สร้างงานนำเสนอ สื่อการสอน

รวมบทความและหนังสืออธิบายเกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมสำหรับนำเสนอข้อมูลยอดนิยมอย่าง PowerPoint หรือ Flash ตลอดจนการสร้าง CAI หรือโปรแกรมช่วยสอนด้วย Authorware การใช้ Impress

 


เป็นรูปแบบการเคลื่อนไหวที่สามารถกำหนดทิศทางได้ เช่น เคลื่อนที่ในแนวโค้ง หรือตามแนว เส้นที่เราวาดขึ้นมาได้
1. สร้างงานใหม่มี 2 เลเยอร์ Layer 1 เป็นพื้นหลัง Layer 2 เป็นลูกบอล
2. คลิกเฟรม 1 ของ Layer 1 แล้ววาดวงกลม
3. แทรกเฟรมที่เฟรม 10 โดยชี้ลูกศร กดปุ่มขวาของเมาส์ แล้วคลิก Insert Frame
4. คลิกเฟรมที่ 1 ของ Layer 2 วาดลูกบอลวงกลมไว้ที่ตำแหน่งดังภาพ
5. ใช้เครื่องมือ Arrow เลือกวงกลมที่วาด แล้วแปลงเป็น Symbol ด้วยคำสั่ง Modify>> Convert to Symbol เลือกชนิดเป็นซิมโบลแบบ Graphic

6. สร้างคีย์เฟรมที่เฟรม 10 โดยชี้ลูกศรที่เฟรม 10 กดปุ่มขวาของเมาส์ แล้วคลิกเลือกคำสั่ง Insert Keyframe
7. สร้างภาพเคลื่อนไหว โดยชี้ลูกศรที่เฟรมใดๆ ระหว่าง 2 - 9 กดปุ่มขวาของเมาส์ แล้วคลิก คำสั่ง Create Motion Tween
8. คลิกที่ Layer 2 ซึ่งเป็นเลเยอร์ที่มีลูกบอล
9. คลิกปุ่ม Motion Guide
10. จะปรากฏเลเยอร์ Guide: Layer 2 อยู่บน Layer 2
11. คลิกที่เฟรมแรกของเลเยอร์ Guide:Layer 2 แล้วใช้เครื่องมือดินสอวาดเส้นเป็นแนวโค้งดัง ภาพ โดยให้จุดเริ่มต้นอยู่ที่กลางลูกบอล

12. คลิกเฟรม 1 ของ Layer 2 แล้วย้ายตำแหน่งให้ลูกบอลอยู่ที่จุดปลายของเส้นดังภาพ
13. คลิกเฟรม 10 ของ Layer 2 แล้วย้ายตำแหน่งลูกบอลไปที่จุดปลายอีกด้านดังภาพ
14. ทดสอบการทำงานโดยกดปุ่ม Ctrl + Enter ก็จะพบว่า ลูกบอลจะวิ่งรอบวงกลม
15. การวาดด้วยดินสอ เส้นจะคดโค้งไม่สวย ก็วาดด้วยเครื่องมือวงกลม วาดวงกลมแบบโปร่ง ใส ไม่ระบายสีด้านใน แล้วใช้เครื่องมือยางลบ ลบเส้นขอบวงกลม ไม่ให้เชื่อมต่อกันดังภาพ จากนั้นจึง ย้ายลูกบอลไปไว้ที่ปลายเส้นทั้งสอง


เป็นรูปแบบการสร้างภาพเคลื่อนไหวโดยแปลงภาพจากรูปแบบหนึ่งไปเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง เช่น แปลงจากภาพวงกลมเป็นภาพสี่เหลี่ยม
Shape Tween แบบที่ 1
1. สร้างงานใหม่ กำหนดค่าให้เรียบร้อย คลิกเฟรมที่ 1 ของ Layer 1
2. วาดภาพวงกลม ไว้ที่เสตจดังภาพ
3. สร้างคีย์เฟรมที่เฟรม 30 โดยชี้ลูกศรที่เฟรม 30 กดปุ่มขวาของเมาส์เรียกคำสั่งลัด
4. คลิกคำสั่ง Insert Keyframe
5. คลิกเฟรม 30 แล้ววาดภาพสี่เหลี่ยมทับลงไปบนภาพวงกลม

