เรื่องนี้อาจจะใกล้ตัวสำหรับคนสูงวัยแล้ว แต่อาจจะไกลตัวสำหรับคนอายุยังน้อย บางเว็บไซต์ กูรูบางคนก็แนะนำว่าต้องมีหลักล้าน มีข้อเสนอแนะต่างกันไป เรื่องของอนาคตยังมาไม่ถึง ยากจะคาดเดา เพราะการเจ็บป่วยครั้งเดียว หรือใจแตกเสียคนตอนแก่ เงินเก็บ อาจจะไม่เหลือเลยก็ได้ การวางแผนการเงินหลังเกษียณจึงต้องพิจารณาให้รอบด้าน โดยเฉพาะในด้านที่ยังไม่เคยสัมผัส ไม่เคยมี ประสบการณ์มาก่อน

 

การคำนวณเงินที่จะต้องใช้ในแต่ละเดือนหลังเกษียณมีตัวแปรหลายอย่างที่ยังมาไม่ถึงและยากจะคาดเดา ซึ่งจะต้องหาทางทดลองทำ ในระหว่างที่ยังมีงานประจำอยู่เช่น
รายจ่ายเรื่องที่อยู่อาศัย
รายจ่ายเรื่องอาหารการกิน
รายจ่ายเรื่องการรักษาพยาบาล
รายจ่ายทางสังคม
รายจ่ายกับของใช้ส่วนตัว
รายจ่ายกับยานพาหนะต่างๆ
รายจ่ายกับภาระลูกหลาน
การมีสัตว์เลี้ยง
ฯลฯ

รายจ่ายต่างๆ เหล่านี้ ยังมีตัวแปรที่ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะมากน้อยเท่าไร และน้อยคนจะมีโอกาสได้ทดลอง ทดสอบกับตัวเอง

รายจ่ายเรื่องที่อยู่อาศัย

ก่อนเกษียณรายจ่ายเรื่องนี้จะต้องไม่มี เพราะรายจ่ายในเรื่องนี้จะค่อนข้างมาก แม้แต่การเช่าบ้าน เช่าหอพักก็ตาม รายจ่ายค่าเช่า ก็มากพอสำหรับค่าอาหารได้ทั้งเดือน เรื่องที่อยู่อาศัยนั้นสำคัญ ต้องมีให้ได้ก่อนเกษียณ โดยไม่เป็นหนี้จะดีที่สุด

 

รายจ่ายเรื่องอาหารการกิน

การมีบ้านมีที่ดินที่สามารถปลูกพืชผักกินเองได้ จะปลูกในกระถาง ข้างกำแพงหรือแนวตั้งก็ตาม จะช่วยประหยัดเงินได้อย่างมาก การกินอยู่แบบเรียบง่ายมีโอกาสเจ็บป่วยน้อยกว่าการกินอาหารแบบคนเมือง และยังประหยัดมาก เฉพาะรายจ่ายค่าอาหารต่อเดือน 2,000-3,000 บาทนี่ก็เหลือเฟือ เรื่องแบบนี้ต้องหาโอกาสทดลองทำ ให้มีความรู้มีประสบการณ์ก่อนเกษียณ

 

การทดลองทำนั้นอาจจะออกท่องเที่ยวแนวโฮมเสตย์ ไปใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย ก็จะรู้ว่าการใช้ชีวิตแบบนั้น มีรายจ่ายน้อยมาก สุขภาพก็ดีกว่าเช่นกัน เรื่องอาหารการกินนั้น หากกินเฉพาะอาหารที่มีประโยชน์และร่างกายต้องการจริงๆ แล้ว รายจ่ายจะน้อยมาก เช่น กาแฟ ร่างกายไม่ได้ต้องการ ก็จะประหยัดประมาณเดือนละ พันกว่าบาทแล้ว หากกินกาแฟสดวันละแก้ว ยิ่งของมึนเมาด้วยแล้ว ยิ่งเสีย เงินมาก

 

