ความหมาย : สำนวนนี้มักจะใช้พูดถึงการกระทำของคนเรา หว่านพืชหวังผล มักจะหวังผลตอบแทนเสมอไม่มีใครทำอะไร โดยไม่หวังผลตอบแทนเพียงแต่หวังด้านดี เป็นผลตอบแทนที่ดีทั้งต่อตัวเองหรือผู้อื่นหรือตัวเองได้ประโยชน์แต่เบียดเบียนผู้อื่น แต่การกระทำใดๆ ก็ตาม แม้จะไม่หวังผล แต่หากมีการลงมือทำ ก็ย่อมจะมีผลบางอย่างตามมาเสมอ

ความหมาย : สำนวนนี้ มักจะใช้พูดเตือนสติเกี่ยวกับคำพูดของคนเรา คำพูด คำจาที่ไพเราะ น่าฟัง แต่ทำ ให้เกิดความเดือดร้อน เพราะขาดสติ หลงเชื่อ และทำตามจนสร้างปัญหาตามมา แต่คำพูดแรงๆ มักทำให้ได้สติกลับคืนมาเร็วขึ้น หวานเป็นลมขมเป็นยา คำพูดหวานๆ หลงเชื่อแล้ว นำไปปฏิบัติตาม อาจทำให้เกิดปัญหาตามมา คำพูดหวานๆ หลงเชื่อแล้ว อาจจะโดนหลอก ทำให้เสียทรัพย์ เสียเวลา ส่วนคำพูดแรงๆ เหมือน ขมเป็นยา เป็นคำพูดที่ช่วยเตือนสติ ให้มีสติเร็วขึ้น ซึ่งอาจ จะเป็นการด่า การประชด ดูถูก ดูแคลนหรือพูดแรงๆ เพื่อให้ผู้ฟังได้มีสติกลับคืนมาและรู้ว่าตัวเองกำลังเดินผิดทางหรือถูกหลอก และกำลังจะเกิดปัญหาใหญ่ตามมา หากยังไม่ยอมหยุด จึงต้องพูดแรงๆ เพราะพูดจาไพเราะ เตือนด้วยคำพูดดีๆ แล้วก็ยังไม่ฟัง ก็ต้องด่าแรงๆ

ความหมาย : สำนวนนี้มักจะใช้พูดถึงหรือเป็นคำเตือนให้ระวังคำพูดของคนเรา คำพูดหวานๆ คำพูดจา ไพเราะ พูดจาดี ฟังแล้วสบายใจ แต่ก็อาจทำให้หลงชื่อและเกิดปัญหาเดือดร้อนตามมา หวานลิ้นกินตาย โดยเฉพาะหากผู้พูดมีความน่าเชื่อถือ ด้วยแล้ว ย่อมมีโอกาสหลงเชื่อ และอาจเกิดปัญหาเดือดร้อนตามมา เสียเงิน เสียเวลา เสียตัว เสียทรัพย์

ความหมาย : สำนวนนี้มักจะใช้พูดถึงคนที่ดูดีแต่เพียงภายนอก ส่วนภายในนั้นกำลังแย่เต็มที อยู่ในสภาพ หวานนอกขมใน กำลังมีความทุกข์อย่างแสนสาหัส แต่แสร้งทำตัวให้ดูดี ภายนอกดูสดใส ยิ้มแย้มร่าเริง แต่ภายในกำลังอยู่ใน ความทุกข์กายทุกข์ใจอย่างหนัก แต่ต้องทำตัวเหมือนปกติ เพราะไม่อยากให้ใครรู้

ความหมาย : สำนวนนี้มักใช้พูดถึง สิ่งของที่อยู่ตรงหน้า สามารถหยิบฉวยมาใช้ประโยชน์ได้ทันที แต่กลับไม่สนใจ ไปหวังในสิ่งที่อยู่ข้างหน้า ที่ยังมาไม่ถึง ยังมองไม่เห็น เหมือน หวังน้ำบ่อหน้า หวังจะไปหาใหม่ เอาดาบหน้า เผื่อว่า จะได้ของที่ดีกว่า ซึ่งบางที ก็อาจไม่เป็นเช่นนั้น