Article Index

บทความอธิบายวิธีการติดตั้งเครื่องเขียนซีดี ดีวีดีหรือ CD/DVD Writer ในคอมพิวเตอร์ของเรา เครื่องรุ่นใหม่ในปัจจุบัน จะติดตั้งมาให้เรียบร้อยแล้ว จึงไม่จำเป็น นอกเสียจาก จะมีความจำเป็นต้องเขียนแผ่นซีดีจำนวนมากๆ

ก่อนที่จะเริ่มลงมือบันทึกแผ่นซีดี ควรสำรวจก่อนว่าอุปกรณ์และโปรแกรมต่างๆ ที่จำเป็นต้อง ใช้นั้น ได้ติดตั้งและเตรียมพร้อมเรียบร้อยแล้วหรือยัง

อุปกรณ์ที่ต้องใช้สำหรับการเขียนซีดี
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สนับสนุนการบันทึกแผ่นซีดี ผู้เขียนคิดว่า คอมพิวเตอร์ที่คุณมีอยู่ นั้นรองรับการใช้งานอย่างแน่นอน ความเร็วเครื่องไม่น่าจะต่ำกว่า 1 GHz อยู่แล้ว
2. เครื่องเขียนแผ่นซีดี จะเป็น CD-RW Drive หรือ DVD-RW Drive ก็ได้ทั้งนั้น แล้วแต่ งบประมาณ แต่แนะนำให้ใช้แบบติดตั้งภายใน ราคาไม่แพง ประสิทธิภาพดีกว่าด้วย
3. แผ่นดิสก์ สำหรับบันทึกข้อมูล อาจเป็นแผ่น CD-R, CD-RW, DVD-R หรือ DVD-RW ก็แล้วแต่เครื่องเขียนที่ใช้อยู่นั้นจะสามารถเขียนข้อมูลลงบนแผ่นซีดีหรือดีวีดีแบบใดได้บ้าง และความจุ ของแผ่น
4. โปรแกรมควบคุมการทำงานของเครื่องเขียนซีดี ปกติก็จะมีอยู่แล้ว แถมมาพร้อมกับเครื่อง เขียนซีดีหรือดีวีดี แต่จะไม่ใช่เวอร์ชันเต็มหรือสมบูรณ์ ไม่ได้ให้มาทุกโปรแกรมย่อยของ Nero


การติดตั้งเครื่องเขียนซีดีหรือ CD-Writer ลงในเครื่อง

การติดตั้ง CD-Writer นั้นสามารถติดตั้งได้ทั้งแบบ Internal และ External โดยปกติจะ นิยมแบบ Internal มากกว่า เพราะติดตั้งง่าย ราคาไม่แพง โดย CD-Writer นั้นได้แบ่งเป็นแบบ EIDE และ SCSI สำหรับแบบ SCSI นั้น จะมีประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่า แต่เวลาติดตั้งจะ ต้องติดตั้งการ์ด SCSI ลงไปด้วย ลงทุนสูงกว่า โดยส่วนใหญ่จึงนิยมติดตั้งแบบ EIDE ซึ่งการติดตั้งง่าย มาก คล้ายกับการติดตั้งฮาร์ดดิสก์