รายจ่ายเรื่องการรักษาพยาบาล

เรื่องอาหารการกินและการออกกำลังกายมีผลกับความเจ็บป่วยที่จะตามมาในอนาคต การกินอยู่ที่เรียบง่ายจะลดโอกาสเจ็บป่วย การออกกำลังกายก็เช่นกัน ทั้งสองอย่างนี้ไม่มีรายจ่ายมากนัก โดยเฉพาะการออกกำลังกายเน้นใช้แรงกายอย่างเดียวไม่ต้องจ่ายเงินให้ ใคร แต่เมื่อเจ็บป่วยจะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลอาจมีรายจ่ายหลักแสนหรือหลักล้าน ซึ่งคนในปัจจุบันมีโอกาสสูงที่จะเสียเงินมาก เพราะพฤติกรรมการกิน

 

รายจ่ายทางสังคม

รายจ่ายทางสังคมสำหรับบางคนจะค่อนข้างมาก โดยเฉพาะคนที่เคยมีหน้ามีตาในสังคม บางคนแม้จะเกษียณแล้ว แต่ยังมีค่าซอง งานแต่ง งานบวช งานศพ สารพัด หลักหมื่นบาทต่อเดือนเลยทีเดียว ก่อนจะเกษียณก็ต้องวางแผนในเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน เพราะอายุมาก แล้ว จะเอาเงินไปใส่ซองเดือนหลักพันหลักหมื่นแต่ไม่มีรายได้ ก็ตายกันพอดี

 

รายจ่ายกับของใช้ส่วนตัว

รายจ่ายในเรื่องของใช้ส่วนตัว อาจจะมากหรือน้อยก็อยู่ที่การวางแผน เช่น การใช้สินค้าคุณภาพดี ก็ไม่ต้องเปลี่ยนบ่อย รายจ่ายก็ น้อยลง ในอนาคตอาจยากจะคาดเดา แต่รายจ่ายในเรื่องนี้สามารถลดได้ เพราะของใช้ส่วนตัวที่จำเป็นจริงๆ นั้น ไม่มีอะไรมาก และ สามารถควบคุมได้ไม่ยาก เพียงแค่ควบคุมความอยากเท่านั้นเอง บางคนเปลี่ยนมือถือบ่อยมาก ทั้งๆ ที่ยังใช้งานได้ดี

 

รายจ่ายกับยานพาหนะต่างๆ

รายจ่ายในเรื่องนี้เป็นอีกเรื่องที่สำคัญที่จะต้องวางแผนให้ดี ก่อนเกษียณไม่ควรผ่อนรถใดๆ ก็ตาม ไม่ควรสร้างหนี้ การเลือกรถเล็กๆ ประหยัดน้ำมัน ประหยัดค่าใช้จ่ายสักคัน แล้วดูแลให้ดี ก็สามารถใช้งานได้ยาวนานเกิน 15 ปี โดยไม่ต้องเปลี่ยนรถบ่อยๆ เพราะหลัง เกษียณแล้ว ก็ไม่ได้เดินทางไปไหนมาไหนบ่อยนัก แต่ไม่แน่

 

รายจ่ายกับการท่องเที่ยว ความบันเทิง

นี่คือเรื่องที่ผู้สูงวัยหลายคนอาจจะไม่คาดคิดว่าจะเกิดกับตัวเอง อะไรก็ตามที่ยังไม่เคยทำ อย่าคิดว่าจะไม่ทำ และคิดว่าจะสามารถ ควบคุมตัวเองได้ บางคนพอเกษียณแล้ว ก็กลายเป็นเพลย์บอยตัวพ่อ เที่ยวเธค ผับ ร้านอาหาร คาราโอเกะ ก่อนหน้านั้น ก็พยายาม สร้างเนื้อสร้างตัว พอเกษียณแล้ว ก็อยากจะปล่อยวาง อยากทำอะไรก็ทำ ผู้เขียนคบผู้สองวัยค่อนข้างเยอะ ช่วงอายุประมาณ 50 ขึ้นไป หลายคนจะสนุกสุดเหวี่ยงพอสมควร ทั้งผู้หญิงผู้ชาย แม้ก่อนหน้านั้นจะมีวินัยในชีวิตมากก็ตาม

