บทความนี้จะพาไปแนะนำให้รู้จักเตาแก๊สกระป๋องขนาดเล็ก พกพาง่าย พับได้ วิธีใช้งาน ใช้อย่างไร? ดีไหม? เหมาะกับใครบ้าง ปกติแล้วเตา แบบนี้จะไว้สำหรับพกพาเพื่อท่องเที่ยวกาเงต็นท์ หรือเดินป่า เพราะเมื่อพับแล้วมีขนาดเล็กมาก เตาแบบนี้จะใช้กับกระป๋องแก๊สแบบยาว

 

เตาแก๊สกระป๋องพกพา เป็นอุปกรณ์ที่เอาไว้ช่วยทำอาหาร เตาขนาดเล็กแบบนี้ นิยมกันมากในกลุ่มนักท่องเที่ยวกางเต็นท์ อย่างกลุ่มที่ใช้รถ มอเตอร์ไซค์เพราะพกพาง่ายๆ ประหยัดพื้นที่ เนื่องจากไม่สามารถขนสัมภาระไปได้มากนัก อาจจะมีบ้างสำหรับบางคนเอาไว้ใช้ในบ้าน เป็นของ สะสม ใช้งานบ้าง เป็นบางครั้ง

ผู้เขียนอยู่หอพัก ค่าไฟฟ้าแพง จึงนิยมใช้เตาแก๊สกระป๋อง ส่วนเตาพับขนาดเล็กแบบนี้ เอาไว้พกพาติดตัวไปเที่ยวกางเต็นท์ หรือใช้งานนอกบ้าน ในบางครั้ง

 

เตาแก๊สกระป๋องแบบต่างๆ

เตาแก๊สกระป๋องที่ใช้กันนั้น อาจจะมี 2 แบบแยกตามชนาด เตาแบบมีกล่อง หรือบางทีก็เรียก เตาแก๊สปิคนิค แข็งแรง ทนทาน สะดวกในการใช้ งาน แต่อาจจะไม่เพมาะในการพกพา เพราะมีขนาดใหญ่

 

 

ส่วนเตาแก๊สอีกแบบจะเป็นเตาขนาดเล็ก เน้นพกพาง่าย ทั้งยังพับได้ อย่างที่จะกล่าวถึงในบทความนี้นั่นเอง ราคาก็ถูกกว่าเตาแบบกล่องเกือบ 3 เท่าตัว อย่างเตาพับตัวนี้ ราคา 119 + ค่าจัดส่ง 29 บาท รวมเป็น 148 บาท แต่ราคาก็ขึ้นลงไม่แน่นอน รุ่นเดียวกัน แต่บางร้านขายแพงกว่า ต้อง ค้นหาร้านที่ขายราคาถูกที่สุด

 

 

 

แก๊สกระป๋องแบบยาว

เตาแบบนี้จะใช้กับแก๊สกระป๋องแบบยาว ซึ่งขายปลีกประมาณ 50 บาท ขึ้นไป ส่วนอีกแบบจะเป็นแบบแพ็ค 3 กระป๋อง ขายราคาถูกกว่า แต่จะ หาซื้อได้ตามห้างใหญ่อย่าง Makro, Lotus ราคาประมาณ 115 บาทขึ้นไป ตามร้านขายอุปกรณ์เดินป่าส่วนใหญ่จะขายปลีก เพราะได้กำไรมากกว่า โดยจะมีปริมาณแก๊ส 220 กรัม, 230 กรัม และ 250 กรัม ราคาก็แพงขึ้นตามปริมาณ

 

วิธีใช้งานเตาแก๊สกระป๋อง

1. เตารุ่นนี้สามารถพับได้ โดยจะมีขาตั้งเตา 4 มุม ให้กางออกในขณะใช้งาน เพื่อตั้งเตาให้มีความมั่นคง ให้ตั้งบนพื้นเรียบ


2. ส่วนขาตั้งหม้อ กระทะ หรือภาชนะในการทำอาหาร จะมีขาตั้ง 4 ด้าน เช่นกัน ให้กางออกตามลำดับหมายเลข 1 - 2 - 3 - 4 ตามลำดับ ส่วน การพับเก็บ ก็เริ่มจากขาที่ 4 - 3 - 3 - 2 - 1 ตามลำดับเช่นกัน โดยดึงออกไปทางซ้ายมือ หรือ ทวนเข็มนาฬิกา