ติดตั้งเครื่องเขียนซีดีหรือดีวีดีเพียงตัวเดียว

1. ให้นำเครื่องเขียนซีดีหรือดีวีดีไปติดเข้ากับเคส ใส่จากด้านหน้า แล้วขันน็อตยึด ให้แน่น
2. นำสายแพร์มาต่อที่ด้านหลังตัวเครื่องเขียนซีดีหรือดีวีดี โดยให้สายแพร์ด้านที่มีริ้วแดง หรือเส้นที่ 1 หันเข้าหาข้อต่อสายไฟ หรือขาที่ 1 แล้วนำปลายสายแพร์อีกด้านหนึ่งไปเสียบที่เมนบอร์ด ที่ช่อง Secondary IDE หรือ IDE1 ให้ตำแหน่งเส้นที่ 1 ตรงกับขาที่หนึ่งของพินบนเมนบอร์ด
3. นำสายไฟจากพาวเวอร์ซัพพลายมาต่อที่ด้านหลังเครื่องเขียนซีดีหรือดีวีดี ให้ด้านตรงกัน
4. เซ็ตตำแหน่งจัมเปอร์ให้เป็น Slave ที่ตัวเครื่องเขียนซีดีหรือดีวีดีจะมีรายละเอียดอยู่แล้ว ว่าต้อง เซ็ตอย่างไรบ้าง และโดยปกติก็มักจะถูกเซ็ตมาเป็น Slave อยู่แล้ว
5. นำสายออดิโอมาต่อที่ด้านหลังโดยให้สายสีแดงตรงกับตำแหน่ง R ที่ด้านท้ายของเครื่อง เขียนซีดีหรือดีวีดีส่วนปลายอีกด้านนำไปต่อกับการ์ดเสียง ซึ่งจะต่อไม่ยาก เพราะจะมีตำแหน่งค่อนข้าง เฉพาะหากผิดด้านจะต่อไม่เข้า

โดยปกติแล้วในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการติดตั้งฮาร์ดดิสก์และซีดีรอมไดรว์อย่างละตัว มัก จะต่อสายแพร์เชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์และซีดีรอมไดรว์แยกกัน ฮาร์ดดิสก์จะต่อกับสายแพร์ Primary IDE หรือ IDE0 ส่วนซีดีรอมไดรว์จะต่อกับสาย Secondary IDE หรือ IDE1 โดยเซ็ตฮาร์ดดิสก์ให้เป็น Master ส่วนซีดีรอมไดรว์เป็น Slave

หากในเครื่องมีซีดีรอมไดรว์เพียงตัวเดียวจะต่อกับสายแพร์แบบใดก็ตาม ต้องเซ็ตซีดีรอม ไดรว์ให้เป็นแบบ Slave เสมอ จะเซ็ตเป็น Master ก็ต่อเมื่อต่อซีดีรอมไดรว์สองตัวในสายแพร์เดียว กัน นอกจากนี้ในการเชื่อมต่อ CD-RW ไดรว์ เชื่อมต่อกับสายแพร์ที่ต่อฮาร์ดดิสก์หลักกับเมนบอร์ด โดยต่อไว้ที่ข้อต่อตรงกลาง ต่อไว้ใกล้กับกับฮาร์ดดิสก์ โดยหลักการแล้วการรับส่งข้อมูลน่าจะทำได้ ดีกว่าอยู่ในตำแหน่งใกล้กัน คงต้องลองทดสอบการทำงานหรือใช้โปรแกรมตรวจเช็คประสิทธิภาพ ของเครื่อง ตรวจดูว่าอัตราการรับส่งข้อมูลเป็นอย่างไรบ้าง

1. ตำแหน่งสำหรับต่อสายแพร์บนเมนบอร์ด
2. ลักษณะการต่อฮาร์ดดิสก์และเครื่องเขียนซีดี/ดีวีดี ฮาร์ดดิสก์อยู่ปลายสาย
3. สายแพร์สำหรับเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์ เครื่องเขียนและตำแหน่งพอร์ต IDE บนเมนบอร์ด


ติดตั้งเครื่องเขียนซีดีหรือดีวีดีสองตัวในเครื่องเดียว

การติดตั้งเครื่องเขียนซีดีหรือดีวีดีสองตัวในเครื่องเดียว ในที่นี้จะเป็นการติดตั้งซีดีรอมไดรว์ แบบอ่านได้อย่างเดียว (CD-ROM Drive) และเครื่องเขียนที่สามารถอ่านและบันทึกได้ CD-Writer หรือ DVD-Writer นั่นเอง (การติดตั้งเครื่องเขียนซีดีหรือเครื่องเขียนดีวีดี ปฏิบัติคล้ายกันทุกอย่าง)
1. สอดซีดีรอมไดรว์เข้ากับเคสทางช่องด้านหน้า แล้วขันน็อตยึดให้แน่น
2. ต่อเครื่องเขียนซีดีเข้ากับสาย Secondary IDE หรือ IDE1 โดยเสียบที่ข้อต่อที่ปลายสาย และเซ็ตเป็น Master และนำซีดีรอมไดรว์อีกตัว (เช็ตเป็น Slave) ที่อ่านได้อย่างเดียวมาต่อที่ข้อต่อ ที่อยู่ตรงกลาง ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งนำไปต่อกับเมนบอร์ดที่ช่อง Secondary IDE หรือ IDE1
3. ต่อสายไฟเข้ากับซีดีรอมไดรว์ทั้งสองตัว อาจต่อสายออดิโอโดยต่อกับซีดีรอม ที่สามารถ อ่านได้อย่างเดียว ส่วนซีดีรอมไดรว์แบบบันทึกได้ ไว้ใช้ในเวลาที่ต้องบันทึกข้อมูล เพราะมีราคาแพง เก็บไว้ใช้ในยามจำเป็นจะดีกว่า ช่วยยืดอายุการทำงาน

