บทความนี้จะสรุปข้อมูลความรู้เกี่ยวกับซิมเน็ตแบบต่างๆ ของ AIS สำหรับปี 2564 หรือ 2021 นี้ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้สนใจ จะได้เลือก ใช้ซิมให้เหมาะสมกับตัวเอง เพราะการเลือกใช้โดยไม่ศึกษาให้ดี อาจจะเสียเงินหลักพันบาทต่อปีเลยทีเดียว และยังสร้างปัญหายุ่งยากตามมา สำหรับการใช้ซิมแบบรายเดือนของบางค่ายมือถือ ทั้งรายจ่ายที่ยากจะควบคุมและความยุ่งยากในการปิดเบอร์

 

หมายเลขโทรศัพท์มือถือเป็นข้อมูลสำคัญที่แต่ละคนจะต้องมีประจำตัว เพื่อใช้ผูกกับบัญชีธนาคาร ใช้กับโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟน ใช้อี เมล์ ใช้เฟสบุ๊ค ไลน์ หรือ แม้แต่บัตรประชาชน เพื่อทำธุรกรรมหรือสมัครบริการต่างๆ ของรัฐบาล แต่การมีหมายเลขโทรศัพท์ประจำตัว จะมีค่า ใช้จ่ายทุกเดือนมากน้อยกันไป ตัวอย่างเช่น
1. หมายเลขโทรศัพท์ หรือ ซิมแบบเติมเงิน
ราคาหลักสิบบาทขึ้นไป ซิมแบบนี้จะต้องเติมเงินทุกเดือน ค่าใช้จ่ายมากหรือน้อยก็อยู่ที่ตู้เติมเงิน ร้านรับเติมเงิน จะต้องเติมขั้นต่ำครั้งละกี่บาท อย่างผู้เขียนเติม 10 บาท + ค่าบริการ 2 บาท เป็น 12 บาททุกเดือน ไม่เช่นนั้นซิมจะถูกยกเลิกการให้บริการ และเมื่อถูกยกเลิกบริการ กรณีได้ ผูกเบอร์ไว้กับบัญชีธนาคาร ก็จะต้องไปแจ้งเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ใหม่กับทางธนาคาร หรือกรณีเป็น อีเมล์ มือถือ เฟสบุ๊ค ไลน์ ก็ต้องเข้าไปแก้ไข ปัญหาที่เริ่มจะหนักใจกับการใช้ซิมแบบนี้ ก็คือ การเติมเงินจะต้องเติมมากขึ้น เช่น ของ True เติมเงินขั้นต่ำ 50 บาท นั่นก็หมายความว่า เพื่อ รักษาซิมเอาไว้ จะต้องเติมเงินเข้าไปเดือนละ 50 บาท หรือปีละ 600 บาท

2. หมายเลขโทรศัพท์ หรือ ซิมแบบรายเดือน
ซิมแบบนี้มักจะมาพร้อมกับการซื้อมือถือ หรือ แท็บเล็ต เป็นโปรโมชันของทางร้าน หรือค่ายมือถือ ควรหลีกเลี่ยง เพราะจะมีค่าใช้จ่ายที่ยากจะ ควบคุม และการปิดหมายเลขโทรศัพท์ ก็ต้องดูด้วยว่า สามารถปิดเบอร์ได้ที่ไหน อย่างผู้เขียนเคยใช้ของบางค่าย เวลาจะปิดเบอร์จะต้องเดินทาง ไปที่ฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต ผู้เขียนอยู่สระบุรี และปราจีนบุรี ที่นั่นไม่มีศูนย์บริการที่สามารถปิดเบอร์ได้ ต้องเข้ากรุงเทพอย่างเดียวเท่านั้น หากไม่ปิด เบอร์ ค่าใช้จ่ายก็จะทบไปเรื่อยๆ ไม่เหมือนซิมเติมเงิน ไม่เติมเงิน ก็จบกันไป

3. หมายเลขโทรศัพท์ หรือ ซิมแบบรายปี
ซิมแบบนี้ใช้พ่วงโปรเน็ตแบบรายปีไว้ด้วย จ่ายครั้งเดียว ไม่ต้องเติมเงิน แต่เมื่อครบหนึ่งปีแล้ว หากไม่มีการเติมเงิน หมายเลขโทรศัพท์ก็จะถูกยก เลิก ซิมแบบนี้หมาะสำหรับใช้เป็นรายปี หมด ก็โยนทิ้ง ส่วนซิมเติมเงิน อาจจะใช้เป็นซิมหลัก ไว้ผูกกับบัญชีธนาคาร ไลน์ เฟสบุ๊ค อีเมล์ มือถือ สมาร์ทโฟน เติมเงินรักษาซิมไว้ เดือนละ 10 บาท 20 บาท ก็พอ

