อาการข้อมูลข่าวสารท่วมหัวจนเอาตัวไม่รอดหรือ information technology overload เกิดจากการศึกษาหาความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ ไอที เทคโนโลยี่ ติดตามการใช้งานสื่อต่างๆ เสพสื่อมากเกินไปจนทำให้เกิดปัญหากับการทำงาน ตรงกับสำนวนไทยๆ ก็คือ ความรู้(ไอที)ท่วมหัวเอาตัวไม่รอดนั่นเอง 

 

เหตุการณ์นี้เกิดกับตัวเองเลยครับ ไม่ใช่ใครที่ไหน หากท่านใดที่เข้ามาอ่านบทความในเว็บไซต์ siamebook.com แห่งนี้จะพบว่า บทความต่างๆ มี เยอะมาก และหลากหลาย ทั้งหมดนี้เกิดจากการทำงานของคนเพียงคนเดียวก็คือกระผมเท่านั้น แรกๆ ก็ภูมิใจมาก ว่าทำไมเราจึงเขียนบทความได้ มากขนาดนี้ สารพัดโปรแกรมขยันศึกษาไปหมด แต่แล้วผลเสียก็ตามมา เมื่อความรู้ท่วมหัว

นั่นก็คือหลังจากการพยายามศึกษาอย่างมาก ต้องติดตามให้ทันทุกเรื่อง การใช้คอมพิวเตอร์ โปรแกรมต่างๆ เว็บไซต์ การหาเงินออนไลน์ แท็บ เล็ตทุกค่าย มือถือ โอ้แม่เจ้า เขียนบทความนี้ไปเหมือนอาการชักจะกำเริบ

เมื่อศึกษามากๆ ความรู้ก็ตีกัน สับสนไปหมดจะเอาอะไรดี เรื่องนั้นก็น่าเขียน เรื่องนี้ก็น่าทำ เรื่องนั่นทำแล้วไม่น่าจะดี เดี๋ยวทำ เดี๋ยวหยุด มันส์มั่ว ไปหมด จนสุดท้ายทำอะไรไม่ได้ เอาเอกสารมาตั้งแล้วนั่งมอง ไม่รู้จะเริ่มอะไรก่อนดี และก็ส่งผลเสียต่องานจนได้ งานไม่เดิน รายรับเริ่มหดหาย เละ

การศึกษาด้านไอที เทคโนโลยีในปัจจุบันค่อนข้างกว้าง และแต่ละด้านก็มีเนื้อหาที่มาก ซับซ้อนขึ้นทุกวัน เราจึงไม่สามารถทำตัวเป็นผู้รู้ได้ทุกเรื่อง ต้องเลือกเอาเรื่องเดียว อย่างเดียว แล้วศึกษาด้านนั้นให้เป็นด้านเก่ง ที่สามารถสร้างรายได้ให้เรา เป็นรายได้ที่มั่นคง จากนั้นมีเวลาว่างค่อยไปศึกษา ด้านอื่น ศึกษาแค่พอเป็นความรู้ อย่าให้กระทบกับงานหลัก

นอกจากงานจะเสียแล้ว สิ่งที่ส่งผลต่อตัวเราเองโดยตรงอย่างมากก็คือจะกลายเป็นคนจับจด สมาธิสั้น ขี้หงุดหงิด ฯลฯ ท่านใดที่กำลังศึกษาด้านนี้ และศึกษาหลายอย่างพร้อมกัน แนะนำให้กลับไปตั้งต้นใหม่ คิดใหม่ อย่างทำหลายอย่างพร้อมกัน จะส่งผลเสียมากกว่าผลดี เพราะแม้การศึกษาทุก ด้านจะสร้างรายได้ให้เราหลายทาง แต่มันไม่มาก เหมือนการที่เราศึกษาด้านเดียวทางเดียว รู้อย่างเดียวจนเชี่ยวชาญ

หากจะทำอะไรหลายๆ อย่างพร้อมๆ กันต้องลงทุนจ้างคนมาช่วย แล้วทำหน้าที่เป็นคนดูแลเนื้อหา อย่าลงมือไปทำเอง ไม่เช่นนั้น งานจะไม่เดิน และพาลทำชีวิตการงานพังเอาได้ง่ายๆ โดยเฉพาะในวันที่รายได้หลักลดลงๆ จนอยู่ไม่ได้แล้ว เมื่อนั้นมีแต่พังกับพัง

สำนวนโบราณ คำสอนที่ว่า รู้อย่างเดียวให้เชี่ยวชาญเถิด ยังใช้ได้เสมอ แม้จะเป็นยุคไอทีแล้วก็ตาม