การเชื่อมต่อในลักษณะนี้ ถ้ามีเครื่องเขียนซีดีหรือดีวีดี 2 ตัว ก็ต่อโดยใช้วิธีการเดียวกัน แต่ เครื่องเขียนตัวที่เป็นรุ่นล่าสุดให้เซ็ตเป็น Master ส่วนตัวเก่ารุ่นเก่ากว่า เซ็ตเป็น Slave แต่ถ้าซื้อมา ทีเดียว 2 ตัวเลย เป็นรุ่นเดียวกัน จะให้ตัวไหนเป็น Master หรือ Slave ก็ไม่เป็นไร สำหรับปัญหาที่ พบ จากที่ได้ทดลองทำมาก็คือ การเขียนข้อมูลลงแผ่นจะช้ากว่า ถ้าเอารุ่นเก่ากว่ามาเป็น Master

ปลายด้านนี้ต่อกับเมนเบอร์ด ต่อกับพอร์ต IDE ตัวแรก สีน้ำเงินเหมือนกัน จุดต่อที่อยู่ติดกัน ไว้ต่อเครื่องเขียนหรือ ฮาร์ดดิสก์ ตัวปลายสายนนี้ต้องเซ็ตเป็น Master จุดต่ออีกตัวไว้ต่อเครื่องเขียนโดยเซ็ตเป็น Slave


ติดตั้งเครื่องเขียนซีดีหรือดีวีดี 3 ตัวในคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง

เป็นลักษณะการติดตั้งที่ผู้เขียนใช้อยู่ เขียนทีเดียว 3 แผ่นเลย
1. ต่อเครื่องเขียนซีดีกับสายแพร์ที่ต่อกับฮาร์ดดิสก์ตรงข้อต่อตรงกลาง เซ็ตเป็น Slave
2. เครื่องเขียนซีดีอีกสองตัวก็ต่อกับสายแพร์อีกเส้นหนึ่ง เซ็ตตัวปลายสายเป็น Master ส่วน ตัวที่ต่อตรงกลางเซ็ตเป็น Slave
3. นำปลายสายแพร์อีกด้านไปต่อที่เมนบอร์ด กับพอร์ต IDE ตัวที่ 2 สีดำ


ติดตั้งเครื่องเขียนซีดีหรือดีวีดี 4 ตัวในคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง

วิธีนี้ผู้เขียนยังไม่ลอง แต่ตามหลักการก็น่าจะทำได้อยู่แล้ว แต่ต้องเป็นเครื่องที่ใช้ฮาร์ดดิสก์ แบบ SATA ซึ่งเมื่อใช้งานกับฮาร์ดดิสก์แบบนี้ สาย IDE ก็จะว่าง ไม่ต้องต่อฮาร์ดดิสก์ ก็จะมีจุดไว้ เชื่อมต่อ 4 จุด ก็ติดตั้งเครื่องเขียนซีดีหรือดีวีดีลงไป
1. สายแพร์เส้นที่ 1 ต่อเครื่องเขียนซีดีหรือดีวีดี 2 ตัว
2. สายแพร์เส้นที่ 2 ต่อเครื่องเขียนซีดีหรือดีวีดี 2 ตัว เช่นกัน
3. ฮาร์ดดิสก์ก็จะเชื่อมต่อกับพอร์ตแบบ SATA ไม่ยุ่งเกี่ยวกันอยู่แล้ว