6. ชี้ลูกศรที่เฟรมใดๆ ระหว่างเฟรม 2 - 29 แล้วคลิกหนึ่งครั้ง
7. ในเครื่องมือ Properties ด้านล่าง ให้คลิกเลือก Tween = Shape
8. กำหนดค่าต่างๆ ตามต้องการ
ฺBlend วิธีการผสมทั้ง 2 รูปเข้าด้วยกัน
- Distributive สำหรับผสมกันระหว่างภาพที่มีส่วนโค้ง ส่วนเว้า
- Angular สำหรับผสมกันระหว่างภาพที่มีเหลี่ยมมุม
Ease ความเร็วในการผสมกันระหว่าง 2 ภาพ
9. ทดสอบผลงานที่ได้โดยกด Ctrl + Enter ก็จะพบว่า วงกลมจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสี่เหลี่ยม จนกระทั่งเป็นภาพสี่เหลี่ยม 100% เสร็จแล้วก็บันทึกงานเก็บไว้
10. อาจดัดแปลงให้เป็นแบบอื่นๆ ได้อีกหลายแบบเช่น ในเฟรม 1 ลดขนาดวงกลมให้เล็กที่ สุดเท่าที่จะทำได้ ก็จะทำให้ภาพคล้ายๆ กับค่อยๆ โผล่ขึ้นมา และขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ

11. แทรกคีย์เฟรมที่เฟรม 31 โดยชี้ลูกศรที่เฟรม 30 กดปุ่มขวาของเมาส์เรียกคำสั่งลัด แล้ว คลิกคำสั่ง Insert Keyframe
12. แทรกคีย์เฟรมที่เฟรม 60 ด้วยวิธีการเดียวกันกับข้อที่ 11
13. คลิกเฟรมที่ 60 แล้วลบภาพสี่เหลี่ยมออกไป จากนั้นก็วาดวงกลมให้เล็กที่สุดไว้ตรงกลาง ดังภาพ
14. สร้าง Shape Tween เหมือนส่วนแรก โดยคลิกที่เฟรมใดๆ ระหว่างเฟรม 32-60
15. ในเครื่องมือ Properties ด้านล่าง ให้คลิกเลือกค่า Tween = Shape และกำหนดค่าอื่นๆ ตามต้องการ
16. กดปุ่ม Ctrl + Enter ดูผลงานอีกครั้ง จะพบว่า ภาพจะค่อยๆ โผล่ขึ้นมาแล้วก็ยุบลงไป เป็นภาพที่ดูแปลกตาไปอีกแบบ นอกจากนี้ก็อาจเปลี่ยนสีของวงกลมและสี่เหลี่ยมให้เป็นคนละสี ก็จะ ได้ภาพที่เปลี่ยนสีได้อีกด้วย



1. มาดูอีกหนึ่งตัวอย่าง คราวนี้จะใช้ข้อความแทนภาพ เริ่มสร้างงานใหม่ กำหนดขนาดงาน ไว้ที่ 320 x 140 pizel ก็พอ
2. คลิกเฟรมที่ 1 แล้วพิมพ์คำว่า FLASH ใช้ตัวหนังสือ Time New Roman ขนาด 12 ตัว หนา เลือกสีตามต้องการ
3. สร้างคีย์เฟรมที่เฟรม 30 โดยชี้ลูกศรที่เฟรม 30 กดปุ่มขวาของเมาส์เรียกคำสั่งลัด แล้ว คลิก Insert Keyframe
4. คลิกที่เฟรม 30 ที่ได้สร้างคีย์เฟรมไว้ แล้วเพิ่มขนาดคำว่า FLASH ให้มีขนาด 86 pt ตัว ใหญ่กว่าเฟรมที่ 1 เพราะเราต้องการให้คำว่า FLASH ค่อยๆ ใหญ่ขึ้นๆๆ จากขนาด 12 เป็น 86 pt
5. คลิกเฟรม 1 แล้วคลิกเมนู Modify>>Break Apart 2 ครั้ง เพื่อแยกข้อความออกจากกัน
6. คลิกที่เฟรม 30 แล้วก็ Break Apart 2 ครั้งเช่นกัน
7. คลิกที่เฟรมใดๆ ระหว่าง เฟรม 2 - 29 แล้วคลิกเลือก Tween = Shape ใน Properties ด้านล่าง
8. ทดสอบผลงานโดยกดปุ่ม Ctrl + Enter

