ไม่ต้องพิมพ์ข้อมูลใดๆ

 

2. เมื่อป้อนข้อมูลเสร็จแล้ว ในเซลล์ E7 การหาผลรวมยอดขายทั้งหมดให้พิมพ์สูตรดังนี้ =SUM(B3:M5) สำหรับขอบเขตของ ข้อมูลก็คือ B3:M5
3. ในเซลล์อื่นๆ ก็พิมพ์สูตรดังนี้
ในเซลล์ E8 พิมพ์ =SUM(B3:M3)
ในเซลล์ E9 พิมพ์ =SUM(B4:M4)
ในเซลล์ E10 พิมพ์ =SUM(B5:M5)
ในเซลล์ E11 พิมพ์ =MAX(B3:M5)
ในเซลล์ E12 พิมพ์ =MIN(B3:M5)
ในเซลล์ L7 พิมพ์ =AVERAGE(B3:M5)
ในเซลล์ L8 พิมพ์ =AVERAGE(B3:M3)
ในเซลล์ L9 พิมพ์ =AVERAGE(B4:M4)
ในเซลล์ L10 พิมพ์ =AVERAGE(B5:M5)
ในเซลล์ L11 พิมพ์ =COUNT(B3:M5)
ในเซลล์ L12 พิมพ์ =COUNTA(B6:I6)

Sponsored Ads