 

รายจ่ายกับภาระลูกหลาน

การวางแผนในเรื่องการเงินนั้นนอกจากวางแผนตัวเองแล้ว หากมีลูกหลาน ก็ต้องสอนลูกหลานให้รู้จักการวางแผนเพื่อตัวเองเช่นกัน ไม่เช่นนั้น ลูกหลานก็จะพากันเบียดเบียนทรัพย์สมบัติพ่อแม่ การไม่ระวังในเรื่องการให้ความอุปการะบุตรหลานที่มากเกินไป จะทำให้ตัว เองเดือดร้อน อย่าไปคาดหวังว่าช่วยลูกหลานแล้ว จะได้รับการเลี้ยงดูตอบแทนบุญคุณ ทรัพย์สมบัติอะไรก็ตามแต่ อย่าให้ใครจนกว่าจะ สิ้นชีวิต นอกเสียจากจะมีลูกหลานที่ดี เรื่องแบบนี้ หลายคนไม่เชื่อ และไม่คิดว่าจะเป็นไปได้ แต่เมื่อเกิดกับตัวเอง ก็มักสายเกินแก้แล้ว สมบัติ ทรัพย์สิน เงินทอง ให้ลูกหลาน หมดแล้ว พอหมดประโยขน์ ก็หมดกันพอดี หากมีลูกหลาน ก็จะมีรายจ่ายในส่วนนี้ ต้องศึกษา กรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้น และอย่าคิดว่าจะไม่เกิดกับตัวเอง เพราะการไปยุ่งกับคนนั้น ความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด เท่าไหร่ก็ไม่พอ ส่วนใหญ่ จะเอาจนหมดตัว แม้สิ้นชีวิตแล้วก็ยังจะเอา เพราะหลายคนยังมีประกันชีวิตอีกมาก

 

การมีสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อนหลังเกษียณ

หลายคนเหงา ก็เลยหาสัตว์เลี้ยงไว้เป็นเพื่อน บางคนเลี้ยงไว้หลายตัว ซึ่งก็จะมีภาระในเรื่องค่าอาหาร ค่ารักษาพยาบาลเช่นกัน โดย เฉพาะเวลาเกิดอุบัติเหตุ อย่างโดนรถชน บางเคสอาจจะมีรายจ่ายสูงมาก หลักหมื่นบาท และสัตว์เลี้ยงบางตัวอย่างสุนัขนั้นอายุยืนเกิน สิบปี รายจ่ายก็จะมากตามไปด้วย การวางแผนการเงินหลังเกษียณจึงต้องมองไปทุกด้าน

 

ผู้เขียนคบค้าสมาคมกับผู้สูงวัยที่เกษียณนานแล้ว อายุมากสุดก็เกิน 90 ปี ซึ่งยังแข็งแรงอยู่ และหลายคนที่มีอายุประมาณ 80 ปี ก็ ยังทำงานอยู่ หลายคนที่อายุ 60 กว่า ก็ยังแข็งแรงมาก ปั่นจักรยานได้วันละเกิน 200 กิโลเมตร ดังนั้นคำว่าเกษียณจึงไม่ควรเก็บมาคิด เลิกคิดเรื่องนี้จะดีกว่า เพราะไม่รู้ว่าจะตายเมื่อไหร่ บางทีเงินที่เตรียมไว้ คาดว่าจะเผื่อใช้ได้สบายๆ อีก 20 ปีข้างหน้า ปรากฏว่า 90 แล้วก็ยังไม่ตาย ดังนั้นก็ต้องทำงานไปจนกว่าจะเสียขีวิตจะดีที่สุด แก่มากก็ทำน้อยหน่อย แต่อย่าหยุด ที่แนะนำอย่างนี้ก็เพราะว่า ร่าง กายของคนจะเสื่อมเร็วหากไม่มีการใช้งานหรือออกกำลังกาย ความคิดที่จะเกษียณอายุประมาณ 60 หรือเร็วกว่านั้น แล้วอยู่บ้าน นั่งๆ นอนๆ โดยไม่ทำอะไรเลย สุดท้ายก็จะได้นั่งๆ นอนๆ สมใจอยาก เวลากิน ก็มีอาหารเข้าทางท่อ เวลาถ่ายก็ถ่ายออกทางท่อเช่นกัน นี่ คือความจริงที่ขอท้าให้ลองทำได้เลย