แสดงภาพแบบสไลด์โชว์ด้วย Flash MX 2004
เป็นการแสดงไปทีละภาพตามเวลาที่ได้กำหนดไว้
สไลด์โชวแบบที่ 1
1. เริ่มต้นสร้างงานใหม่ กำหนดค่า Modify>>Document ให้ค่า Frame rate เท่ากับหรือน้อย กว่า 1 เช่น 0.5
2. แสดงไม้บรรทัดให้ปรากฏบนจอ โดยคลิก View>>Rulers
3. นำเส้นไกด์ไลน์จากไม้บรรทัดมาวางบนเสตจ โดยชี้ลูกศรที่ไม้บรรทัด กดปุ่มซ้ายของเมาส์ ค้างไว้ แล้วลากเมาส์ออกมา

4. ภาพที่จะนำเข้ามานั้นควรมีขนาดเท่ากัน และไม่ใหญ่เกินขนาดของเสตจ จากตัวอย่างนี้ ผู้เขียนได้กำหนดขนาดของเสตจไว้ที่ 320 x 240 Pixels เพราะฉะนั้นไฟล์ภาพต้องเล็กกว่านี้
5. ให้เข้าโปรแกรม Photoshop แล้วเปิดไฟล์ภาพที่ต้องการ
6. คลิกเมนู Image>>Image Size เพื่อดูขนาดไฟล์ภาพ
7. จากตัวอย่างภาพมีขนาดเพียง 288 x 209 Pixels เท่านั้น ก็จัดการลดขนาดไฟล์ภาพที่จะ นำมาสร้างสไลด์ให้มีขนาดเท่ากันทั้งหมดทุกไฟล์ จะดูดีกว่า ถ้าไฟล์ใหญ่เกิน320 x 240 Pixels ในช่อง Width ก็พิมพ์ตัวเลขใหม่ลงไป เป็น 320 แล้วคลิกปุ่ม OK
8. เสร็จแล้วก็บันทึกงานเก็บไว้ โดยคำสั่ง File>>Save

9. ในโปรแกรม Flash ก็นำภาพเข้ามาด้วยคำสั่ง File>>Import>>Import to Stage..
10. ไฟล์ภาพนั้นก็แน่นอนว่าการตั้งชื่อย่อมจะตั้งแบบเรียงลำดับ เช่น Image01.jpg, 02, 03 เรียงกันไป เมื่อนำภาพเข้ามาก็จะปรากฏกรอบข้อความถามว่าต้องการนำภาพเข้ามาทั้งหมดหรือไม่ ใน ที่นี้ ให้คลิก No ไม่ต้องเพราะเราต้องการจัดภาพไปทีละภาพด้วยตนเอง ก็คลิกเลือก No
11. ถ้าเคยนำภาพดังกล่าวเข้ามาในไฟล์ครั้งหนึ่งแล้วก็จะปรากฏกรอบข้อความแจ้งว่า ไฟล์ดัง กล่าวมีอยู่ในไลบรารีแล้วจะนำภาพนั้นเข้ามาแทนที่ไฟล์ภาพเก่าในไลบรารีหรือไม่ ก็คลิกเลือก Replace แล้วคลิกปุ่ม OK
12. คราวนี้ก็ย้ายตำแหน่งภาพจัดให้ติดกับเส้นไกด์ไลน์ที่นำมาวางเป็นแนวไว้

