บทความนี้จะพาไปแนะนำให้รู้จักพัดลมโซล่าเซลล์ พัดลมแบบนี้มีคุณสมบัติที่ดีอย่างไร? และเหมาะกับใคร? ปัจจุบันทั้งพัดลมและแผงโซล่า เซลล์ราคาไม่แพง เหมาะสำหรับติดตั้งในบ้าน อาคารเพื่อช่วยระบายความร้อน ประหยัดไฟฟ้า

 

เมืองไทยเป็นเมืองร้อน พัดลมจึงเป็นสิ่งจำเป็น ทุกคนต้องมีพัดลม ติดบ้าน ซึ่งอาจจะเป็นพัดลมแบบตั้งพื้น ตั้งโต๊ะ หรือเพดาน แต่การใช้พัดลมแบบโซล่าเซลล์จะมีวัตตุประสงค์ที่ต่างออกไป เช่น
1. การเช่าหอพัก บ้านเช่า ที่คิดค่าไฟฟ้าแพงกว่า การใช้พัดลมโซลาเซลล์ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้ เน้นเปิดใช้งานกลางคืนเป็นหลัก กลางวันก็ชาร์จแบตเตอรี่ด้วยแผงโซลาร์เซลล์
2. การเปิดร้านกลางคืน ทำงานกลางคืน ขายของ เป็นรปภ รถมอเตอร์ไซค์พ่วงข้างขายของกลางคืน ฯลฯ ไม่มีไฟฟ้าให้ใช้ ก็ใช้พัดลมแบบนี้ได้สบาย กลางวันก็ชาร์จ กลางคืนก็เปิดใช้งาน
3. การเดินทางท่องเที่ยว กางเต็นท์ หรือไปในสถานที่ไม่มีไฟฟ้า ก็สามารถใช้งานได้
4. หน่วยงานที่มีการทำงานในเวลากลางคืน จำเป็นต้องมีพัดลมช่วยระบายความร้อน และต้องการลดค่าไฟฟ้า

 

รูปแบบการทำงานของพัดลมโซล่าเซลล์

พัดลมโซล่าเซลล์อาจจะมีรูปแบบการทำงาน 2 แบบ

1. พัดลมโซล่าเซลล์ต่อกับแผงโซล่าเซลล์โดยตรง ขั้วบวกต่อกับขั้วบวก ขั้วลบต่อกับขั้วลบ ไม่ต้องมีแบตเตอรี่ ซึ่งพัดลมจะเริ่มทำงานทันทีที่มีแสง แดด อาจจะทำสวิทซ์ปิดเปิดการใช้งานไม่ให้ทำงานทั้งวันก็ได้ แต่กรณีนี้จะใช้งานได้เฉพาะเวลากลางวันเท่านั้น การใช้งานในลักษณะนี้มีข้อเสียก็คือ ความแรงของไฟฟ้าไม่สม่ำเสมอจะทำให้มอเตอร์พัดลมพังเร็ว


2. พัดลมโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ และแบตเตอรี่ หรือบรรดาชุดนอนนาทั้งหลาย กรณีนี้จะสามารถใช้งานพัดลมในเวลากลางคืนได้ด้วย การใช้งานแบบนี้จะมีค่าใช้จ่ายสูง มากกว่า เพราะมีแบตเตอรี่และอุปกรณ์อื่นๆ เพิ่มเข้ามา


3. พาวเวอร์แบงก์แบบมีแผงโซลาเซลล์ กับ พัดลม USB เป็นอีกวิธีที่สามารถใช้งานได้เช่นกัน 

 

ประเภทของพัดลมโซลาเซลล์

1. พัดลมโซลาเซลล์ขนาดเล็ก เหมาะสำหรับสายแคมปิ้ง เที่ยวป่า กางเต็นท์ หรือใช้พาหนะในการเดินทางที่ไม่สะดวกกับการขนข้าวของติดตัวไปมากนัก อีกทางเลือกก็คือ ใช้พาวเวอร์แบงก์แบบมีแผงโซลาเซลล์ กับ พัดลม USB ก็ใช้แทนกันได้


2. พัดลมไม่มีแบตเตอรี่ในตัวต่อกับแผงโซลาเซลล์โดยตรง เช่น พัดลมระบบ DC/AC 12V ต่อกับแผงโซลาเซลล์ 12 V มีตัวแปลงไฟใช้กับไฟบ้านได้ นำแผงโซลาเซลล์ไปวางรับแดด ต่อขั้วบวก ขั้วลบกับพัดลม แล้วเปิดใช้งานได้เลย ข้อเสียก็คือต้องมีระบบจัดการไฟ ไม่เช่นนั้นมอเตอร์พัดลมจะพังเร็ว และสถานที่นั้น จะต้องมีแดดทั้งวัน


