แม้หมด คนละครึ่ง แล้ว แต่เราก็ยังสามารถใช้แอปเป๋าตังในชีวิตประจำวันได้ อย่างการ โอนเงิน สแกนจ่ายเงิน เพื่อชำระค่าสินค้า หรือเอาไว้เติมเงินมือถือ สำหรับผู้ใช้ซิมเติมเงิน ซึ่งมีความปลอดภัย เพราะเราจะใช้การโอนเงินจากบัญชีธนาคารหลักมาไว้ที่นี่เป็นรายจ่ายในแต่ละเดือน ไม่ไปยุ่งกับบัญชีหลัก ที่สำคัญ เราสามารถใช้แอปนี้ได้ โดยไม่ต้องมีบัญชีธนาคาร ช่วยประหยัดค่าธรรมเนียมเล่มบัญชีและบัตร ATM

 

เชื่อว่าหลายคนเริ่มคุ้นเคยกับการใช้แอปเป๋าตังในช่วงเวลาเป็นปี ที่ผ่านมา ทั้งคนทั่วไป ชาวบ้าน ร้านค้า ก็มีโอกาสให้ใช้งาน และยังสามารถใช้แอปนี้ต่อไปได้ แม้จะหมดโครงการช่วยเหลือจากรัฐบาลแล้วก็ตาม แต่เรายังสามารถใช้งานแอปต่อไปในชีวิตประจำวันได้ เช่น

1. ใช้เป็นที่พักเงิน แบ่งเก็บเงินไว้ใช้จ่ายเป็นสัดส่วน

เราสามารถใช้แอปเป๋าตังได้โดยไม่ต้องมีบัญชีธนาคาร เหมาะสำหรับคนที่เน้นวางแผนการใช้จ่ายให้เป็นสัดส่วน แต่ละเดือนใช้เงินเท่าไร เก็บเท่าไร ก็แยกกัน นำเงินที่จะต้องใช้จ่ายในแต่ละเดือนมาเก็บไว้ในแอปเป๋าตัง เอาไว้สแกนจ่ายเงินก็ได้ ซึ่งจะสามารถสแกนจ่ายผ่าน QR โค้ด หรือ โอนเข้าบัญชีธนาคาร

 

กรณีต้องให้คนอื่นช่วยจัดการเรื่องการเงิน เพื่อใช้จ่าย ก็ถือว่ามีความสะดวก จะเอามือถือของเราไปใช้ก็ได้ เพราะเงินที่มีก็แค่ตามที่เราได้โอนเข้าไปเท่านั้น ไม่สามารถเข้าถึงเงินทั้งหมดของเราในบัญชีธนาคาร

 

แต่กรณีการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารจำเป็นจะต้องจำหมายเลขบัญชีผู้รับให้ได้ ไม่สามารถสร้างข้อมูลเก็บเอาไว้ได้

 

2. เอาไว้เติมเงินในมือถือ

การใช้ซิมแบบเติมเงิน ก็สามารถใช้แอปเป๋าตังเติมเงินมือถือได้เช่นกัน เพียงแต่จะต้องเติมเงินขั้นต่ำ 20 บาท ซึ่งในกรณีที่เราไม่มีค่อยมีเวลาตรวจสอบ SMS ดูดเงิน เงินที่เติมเข้าไป ก็มักจะไม่เหลือ ทำให้เกิดปัญหาเวลาจะโทร ก็ไม่มีเงินเหลือ เราก็ใช้วิธีนี้ได้ ด้วยการเก็บเงินไว้ในแอปเป๋าตัง เวลามีเหตุฉุกเฉินต้องโทรออก ก็ใช้การเติมเงินจากแอปเป๋าตัง เข้า ซิมมือถือของเรา ก็จะสามารถโทรออกได้

 

บางคนชอบเติมเงินมือถือเอาไว้ แต่ไม่มีความรู้เรื่อง SMS ดูดเงิน เงินที่เติมเข้าไปในแต่ละเดือนก็ไม่เหลือ สร้างความเดือดร้อน เมื่อต้องการโทรออก