13. แทรกคีย์เฟรมที่เฟรม 2 ด้วยคำสั่ง Insert Keyframe
14. นำภาพใหม่เข้ามาวาง
15. แทรกคีย์เฟรมในเฟรมอื่นๆ ที่ต้องการ จากตัวอย่างมีแค่ 5 เฟรมเท่านั้น
16. การนำภาพเข้ามา ในข้อที่ 10 อาจคลิกเลือก Yes ก็ได้ โปรแกรมจะนำภาพเข้ามาและก็ แยกไว้คนละเฟรม ตั้งแต่เฟรม 1 - 5 แล้วก็ค่อยจัดตำแหน่งภาพภายหลังก็ได้วิธีใดสะดวกก็เลือกเอง
17. ไฟล์ภาพทั้ง 5 ไฟล์ที่นำมาสร้างสไลด์ ก็คือไฟล์ image1.jpg - image5.jpg
18. เสร็จแล้วก็ทดสอบผลงานโดยกด Ctrl + Enter

19. อาจจะใช้การวางภาพในเฟรมอีกแบบหนึ่ง ในกรณีที่ไม่สามารถกำหนด Frame rate ในข้อ ที่ 1 ให้เหลือ 1 หรือน้อยกว่านั้นได้ เพราะไม่เช่นนั้นก็จะกระทบกับการแสดงภาพอื่นๆ ก็ใช้วิธีวางภาพ ในเฟรมต่างๆ ให้ห่างกันพอสมควร
20. แทรกคีย์เฟรมที่ตำแหน่งต่างๆ เช่น 1, 20, 40, 60, 80 แล้วจึงวางแต่ละภาพในเฟรมที่ ได้แทรกคีย์เฟรมไว้ วิธีนี้ก็จะทำให้การแสดงภาพแต่ละภาพบนหน้าจอนานขึ้น
21. การดูเวลาว่าภาพนั้นๆ ได้ถูกกำหนดให้แสดงหรือปรากฏอยู่บนจอให้เราเห็นนานกี่วินาที ให้คลิกที่คีย์เฟรมก่อนเช่น คีย์เฟรมที่ 7 ที่วางภาพที่ 2 จากนั้นก็คลิกที่เฟรมสุดท้ายที่ได้แทรกคำสั่ง Insert Frame ไว้ก็คือ เฟรมที่ 12 เช่น เมื่อคลิกคีย์เฟรมที่ 7 เวลาขณะนั้นอยู่ที่ 1.0s ( 1 วินาที) เมื่อ คลิกที่เฟรม 12 เวลาอยู่ที่ 2.0s ก็แสดงว่าภาพที่ 2 นี้จะปรากฏอยู่บนจอนาน 1 วินาที ถ้าต้องการให้ อยู่นานๆ ก็ไปแทรกเฟรมด้วยคำสั่ง Insert Frame ไว้ไกลๆ กว่านี้ เช่น ไปแทรกไว้ที่เฟรม 30 แล้วก็ ดูว่าใช้เวลาไปกี่วินาที

 


สไลด์โชว์แบบที่ 2
สไลด์โชว์แบบแรกดูธรรมดาไป ไม่มีลูกเล่นอะไร แบบที่ 2 นี้จะให้ภาพค่อยๆ โผล่ออกมาแล้ว ก็จางหายไป ภาพต่างๆ ก็จะใช้ชุดเดียวกับในสไลด์โชว์แบบที่ 1
1. เริ่มต้นสร้างงานใหม่ขนาด 320 x 240 Pixesl เหมือนเดิม แต่ Frame rate กำหนดไว้ที่ 12 หรือน้อยกว่า ก็เปลี่ยนภายหลังได้ ถ้ารู้สึกว่าการแสดงภาพเร็วหรือช้าเกินไป
2. สร้างเลเยอร์ไว้ 2 เลเยอร์ดังตัวอย่าง
3. คลิกเฟรม 1 ของ Layer 1 นำภาพเข้ามาวางบนเสตจด้วยคำสั่ง File>>Import>>Import to Stage เหมือนเดิม โดยนำเข้ามาเพียงภาพเดียว แล้วจัดตำแหน่งไว้บนเสตจ ดังตัวอย่าง
4. เลือกภาพที่ได้นำเข้ามา แล้วแปลงเป็น Symbol ด้วยคำสั่ง Modify>>Convert to Symbol ตั้งชื่อภาพและคลิกเลือกชนิดของ Symbol เป็นแบบ Graphic