3. พัดลมโซลาเซลล์แบบมีแบตเตอรี่ในตัวต่อกับแผงโซลาเซลล์ กลางวันชาร์จทั้งไว้ กลางคืนเปิดใช้งาน


4. พัดลมโซลาเซลล์แบบเต็มระบบ เช่น พวกชุดนอนนา ไม่ทั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ ด้วย ใช้งานได้มากขึ้น แต่ก็มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าแบบอื่นๆ ด้วยเช่นกัน บางคนใช้ระบบนี้แทนไฟบ้านทั้งหมด ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้า

 

การปรับแต่งใช้งานพัดลมโซลาเซลล์ในเวลากลางคืน

ตึกที่ไม่มีหลังคาแบบนี้จะร้อนมาก เพราะจะสะสมความร้อนเอาไว้ หากไม่ดูดความร้อนออกจากห้อง ทั้งกลางวันกลางคืนก็อยู่แทบไม่ได้

 

ส่วนกรณีอยู่บ้านเช่า ตึกแถว หลังคาเตี้ย ก็อาจจะติดพัดลมไว้ไต้หลังคาไว้ให้ทำงานกลางคืน เพื่อให้ดูดอากาศร้อนใต้หลังคาให้ออกไป และมีพัดลมอีกตัว อาจจะติดตั้งไว้ ใกล้ หน้าต่าง หรือตำแหน่งที่มีช่องให้สามารถดูดลมเข้ามาในบ้านได้ ซึ่งจะทำให้ลมเกิดการไหลเวียนและพาความร้อนออกไปนอกบ้าน ส่วนแผงโซล่า เซลล์ ก็ติดไว้บนหลังคาบ้าน

 

การใช้งานในกรณีที่ต้องการให้เปิดปิดพัดลมเองอัตโนมัติอาจจะใช้แผงโซลาเซลล์ที่มีระบบเปิดปิดอัตโนมัติ ต่อกับพัดลมโซลาเซลล์ หรือ ใช้สวิทซ์ตรวจจับแสง เมื่อมืดลงก็จะเปิดพัดลมอัตโนมัติไว้ใช้กับสถานที่ที่อาจจะไม่สะดวกในการเดินทางไปยังสถานที่นั้นๆ เช่น เปิดให้สัตว์เลี้ยง หรือไม่อยากเดินสายไฟไปยังจุดนั้นๆ

 

พัดลมโซล่าเซลล์แบบตั้งพื้นและส่ายได้

พัดลมโซล่าเซลล์แบตเตอรี่ในตัวแบบตั้งพื้น ส่ายได้ หรือตั้งโหมดลมธรรมชาติได้เป็นตัวเลือกที่ดี และมีประโยชน์มากกว่าแบบอื่น สามารถชาร์จได้ทั้งจากแผงโซล่าเซลล์ และ ไฟบ้าน พัดลมแบบนี้ ราคาสูง แต่สามารถใช้ ประโยชน์ได้คุ้มค่ากว่า

 

พัดลมที่สามารถตั้งให้ส่ายได้ก็จะทำให้ลมที่ออกมาไม่อยู่เพียงทิศทางเดียว อาจจะทำให้ไม่สบายตัว หรือเจ็บป่วยได้ อย่างการเป็นหวัด คัดจมูก เพราะโดนลมตลอดเวลา

 

คุณสมบัติอื่นที่ต้องใส่ใจก็คือรุ่นที่สามารถยืดคอได้ มีรีโมท เผื่อนำไปตั้งใกล้หน้าต่าง หรือบานเกล็ดหลังห้อง ไว้ดูดอากาศเย็นเข้ามาในห้อง หรือ ดูดอากาศร้อนออกจากห้อง และการที่สามารถใช้กับแผงโซล่าเซลล์ได้ ก็จะสามารถต่อกับแผงเพื่อเปิดพัดลมในกลางวันได้ โดยไม่ต้องใช้ไฟบ้าน ส่วน กลางคืนก็ใช้แบตเตอรี่ในตัว สำหรับใครที่กำลังมองหาความคุ้มค่า พัดลมแบบนี้ คุ้มค่ากว่าแบบอื่นอย่างแน่นอน