 

การเลือกซื้อซิม AIS ต้องดูอะไรบ้าง

ก่อนตัดสินใจซื้อซิมของ AIS ควรพิจารณาดังนี้
1. ดูสัญญาณมือถือ AIS ในบริเวณที่พัก สัญญาณดีหรือไม่
2. ดูเสาสัญญาณ WiFi ของ AIS มีหรือไม่ หากมีก็จะสามารถเล่นเน็ตผ่านเสาส่งสัญญาณได้ เน็ตเร็วกว่า
3. ดูโปรเน็ต AIS เมื่อเทียบกับบริษัทคู่แข่ง คุ้มหรือไม่
4. กรณีต้องการใช้ซิมเน็ตแบบรายเดือนของ AIS ควรสอบถามในเรื่องการปิดเบอร์ สามารถทำที่ตัวจังหวัดนั้นได้หรือไม่ หรือต้องเดินทางไป จังหวัดอื่น อย่างซิมของบางค่าย จังหวัดใกล้เคียงกรุงเทพ สระบุรี ปราจีนบุรี ปทุมธานี จะต้องไปปิดเบอร์ที่ฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต เป็นต้น

 

รูปแบบของโปรเน็ตของ AIS มีกี่แบบ

โปรเน็ต หรือค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อเน็ต ของบริษัทมือถือแต่ละค่าย จะคล้ายๆ กัน เป็นการสรุปของผู้เขียนเอง ต้องการดูอย่างละเอียดให้ ศึกษาในเว็บไซต์ของ AIS เช่น
1. ต่อเน็ตโดยไม่ต้องมีโปรเน็ต กรณีใช้รายเดือน หรือ ซิมเติมเงิน ขอเพียงมีเงินในซิม ก็ต่อเน็ตได้เลย

2. โปรเน็ตแบบคิดตามปริมาณ เช่น 18Gb, 50GB, 60GB และ 100GB ต่อเดือน เมื่อใช้ครบแล้ว จะลดความเร็วเหลือ 128Kbps หรือ 0.128 GB นั่นเอง ความเร็วประมาณนี้จะสามารถดูยูทูปความเร็ว 144p - 240p ได้ แต่ 360p ขึ้นไป อาจจะสะดุด

3. โปรเน็ตแบบไม่อั้น ไม่ลดสปีด เติมเงินรายเดือน เช่น 2Mb, 4MB และ 10MB ราคาก็ต่างกันไป การใช้งานทั่วไป ดูยูทูป 2MB ก็ดูวิดีโอความ ละเอียด 360p-480p ได้สบายๆ ส่วนการเลือกเน็ตความเร็วสูงอย่าง 10MB อาจจะใช้งานกันทั้งบ้าน มีหลายคน ก็เชื่อมต่อเครื่องเดียว แล้วแชร์ ให้มือถือเครื่องอื่น 4. โปรเน็ตแบบไม่อั้น ไม่ลดความเร็ว จ่ายเงินครั้งเดียว ใช้ได้ 1 ปี หรือ 12 เดือน เช่น ความเร็ว 8MB

 

ความเร็วในการเชื่อมต่อเน็ตต่างกันอย่างไร

ความเร็วในการเชื่อมต่อเน็ตมีหลายแบบ แต่ละแบบก็ต่างกันไป ข้อมูลต่อไปนี้ เป็นประสบการณ์ส่วนตัวจากการทดลองใช้งานที่ผ่านมา อาจ จะไม่ใกล้เคียงกัน เช่น

1. 128 Kbps หรือ 0.128 Mbps เป็นความเร็วเชื่อมต่อเน็ตที่สามารถใช้งานทั่วไปได้ อ่านข่าว เล่นไลน์ ดูเฟสบุ๊ค ดูวิดีโอยูทูปได้ แต่ต้องเป็น วิดีโอความละเอียดต่ำประมาณ 144p - 240p เหมาะสำหรับใช้งานคนเดียว ที่ต้องการประหยัดเงิน ความเร็วต่ำกว่านี้ ไม่ควรเลือก เพราะดูยูทู ปไม่ได้ สะดุด ค้าง