 

นอกจากนี้หากมีคนรอบตัวที่ไม่ค่อยมีความรู้มากนัก เป็นผู้สูงวัยใกล้ตัว เราก็สามารถช่วยดูแลเรื่องการเติมเงินมือถือ ด้วยวิธีนี้ได้ เพราะคนแก่ คนเฒ่า ไม่น้อย ก็ไม่มีความรู้ เติมเงินไม่เป็น โทรออกเป็นอย่างเดียว ก็ใช้วิธีนี้ได้ ไม่เสียเวลาไปเติมเงินที่ตู้ ซึ่งจะมีค่าธรรมเนียม หรือ ร้านค้าที่รับเติมเงิน ก็จะเติมขั้นต่ำ 50 บาท ยังไม่รวมค่าบริการ รวมถึงการเติมผ่านบัญชีธนาคารด้วยเช่นกัน ต้องเติมขั้นต่ำ 50 บาท

 

ส่วนข้อเสียในการเติมเงินก็คือ ต้องเติมขั้นต่ำ 20 บาท ซึ่งกรณีที่ต้องเติมเงินเพื่อรักษาวัน รักษาเบอร์เอาไว้ เติมแค่เดือนละ 10 บาท ก็อยู่ได้ 30 วัน เติม 20 บาท มากเกินไป

 

ตัวอย่างการเติมเงินมือถือ

1. เข้าแอป เป๋าตัง แตะ G-Wallet
2. เลื่อนหน้าจอขึ้น แล้วแตะ เติมเงินมือถือ
3. แตะเลือก ซิม ที่ต้องการ AIS / dtac หรือ TrueMoveH


4. ทำตามคำแนะนำ เช่น ใส่เบอร์โทร จำนวนเงิน กรณีแค่เติมเงินเพื่อรักษาวัน รักษาเบอร์เอาไว้ ก็เติมแค่ 20 บาท ก็พอ เติมไว้เยอะ แต่ไม่มีความรู้เรื่อง SMS หรือ ข้อความดูดเงิน เงินที่เติมไว้ก็จะไม่เหลือ

 

2. สแกนจ่ายเงิน โอนเงิน ให้บุคคลอื่น หรือ ร้านค้า ชำระค่าสินค้า

การซื้อสินค้า สแกนจ่ายเงิน หรือ โอนเงินให้บุคคลอื่นก็สามารถทำได้ผ่านแอปนี้ สะดวกและปลอดภัย เพราะเราจะไม่ต้องไปยุ่งกับเงินในบัญชีหลักธนาคารหลักของเรา จะใช้เท่าไรในแต่ละเดือน ก็โอนมาไว้ในแอปนี้ เท่าที่จำเป็น สำหรับวิธีสแกนจ่ายเงิน ก็สามารถสแกนผ่าน QR โค้ดของร้านค้า หรือ โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารโดยตรงก็ได้

ตัวอย่างการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารผู้อื่น

ในช่วงของการใช้โครงการคนละครึ่ง ร้านค้าหลายร้านจำต้องหยุดไม่รับคนละครึ่ง เพราะเจอภาษีหนัก เราก็สามารถโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารก็ได้ ตัวอย่างการโอนเงิน
1. เข้าแอป เป๋าตัง แล้วแตะ หน้าหลัก G-Wallet
2. เลื่อนหน้าจอขึ้น แล้วแตะ โอนเงิน
3. กรณีผู้รับเงินมี เลขพร้อมเพย์ ก็กรอกลงไป
4. หรือแตะเลือกธนาคารที่ต้องการ เช่น กรุงเทพ