การเชื่อมต่อในลักษณะนี้ ควรเลือกใช้เครื่องที่เสป็คแรงๆ ความเร็ว 3 GHz ขึ้นไป แรม 1 Gb ไม่อย่างนั้นช้าแน่นอน ถ้าต้องเขียนพร้อมกันทั้งสี่แผ่น แต่ก็น่าจะทำความเร็วได้ไม่ต่ำกว่า 8 นาที ต่อการเขียน 4 แผ่น
ติดตั้งเครื่องเขียนซีดีหรือดีวีดีมากกว่า 4 ตัว
ตามหลักการแล้วก็น่าจะทำได้เพียงแต่ต้องใช้ฮาร์ดดิสก์ที่มีการเชื่อมต่อแบบ SCSI โดยปกติ แล้วคนส่วนใหญ่ไม่น่าจะติดตั้งเครื่องเขียนมากขนาดนี้ แค่ 4 ตัวก็ถือว่ามากพอแล้ว แต่ใครที่มีความ จำเป็นต้องทำแบบนี้จริงๆ ก็เอาหลักการนี้ไปใช้ได้


เครื่องเขียนซีดีแบบ External หรือแบบติดตั้งภายนอก

เครื่องสำหรับเขียนแผ่นมีหลายแบบ เนื่องจากใช้การเชื่อมต่อภายนอก เพราะฉะนั้นก็เพียง แต่นำสายไปต่อด้านหลังเครื่องที่พอร์ต USB หรือพอร์ตขนานที่ปกติไว้ต่อเครื่องพิมพ์แบบเก่า
1. เครื่องเขียนซีดีแบบเชื่อมต่อกับพอร์ตเครื่องพิมพ์หรือ USB สะดวกในการใช้งาน เพราะ สามารถนำไปต่อกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ได้สะดวก แต่ราคายังแพงกว่าแบบติดตั้งภายในเกือบ เท่าตัว และความเร็วในการเขียนข้อมูลก็ค่อนข้างช้า
2. เครื่องเขียนซีดีแบบ SCSI แบบนี้จะไม่ค่อยสะดวกนัก เพราะจะต้องติดตั้งการ์ด SCSI ด้วย โดยเสียบการ์ดเข้ากับ Slot PCI แล้วก็จะนำสายพ่วงระหว่างเครื่องไปต่อด้านหลัง CD-Writer อีกที


ติดตั้งเครื่องเขียนซีดีหรือดีวีดีกับโน้ตบุ๊ค

โน้ตบุ๊ครุ่นเก่าบางรุ่นที่มีเพียงซีดีรอมไดรว์อย่างเดียวหรือเป็นแบบคอมโบไดรว์ที่อ่านแผ่นดีวีดี ได้ แต่เขียนแผ่นดีวีดีไม่ได้ การอัพเกรดไปใช้เครื่องเขียนที่สามารถเขียนได้ทั้งแผ่นซีดีและดีวีดี จะมี ราคาค่อนข้างแพง อาจซื้อเครื่องเขียนแบบติดตั้งภายในและบ็อกซ์สำหรับต่อฮาร์ดดิสก์หรือซีดี/ดีวีดี ใช้วิธีนี้ต้นทุนต่ำกว่า ซื้อเครื่องเขียนสำหรับโน้ตบุ๊คโดยเฉพาะ แต่ไม่สะดวกในการพกพา


ทดสอบการทำงานหลังการติดตั้ง

เมื่อติดตั้งซีดีรอมไดรว์ลงในเครื่องเรียบร้อยแล้ว มาทดสอบดูว่าจะใช้การได้หรือเปล่า ให้เปิด เครื่อง แล้วลองกดปุ่ม Eject ทางด้านหน้า สำหรับปิด/เปิดถาดสำหรับใส่แผ่นซีดี เพื่อให้ถาดเลื่อนเข้า-ออก เป็นการตรวจดูว่าไฟเข้าหรือไม่ แล้วใส่แผ่นซีดีเข้าไป เข้าโปรแกรม Windows Explorer คลิกที่ซีดี รอมไดรว์ เพื่ออ่านข้อมูลในแผ่น ว่าสามารถอ่านได้เป็นปกติหรือไม่