2. ความเร็ว 2 Mbps เป็นความเร็วเชื่อมต่อเน็ตที่สูงขึ้น ดูวิดีโอยูทูปความละเอียดสูงขึ้นได้ ประมาณ 360-720 ได้สบายๆ แต่ 1080p อาจจะ มีสะดุด ช้า สามารถแชร์เน็ตได้ ให้สมาชิก 1-3 คน ดูยูทูปพร้อมกันได้

3. ความเร็ว 4 Mbps เป็นความเร็วเชื่อมต่อเน็ตที่สามารถแชร์ให้สมาชิกในบ้าน 3-4 คนได้สบาย จากที่ได้ทดลองซิมของบางค่าย ดูยูทูปพร้อม กัน 4 เครื่อง วิดีโอ 480p ขึ้นไป ไม่มีสะดุด

4. ความเร็ว 8-10 Mbps เป็นความเร็วเชื่อมต่อเน็ตที่เร็ว สามารถแชร์ให้สมาชิกในบ้าน ใช้แทนเน็ตบ้านได้ ประหยัดเงินหลายพันบาทต่อปี ส่วน การใช้งานส่วนตัว ถือว่าเป็นความเร็วที่เหลือเฟือมาก ดูวิดีโอความละเอียดสูง แชร์ให้เครื่องอื่น ทำได้ดีไม่มีปัญหา แต่ซิมเน็ตแบบนี้ ราคาสูง ประมาณ 2000 บาท ต่อปี ของ AIS อยู่ที่ 2,199 บาทต่อปี ต้องสั่งซื้อผ่านเน็ต รวมค่าส่ง ค่าลงทะเบียน ก็เพิ่มเงินอีกนิดหน่อย

 

ตัวอย่างโปรเน็ตของ AIS

การเชื่อมต่อเน็ตแบบไม่ต้องมีโปรเน็ต

การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตโดยไม่ต้องมีโปรเน็ต กรณีใช้รายเดือน หรือ ซิมเติมเงิน ของ AIS ขอเพียงมีเงินในซิม ก็ต่อเน็ตได้เลย เพียงเปิดใช้ข้อ มูลอินเตอร์เน็ต ข้อมูลมือ แต่กรณีใช้ซิมรายเดือน ไม่ควรทำ เพราะจะเสียเงินเยอะมาก ส่วนการเติมเงิน จะต้องมีความรอบคอบ ต่อเน็ตแล้วห้าม ลืมปิด เช่น ต้องการเชื่อมต่อเน็ตแค่ 5-10 นาทีเพื่อใช้งานแอปบางตัว อย่างแอปเป๋าตังแสกนจ่ายเงิน ก็เปิดเน็ต แสกนจ่ายเงิน แล้วรีบปิดเน็ต ทันที

 

โปรเน็ตแบบคิดตามปริมาณข้อมูล

โปรเน็ตแบบคิดตามปริมาณข้อมูลที่มีการรับส่งมีหลายแบบ จากที่ค้นหาจากเน็ต เว็บไซต์ขายของต่างๆ ข้อมูลราคา อาจจะมีการเปลี่ยนแปลง
1. 18Gb ต่อเดือน เติมเงินทุกเดือน 107 บาท รวม VAT 7% แล้ว ปริมาณ 18 GB คือข้อมูลที่มีการรับส่งระหว่างมือถือกับอินเตอร์เน็ต อย่างดู หนังในยูทูป วิดีโอมีความละเอียดสูงมาก สมมุติว่า หนังหนึ่งเรื่องมีปริมาณข้อมูล 1GB ก็จะดูหนังได้ 18 เรื่อง ถ้าใช้เวลาดูหนัง 3 วัน เมื่อใช้เน็ต 18 GB หมดแล้ว ก็ต้องรอเดือนหน้า ส่วนหลังจากนั้นจะให้ใช้เน็ตความเร็วต่ำ เช่น 128kbps

2. 50GB ต่อเดือน เติมเงินทุกเดือน 214 บาท รวม VAT 7% แล้ว

3. 60GB จ่ายครั้งเดียวใช้ได้ 1 ปี ราคา 1,290 บาท (บางร้านถูกหรือแพงกว่านี้) รวม VAT 7% แล้ว

4. 100GB จ่ายครั้งเดียวใช้ได้ 1 ปี 1,529 บาท (บางร้านถูกหรือแพงกว่านี้) รวม VAT 7% แล้ว