3. การใส่แก๊สกระป๋องเข้ากับเตาแก๊ส ให้ถอดฝาครอบหัวกระป๋องแก๊สออกก่อน
4. ที่ตัวเตาแก๊ส ให้หมุนตัวปรับแก๊ส ไปตามเข็มนาฬิกา จนสุด เพื่อเป็นการปิดแก๊สนั่นเอง
5. การใช้งานเตาแก๊สจะคล้ายกัน การปิดเตาแก๊สจะหมุนตามเข็มนาฬิกาจนสุด ส่วนการเปิดแก๊สจะหมุนทวนเข็ม ให้มากหรื้อน้อย ก็ตามต้องต้อง การให้ไฟลุกมากแค่ไหน


6. เสียบหัวกระป๋องแก๊สกับเตา ให้ขั้วตรงกัน โดยหัวแก๊สกระป๋องอีกด้านจะต้องสอดเข้าไปข้างในตัวเขี้ยวล็อค แล้วกดลงไป เตาแก๊สก็จะล็อกหัว กระป๋องแก๊สเอาไว้ การถอดก็หัก
7. จากนั้นกดลงไปตรงๆ เตาแก๊สก็จะล็อคหัวกระป๋องแก๊สติดกับเตา
8. ส่วนการถอดแก๊สกระป๋องออกจากเตาแก๊ส ต้องปิดที่ปรับแก๊ศเสียก่อน แล้วให้หักหัวแก๊สกระป๋องออกจากตัวล็อกของเตาแก๊ส กระป๋องก็จะหลุด ออกมา


9. วิธีจุดเตาแก๊ส ให้หมุนตัวเปิดแก๊ส สีส้ม ไปทางซ้ายมือ หรือ ทวนเข็ม ย้อนเข็มนาฬิกา เล็กน้อย อย่าหมุนมาก แก๊สจะออกมากเกินไป
10. กดตัวจุดแก๊ส เมื่อใช้ไปนานๆ อาจจะเสีย ต้องเตรียมไฟแช็ค หรือ ปืนจุดแก๊สไปด้วย
11. เมื่อไฟติดแล้ว ก็ปรับความแรงของไฟตามต้องการ โดยหมุนตัวปรับแก๊สไปทางซ้ายมือ
12. การปิดแก๊ส ก็หมุนตัวปรับแก๊ส สีส้ม ไปทางขวามือ หรือตามเข็มนาฬิกา จนกว่าแก๊สจะดับ หลังจากนั้น ก็ถอดกระป๋องแก๊สออก ทำความสะอาด เตาและจัดเก็บให้เรียบร้อย
13. เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บควรหากล่องมาจัดเก็บให้เรียบร้อย อาจจะเก็บเป็นชุด สามารถเก็บเตาแก๊ส กระป๋อง และหม้อขนาดเล็กไว้ด้วย กันได้ เวลาพกพาจะทำได้ง่ายกว่าการแยกชิ้น หิ้วกล่องไปใบเดียวจบ

 

การทำอาหารด้วยเตาแก๊สพกพา

สำหรับการทำอาหารด้วยเตาแบบนี้ ก็เหมือนกับเตาทั่วไป เพียงแต่มีขนาดเล็ก จึงอาจจะไม่เหมาะสำหรับการใช้กับหม้อ หรือกระทะขนาดใหญ่ และไม่เหมาะสำหรับเมนูที่ต้องใช้เวลานานมากๆ อย่าง ต้ม หรือการหุงข้าว โดยเฉพาะเมนูปิ้ง แต่ก็สามารถทำได้ เพียงแต่ไม่ควรใช้หม้อที่ใหญ่มาก เพราะความร้อนจะแผ่ลงไปที่ตัวกระป๋อง ทำให้กระป๋องร้อน อาจจะไม่ปลอดภัย หากใช้หม้อขนาดเล็ก ระบายอากาศได้ดี ก็ไม่มีปัญหา ไม่ต้องกลัว ว่ากระป๋องแก๊สจะระเบิด เพราะในขณะใช้งาน กระป๋องจะเย็น ขณะที่แก๊สไหลออก กระป๋องจะเย็น

