สร้างงานนำเสนอ สื่อการสอน

รวมบทความและหนังสืออธิบายเกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมสำหรับนำเสนอข้อมูลยอดนิยมอย่าง PowerPoint หรือ Flash ตลอดจนการสร้าง CAI หรือโปรแกรมช่วยสอนด้วย Authorware การใช้ Impress

 

การเปิดดูไฟล์ที่เคยบันทึกไว้ใน Flash MX 2004
ไฟล์งานที่เคยสร้างไว้ ถ้าต้องการเปิดดู ...
1. คลิกเมนู File>>Open
2. คลิกชื่อไฟล์ที่ต้องการ แล้วคลิกปุ่ม Open

Flash MX 8 / Flash Professional MX 8
มีส่วนที่แตกต่างจาก Flash MX 2004 ไม่มากนัก โดยจะ มีการเพิ่มเติมความสามารถเข้ามาดังนี้

เปลี่ยนตำแหน่งคำสั่งต่างๆ
ในเมนูคำสั่งบางรายการเช่น Windows จะมีการเปลี่ยนตำแหน่งคำสั่งเล็กน้อย ไม่เก็บคำสั่งไว้ เป็นกลุ่มเหมือน Flash MX 2004

เพิ่มคำสั่งจัดการกับข้อมูล
มีคำสั่งเพิ่มเข้ามาในหมวด Modify ก็คือ Combile เป็นคำสั่งไว้จัดการกับข้อมูลเช่นรูปที่วาด ด้วยเครื่องมือต่างๆ วิธีการใช้คำสั่งก็ไม่ยาก เลือกข้อมูลที่ต้องการตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป แล้วก็คลิกที่คำสั่ง เพื่อดูผลงาน

คุณสมบัติของไฟล์
ผู้ใช้สามารถพิมพ์หัวข้อเกี่ยวกับไฟล์และข้อความอธิบายหัวข้อนั้นๆ ได้

เพิ่มความสามารถในการจัดการกับข้อมูลประเภทวีดีโอ
เป็นความสามารถที่ช่วยให้การนำข้อมูลประเภทภาพเคลื่อนไหว มาใช้ในโปรแกรมนี้ ทำได้ สะดวกมากยิ่งขึ้น แต่จะต้องติดตั้งโปรแกรม DirecShow 9.0 หรือ QuickTime 6.5ขึ้นไป จึงจะใช้ คุณสมบัตินี้ได้

สลับตำแหน่งเครื่องมือใน Tools
นอกจากสลับตำแหน่งเครื่องมือประเภทเดียวกันให้อยู่ไกล้กันแล้ว ก็ยังเพิ่มเติมเครื่องมือเข้า มาอีก ก็คือเครื่องมือวาดภาพแบบหลายเหลี่ยมและดาว (PolyStar Tool)

 

ความสามารถในการสร้างผลงานที่หลากหลายและซับซ้อน
เพิ่มความหลากหลายการสร้างผลงานเพื่อนำไปใช้กับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น มือถือ พีดีเอ เว็บไซท์ งานนำเสนอ ฯลฯ แต่ขนาดของไฟล์ต้นฉบับก็ใหญ่ขึ้นมากและราคาก็แพงกว่า

Flash MX 2004 ก็คง ต้องคำนวณดูว่าคุ้มหรือไม่กับการสร้างผลงานทึ่คุณทำอยู่

เสป็คเครื่องต้องแรง
การทำงานกับข้อมูลประเภทมัลติมิเดียที่มีทั้งภาพเคลื่อนไหวและเสียง เครื่องที่ใช้ก็ควรเลือก เสป็คที่แรงๆ พอสมควร ความเร็วซีพียูขึ้นต่ำที่ผู้ผลิตแนะนำก็คือ 800 MHz ขึ้นไป แต่เครื่องส่วนใหญ่ ในปัจจุบัน รองรับได้อยู่แล้ว ไม่มีปัญหา


ใช้งานเครื่องมือและจัดการกับภาพใน Flash MX 2004

 

โปรแกรมนี้จะมีเครื่องมือให้ใช้งานมากพอสมควร เป็นเครื่องมือที่คล้ายๆ กับโปรแกรมวาด ภาพประเภทเว็คเตอร์ เช่น CorelDRAW หรือ Illustrator การฝึกใช้งานให้เกิดความชำนาญ ก็จะช่วย ให้วาดภาพได้ดีขึ้น

การใช้งานเครื่องมือของ Flash MX 2004

เครื่องมือทั้งหมด อาจแยกเป็นสามกลุ่มตามลักษณะการใช้งานได้ดังนี้
1. กลุ่มเครื่องมือวาดภาพและพิมพ์ข้อความ เป็นเครื่องมือช่วยในการสร้างข้อมูลต่างๆ นั่นเอง เช่น Line, Pen Tool, Text, Oval, Rectangle, Pencil และ Brush

2. กลุ่มเครื่องมือช่วยแก้ไขข้อมูลที่ได้สร้างด้วยเครื่องมือต่างๆ วาดวงกลมเสร็จแล้วต้อง การระบายสีก็ต้องใช้เครื่องมือ Paint Bucket Tool หรือย้ายภาพที่วาดด้วย Arrow Tool เป็นต้น เครื่องมือในกลุ่มนี้มีดังนี้
Arrow, Subselection, Lasso, Free Transform, Fill Tranform, Ink Bottle,

Paint Buchet, Eyedroper และ Eraser


3. เครื่องมือช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน เช่น Hand Tool ไว้เลื่อนดูภาพกรณีภาพ ล้นจอภาพ มองไม่เห็น Zoom Tool ไว้ซูมดูภาพให้ชัดเจน

 

ตัวอย่างการใช้งานเครื่องมือต่างๆ

tool Line Tool วาดเส้นตรงใน Flash MX 2004
1. คลิกเครื่องมือ Line Tool
2. คลิกเลือกสีของเส้นขอบและสีระบายด้านใน
3. คลิกและพิมพ์ขนาดความโตหรือความหนาของเส้น ในเครื่องมือ Properties
4. คลิกเลือกรูปแบบของเส้น เช่น เส้นประ
5. วาดเส้นตรงโดยชี้ลูกศรตำแหน่งที่ต้องการ กดปุ่มซ้ายของเมาส์ค้างไว้แล้วลากออก ถ้าต้อง การให้เป็นเส้นตรงในตั้ง แนวนอนหรือเฉียง 45 องศา ก็กดปุ่ม Shift ที่แป้นพิมพ์ค้างไว้ขณะวาด
6. เส้นขนาดต่างๆ ความหนาตั้งแต่ 1-5
7. การวาดให้ต่อเนื่องกันเช่น รูปสามเหลี่ยม ชี้จุดที่ 1 กดปุ่มซ้ายค้างไว้ แล้วลากเมาส์ไปจุด ที่สอง ปล่อยปุ่มซ้ายของเมาส์ ชี้จุดที่ 2 กดปุ่มซ้ายค้างไว้แล้วลากไปจุดที่ 3แล้วปล่อยเมาส์ ชี้จุดที่ 3 กดปุ่มซ้ายของเมาส์ค้างไว้แล้วลากไปวางซ้อนทับจุดที่ 1