5. ทุกโปรเน็ต เมื่อใช้ครบแล้วจะลดความเร็วเหลือ 128Kbps หรือ 0.128 GB นั่นเอง ความเร็วประมาณนี้จะสามารถดูยูทูปความเร็ว 144p - 240p ได้ แต่ 360p ขึ้นไป อาจจะสะดุด

 

สำหรับคนที่ใช้เน็ตไม่มากนัก ดูวิดีโอบ้าง เล่นไลน์ เฟสบุ๊คบ้าง วิดีโอคอลผ่านแอปไลน์บ้าง ใช้แบบจ่ายครั้งเดียวต่อปี 60GB หรือ 100GB ก็ เพียงพอแล้ว ส่วนแบบอื่น เมื่อรวมเงินที่ต้องจ่ายทั้งปีแล้วแพงกว่า

 

สมัครโปรเน็ตแบบไม่อั้น เติมเงินรายเดือน

โปรเน็ตแบบไม่อั้น ไม่ลดสปีด จากที่ได้ค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ขายของ ตัวอย่างเช่น (ข้อมูลอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง)
1. 2Mb เติมเงิน 150 บาท หรือเติมเงินจริง 160.05 บาทต่อเดือน เมื่อรวม VAT 7% แล้ว
2. 4MB เติมเงิน 200 บาท หรือเติมเงินจริง 214 บาทต่อเดือน เมื่อรวม VAT 7% แล้ว
3. 10MB เติมเงิน 300 บาท หรือเติมเงินจริง 321 บาทต่อเดือน เมื่อรวม VAT 7% แล้ว

 

ข้อเสียของโปรเน็ตแบบนี้ ก็คือ การเติมเงิน จะต้องเติมมากกว่านั้น อย่างค่าบริการ 300 บาทต่อเดือน ก็จะต้องเติมเงิน 350 บาท เพราะมี VAT อีก 7% หรือ 21 บาท รวมเป็นเงิน 321 บาทต่อเดือน การใช้เน็ตแบบนี้จึงไม่คุ้มค่า เสียเงินมากกว่าที่คิด เสียเวลาเติมเงินด้วยเช่นกัน

 

ซิมเทพรายปีจ่ายครั้งเดียว

ซิมเทพของ AIS ความเร็ว 8MB ไม่ลดสปีด โทรฟรีทุกเครือข่ายครั้งละ 30 นาที ราคา 2,199 บาท จ่ายครั้งเดียวจบ ไม่ต้องเติมเงิน เหมาะ สำหรับใช้ในครอบครัว แชร์เน็ตให้สมาชิกในบ้าน ใช้แทนพวกเน็ตบ้านได้สบาย ประหยัดเงินหลายพันบาท เพราะเน็ตบ้านจะต้องเสียเดือนละ หลายร้อยบาท หรือปีละหลายพันบาท แต่ซิมเทพแบบนี้จ่ายประมาณ 2000 กว่าบาทต่อปี จบ ไม่มีค่าใช้จ่ายอะไรอีก ครบ 1 ปี หรือ 12 เดือน โยนซิมทิ้งซื้อซิมใหม่ เริ่มใหม่

 

ข้อเสียของซิมเทพของ AIS ความเร็ว 8MB เมื่อเทียบกับซิมค่ายอื่น ถือว่าความเร็วน้อยกว่า แพงกว่า อย่างของ True 10Mb ขายถูกกว่า 1890 บาทต่อปี เท่านั้น แต่ทั้งนี้ก็ต้องดูว่า สัญญาณมือถือของใครดีกว่ากัน ก็ควรเลือกเจ้านั้น

 

ซิมเน็ต AIS แบบใดคุ้มที่สุด

ผู้เขียนมีคำแนะนำดังนี้
1. ทุกวันนี้เราจะต้องมีหมายเลขมือถือประจำตัว เพื่อใช้กับธนาคาร แอปธนาคาร ดังนั้น ให้ดูว่า ซิมที่ใช้นั้น การเติมเงินจะสามารถเติมขั้นต่ำได้ กี่บาท ตัวอย่างเช่น การเติมเงินกับร้าน 7-11 หรือ โลตัส ซิมบางค่ายจะต้องเติมขั้นต่ำ 50 บาท แต่เติมกับตู้เติมเงิน หรือ ร้านค้าอาจจะเติมขั้นต่ำ 10 บาท มีค่าบริการอีก 2-3 บาท หากมีร้านค้าในลักษณะนี้อยู่ใกล้บ้าน และไม่ได้ต่อเน็ตบ่อยนัก แต่ละเดือน อาจจะมีการต่อเน็ตบ้าง อย่างแสกนจ่าย เงินผ่านแอปต่างๆ หรือแทบไม่ต่อเน็ตเลย ก็ใช้ซิมแบบเติมเงินธรรมดา และเติมเงินไว้เพื่อรักษาอายุซิมไว้ก็พอ ผู้เขียนจะเติมไว้เดือนละ 10 บาท รวมค่าบริการอีก 2 บาท เป็นเงิน 12 บาท ต่อเดือน ถ้าจะต่อเน็ต ก็เติมเงินให้มากขึ้น แล้วก็เลือกโปรโมชัน ที่ต้องการ เช่น ใช้เน็ต 1 วัน ใช้เน็ต 7 วัน