 

ดังนั้นอย่าไปคิดเรื่องเกษียณ แล้วจะหยุดทำงาน แต่วางแผนทำงานต่อไปเรื่อยๆ อย่าหยุด บางคนเกษียณเมื่ออายุไม่ถึง 40 มีเงิน เก็บหลักสิบล้าน แต่ก็ต้องกลับไปทำงานต่อ เพราะโลกเปลี่ยนแปลงเร็วมาก เงินที่หามาได้ อาจจะไม่พอ เพราะมีลูก มีเมีย มีภาระ การ ทำงานในวัยเกษียณแล้วจะทำได้อย่างเต็มที่เพราะไม่มีภาระต้องรับผิดชอบแล้ว บ้าน รถ ลูกหลาน โตหมดแล้ว ก็จะสามารถทำอะไรได้ อย่างเต็มที่ อีกทั้งส่วนใหญ่หลายก็สั่งสมประสบการณ์ในการทำงานมาอย่างมากแล้วเช่นกัน การได้ทำในสิ่งที่ชอบนอกจากสร้างความสุข แล้ว อาจจะสร้างรายได้อีกด้วย

 

คนเราสักวันก็ต้องแก่ตัวลง แม้ตอนนี้จะยังไม่แก่ แต่อย่าเพิ่งรำคาญคนแก่ ลองหาโอกาสคุยกับคนสูงวัยหลายๆ ประเภท เพื่อศึกษา ชีวิต การใช้ชีวิต วิธีคิดของแต่ละคน โดยเฉพาะในเรื่องค่าใช้จ่าย ปัญหาการเงิน สุขภาพ ปัญหาต่างๆ ที่คนแก่ต้องเจอ ฯลฯ อย่าคิดว่า สิ่งที่คนอื่นเจอ ตัวเองจะไม่เจอบ้าง วงจรชีวิตคนเราไม่ได้ต่างกันมากนักหรอก เพื่อจะได้เตรียมตัวรับมือในอนาคต ลองหาโอกาสไป สัมผัส รู้ก่อนได้เปรียบจะได้วางแผนรับมือหลังเกษียณได้ดีกว่า การศึกษาจากบทความหรือเว็บไซต์ที่ผู้เขียนโดยไม่ได้กล่าวให้ครอบ คลุมทุกเรื่อง บางเรื่องอย่าง การใจแตกตอนแก่ กลายเป็นเกเรเฒ่า แม้จะมีเงินหลายล้าน แต่อาจจะหมดได้ในเวลาไม่กี่ปีหรือไม่ถึงปีก็มี เฒ่าวัย 72 กว่าหลายคน มีเด็กๆ 20 กว่าๆ มาจีบ จะไปเหลืออะไรละคราวนี้ เสียตังค์ เสียตัว แล้วก็เสียใจ เงินหมด เด็กชิ่ง

นอกจาการวางแผนการเงินหลังเกษียณแล้ว ก็ต้องดูจุดอ่อน จุดแข็งหรือรูรั่วที่เงินจะไหลออกจากกระเป๋าด้วย ว่าจะมีทางใดบ้าง จะ ได้หาทางป้องกัน เช่น มีลูกหลานเป็นภาระ มีความเหงาต้องหาที่บำบัด บ้านยังไม่มี ฯลฯ ต้องวิเคราะห์ให้ละเอียดรอบด้าน กัน พลาด