นอกจากนี้ต้องตรวจสอบให้ดีว่า บริเวณหัวต่อกระป๋องแก๊สกับเตาแก๊ส รั่วหรือไม่ หากรั่ว ไฟก็จะลุกตรงจุดนี้ด้วย ต้องรีบปิดหัวแก๊สสีส้ม การ ตรวจสอบ ก็ใช้น้ำยาล้างจาน มาเช็ดๆ บริเวณนี้ หากรั่วก็จะมีฟองอากาศ

 

ตัวอย่างการหุงข้าวด้วยเตาแก๊สพกพา

การทำอาหารประเภทอื่น ง่ายมาก ไม่ว่าจะเป็นต้ม ทอด ผัด แต่การหุงข้าว ต้องมีเทคนิค ไม่เช่นนั้น อาจจะไม่ได้กินข้าวสุก อาจจะเป็นข้าวดิบ หรือ แฉะ ซึ่งก็มีคำแนะนำง่ายๆ ดังนี้
1. ก่อนอื่นเลย จะต้องเริ่มต้นที่การตวงข้าวสารเช่น ใช้ถ้วยตวง 1 ถ้วย หากไม่มีถ้วยมาตรฐานที่แถมมากับหม้อหุงข้าว ก็ใช้ถ้วยโยเกิร์ตแทนได้ ขนาดข้าวที่ได้ จะมากกว่า อาหารตามสั่งเล็กน้อย
2. ใช้น้ำ 1.5 ถ้วย หรือ 1 ถ้วย กับอีกครึ่งถ้วย ต่อข้าวสาร 1 ถ้วยตวง ก็จะได้สูตร ข้าวสารต่อน้ำ 1 ต่อ 1.5 นั่นเอง


3. เริ่มต้นหุงข้าวด้วยไฟแรง หมุนตัวปรับแก๊สสีส้มไปทางซ้ายมือให้ไฟแรง ระหว่างน้ำเดือด ก็คนในช่วงแรกๆ ไม่ให้ข้าวติดก้นหม้อ จากนั้น ก็รอให้ น้ำแห้งสนิท
4. เมื่อน้ำแห้งหมดแล้ว ก็เบาไฟลง หมุนตัวปรับแก๊สสีส้มไปทางขวามือให้ไฟเบาที่สุด เพื่อดงข้าวไปจนกว่าจะสุก การหุงแบบนี้ไม่ต้องเช็ดน้ำ ใช้หลัก การเดียวกับการทำงานของหม้อหุงข้าวไฟฟ้า

 

การหุงข้าวด้วยเตาแก๊สจะใช้เวลาประมาณ 20 นาทีสำหรับข้าว 2 ถ้วยตวง หากหุงข้าวน้อยกว่านี้ ก็จะใช้เวลาน้อยกว่านี้ ซึ่งก็ไม่ควรหุงข้าวด้วย วิธีนี้บ่อยๆ เพราะเปลืองแก๊ส สำหรับเตาแก๊สแบบนี้ การหุงข้าวไม่น่าจะง่ายนัก เพราะเบาไฟได้ไม่มาก และไม่ควรหุงข้าวปริมาณมากไม่ควรเกิน 3 ถ้วยตวงมาตรฐานหรือถ้วยโยเกิร์ต หากมากกว่านั้น น่าจะไม่ง่ายนัก

 

สรุป

เตาแก๊สกระป๋องเหล่านี้ มีอายุการใช้งานยาวนาน ทนทานพอสมควร เพราะไม่มีระบบอะไรที่ซับซ้อน และส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ใช้งานทุกวัน อาจจะใช้ เฉพาะในการเดินทางท่องเที่ยวกางเต็นท์ หรือนำออกมาใช้งานบ้าง กรณีต้องการทำอาหารนอกสถานที่ แต่จุดที่น่าจะต้องเตรียมรับมือ ก็คือ ตัวจุด เตาแก๊ส ควรเตรียมไฟแช็ค หรือ ที่จุดเตาแก๊สติดตัวไปด้วยทุกครั้ง หากเกิดปัญหา ก็จะสามารถจุดเตาแก๊สได้

ส่วนการเลือกภาชนะไว้ทำอาหาร หากใช้แบบบางจะร้อนเร็ว ไม่เปลืองแก๊ส แต่หากใช้แบบไหน ก็เหมาะกับอาหารประเภทต้ม หรือ การหุงข้าว แต่หม้อหนา ราคาก็แพงกว่า หนักกว่า ใช้แก๊สมากกว่า