2. สำหรับใครที่จะต้องการต่อเน็ตตลอดเวลา ดูยูทูปบ้าง เล่นไลน์ เฟสบุ๊คบ้าง แต่ไม่ได้โหลดข้อมูลอะไรมากนัก ก็ใช้เน็ตแบบรายปีคุ้มที่สุด จ่าย ครั้งเดียวจบ ไม่ต้องเติมเงินบ่อยๆ ให้เสียค่า VAT 7% เช่น
- 60GB จ่ายครั้งเดียวใช้ได้ 1 ปี ราคา 1,290 บาท
- 100GB จ่ายครั้งเดียวใช้ได้ 1 ปี 1,529 บาท
โปรเน็ตบางแบบ ให้เติมเงิน 100 บาทต่อเดือน แต่การเติมเงินจริงๆ อาจจะต้องเติม 150 บาท (ต้องเติมขั้นต่ำ 50 บาท) เพราะจะมีค่า VAT 7% อีก 7 บาท เมื่อรวมทั้งปีแล้ว จะต้องเติมเงินมากกว่าที่คิด ซิมเติมเงินแบบรายเดือน จึงไม่คุ้ม

3. โปรเน็ตสำหรับครอบครัว ไว้แชร์เน็ตให้กัน หรือ คนที่ทำงานผ่านเน็ต ต้องการเน็ตความเร็วสูง ใช้ได้ไม่อั้น ไม่ลดสปีด ก็ต้องเลือกเน็ตที่แพงขึ้น ของ AIS จะมีโปรเน็ต 8MB ราคา 2,199 บาทต่อปี จ่ายครั้งเดียว ใช้ได้ 12 เดือน หรือ 1 ปี

 

ข้อมูลเกี่ยวกับโปรเน็ตของ AIS ที่ได้อธิบายในบทความนี้ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน เพื่อจะได้เลือกใช้เน็ตให้เหมาะสม และประหยัด ค่าใช้จ่ายให้มากที่สุด เพราะการมีเบอร์โทรศัพท์ประจำตัว เป็นสิ่งจำเป็น ทุกคนต้องมี แต่ปัญหาก็คือ มีค่าใช้จ่ายตามมาด้วยนั่นเอง จึงจำเป็นจะ ต้องศึกษาหาความรู้ในเรื่องนี้ อีกทั้งผู้คนไม่น้อย โดยเฉพาะคนที่ต้องทำมาหากิน จำเป็นจะต้องมีหมายเลขโทรศัพท์มากกว่า 1 เบอร์ อย่างผู้ เขียนเมื่อก่อนจะมีครบทุกค่าย และเป็นแบบรายเดือนเสียด้วย หมดเงิน ไปเยอะ เพราะควบคุมยาก ที่ต้องมีทุกค่าย ก็เพื่อไว้ทดสอบบางอย่าง

 

ปัจจุบันก็มีอยู่แค่ 3 หมายเลขเท่านั้น เป็นเบอร์ไว้ต่อเน็ตแบบรายปี เล่นเน็ตอย่างเดียว 1 เบอร์ ใช้เป็นรายปี ครบปีทิ้ง ซื้อใหม่ เป็นเบอร์หลัก ผูกกับบัญชีธนาคารอีเมล์ มือถือ เฟสบุ๊ค ไลน์ อีกหนึ่งเบอร์ และอีกหนึ่งเบอร์เอาไว้ทดสอบแอปที่ต้องมีการสื่อสารกัน อย่างแอปไลน์ ทุกเบอร์ เป็นความลับ ไม่แจกใคร ใครขอ ก็ให้ได้ 2 ตัวเท่านั้น เผื่อเอาไปซื้อล็อตเตอรี่ 666