5. ป้อนหมายเลขบัญชีธนาคาร แล้วแตะ เสร็จสิ้น
6. แตะ ถัดไป
7. ตรวจสอบชื่อ นามสกุล ของผู้รับ และหมายเลขบัญชีถูกต้องหรือไม่
8. หากข้อมูลถูกต้องแล้ว ก็แตะและพิมพ์จำนวนเงิน จากนั้น แตะ ยืนยัน เพื่อทำการโอนเงิน ง่ายๆ แค่นี้เอง แต่ข้อเสียก็คือ ไม่สามารถบันทึกชื่อเอาไว้ได้ ทำให้การโอนเงินทุกครั้ง มีความยุ่งยาก ทางผู้พัฒนาน่าจะเพิ่มคุณสมบัติให้บันทึกข้อมูลชื่อบัญชีผู้รับเก็บ

 

3. รับเงินที่โอนเข้ามาจากบัญชีผู้อื่น

การรับเงินจากผู้อื่นก็จะใช้วิธีเติมเงินเข้า G-Wallet ของเรานั่นเอง เพียงแต่จะต้องจำ ต้องจดหมายเลข G-Wallet ของเราเอาไว้
1. การดูข้อมูลหมายเลข G-Wallet ของเราให้แตะ เติมเงิน
2. แตะเลือกธนาคาร ไหนก็ได้ เช่น กรุงเทพ
3. แตะเลือก วิธีเติมเงิน เช่น แอปฯ Bualuang mBanking
- QR พร้อมเพย์ กรณีใช้งานจริง แนะนำให้ทำ QR พร้อมเพย์ หรือติดตั้งแอปเอาไว้รับเงินจะสะดวกกว่า


4. แตะเลือก คัดลอก เอาไว้
5. จากนั้น ก็นำไปวางในแอปโน้ต หรือ ส่งทางไลน์ แล้วค่อยจดใส่กระดาษเอาไว้


6. ส่วนการให้คนอื่นเติมเงินให้เรา หรือ โอนเงินเข้ามาให้เรา อาจจะให้โอนผ่าน ATM หรือ พร้อมเพย์ ตัวอย่างการโอนเงินแอปของธนาคาร วิธีนี้สะดวกมาก แตะเปิดแอป ธนาคารกรุงเทพ
7. เติมเงิน
8. เติมเงินพร้อมเพย์ / G-Wallet
9. ใส่หมายเลข e-wallet ของเรา
10. ใส่จำนวนเงินที่ต้องการโอน

 

จ่ายค่าน้ำ /ค่าไฟ / อื่นๆ

แอปนี้ยังสามารถใช้ชำระค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในบ้านได้ เช่น ค่าไฟฟ้า ประปา เพราะบางทีเราไม่สะดวกเดินทางไปเอง หรือ บางคนมีพ่อแม่แก่เฒ่าอยู่ต่างจังหวัด ไม่สะดวกในการเดินทางไปชำระเงินที่หน่วยงานนั้นๆ เราก็สามารถจัดการค่าใช้จ่ายตรงนี้แทนได้ แม้จะอยู่คนละที่
1. แตะ หน้าหลัก
2. แตะ จ่ายค่าน้ำ/ไฟ
3. แตะเลือกรายการที่ต้องการจ่าย

 

ชำระเงินกู้ยืม กยศ.

ใครที่ได้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา ก็สามารถชำระเงินคืนผ่านแอปนี้ได้เช่นกัน

 

การลงทุน

ใครที่มีเงินมาก ก็มีช่องทางลงทุนผ่านแอปนี้ได้ เช่น ซื้อ

 

สรุป

สำหรับแอปเป๋าตัง แม้ว่าจะหมดโครงการช่วยเหลือจากรัฐบาลแล้ว แต่ก็ยังมีประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ลองนำไปปรับใช้ โดยเฉพาะคนที่มีผู้สูงวัยใกล้ตัว หรือ ไม่มีความรู้ในเรื่องการเงินสมัยใหม่ การใช้มือถือช่วยชำระค่าบริการต่างๆ เราก็จะสามารถจัดการแทนได้ มีพ่อแม่ปู่ย่าตายายอยู่ไกล ก็ช่วยจัดการเรื่องค่าน้ำ ไฟ เติมเงินมือถือ หรือ ชำระค่าบริการอื่นๆ แทนได้ เป็นต้น