5. คลิกเฟรม 1 Layer 1 คลิกเลือกภาพ แล้วคลิกเลือกค่า Color = Alpha เปอร์เซ็นต์ = 0% ให้ภาพจางหายไปเลย
6. แทรกคีย์เฟรมที่เฟรม 10 และ 20
7. คลิกเฟรม 10 คลิกที่ภาพ แล้วกำหนดค่า Alpha เป็น 100% ส่วนเฟรม 20 กำหนด 0% เหมือนเฟรมที่ 1
8. สร้าง Motion Tween ระหว่างเฟรม 1-10 และเฟรม 11-20 โดยชี้ลูกศรที่เฟรมใดๆ ที่อยู่ ระหว่างเฟรม 2-9 กดปุ่มขวาของเมาส์แล้วคลิกคำสั่ง Create Motion Tween
9. คลิกที่เฟรม 1 แล้วกด Enter เพื่อดูผลงาน ก็จะพบว่า ภาพจะค่อยๆ ปรากฏเป็นภาพที่ ชัดเจนที่สุดแล้วก็ค่อยๆ จางหายไป ในการใช้งานจริงควรกำหนดให้จำนวนเฟรมห่างกันมากกว่านี้

10. คลิกเฟรมที่ 21 ของ Layer 2 แล้วก็สร้างงานแบบเดียวกันตั้งแต่ข้อที่ 3 - ข้อที่ 9 โดย แทรกคีย์เฟรมก่อนด้วยคำสั่ง Insert Keyframe ในเฟรมที่ 21 นำภาพใหม่เข้ามาแปลงเป็น Symbol แล้ว กำหนด Alpha =0% จากนั้นจึงสร้างคีย์เฟรมให้กับเฟรมที่ 30 และ 40 ท้ายที่สุดก็สร้าง Motion Tween
11. ถ้ามีภาพจำนวนมาก ก็ให้สร้างเลเยอร์เพิ่ม เช่น Layer 1 - Layer 5
12. แต่ละเลเยอร์ก็สร้างงานคล้ายๆ กันเพื่อแสดงภาพไล่ไปทีละภาพ
13. ทดสอบผลงานโดยการกดปุ่ม Ctrl + Enter แล้วก็บันทึกงานเก็บไว้

14. แค่แสดงสไลด์เปลี่ยนภาพแค่นี้ ก็คงไม่น่าสนใจเท่าไร อาจเพิ่มลูกเล่นแบบต่างๆ เช่น สร้างอีกเลเยอร์ไว้ด้านบน เป็นจักรยานยนตร์วิ่งผ่านจากขวามือไปซ้ายมือ
15. ใครที่เก่งทางแต่งภาพด้วย Photoshop ก็หาภาพมาแต่ง ได้ตามต้องการ
16. เสร็จแล้วก็บันทึกเป็นไฟล์ภาพแบบ Bmp เพื่อนำมาใช้งานใน Flash โดยคลิก File>> Save As...
17. ตั้งชื่อไฟล์ คลิกเลือกชนิดของไฟล์เป็นแบบ Bmp แล้ว คลิกปุ่ม Save

 

18. กลับไปที่โปรแกรม Flash ให้สร้าง Layer เพิ่มอีกหนึ่งเลเยอร์ เช่น Layer 6
19. คลิกที่เฟรม 1 ของ Layer 6 แล้ว Import ภาพรถจักรยานยนตร์เข้ามาบนเสตจ เมื่อนำภาพ เข้ามา ก็จะมีส่วนที่เป็นพื้นขาวบังภาพสไลด์
20. ให้ลากตามรอยด้วยคำสั่ง Modify>>Bitmap>>Trace Bitmap...
21. เสร็จแล้วก็ลบภาพที่เป็นพื้นขาวออกไป ไม่เช่นนั้นเวลารถวิ่งก็จะเห็นพื้นขาวด้วย ก็จะได้ ภาพออกมาดังตัวอย่าง
22. ลบพื้นขาวเสร็จแล้วก็ เลือกภาพรถโดยใช้เครื่องมือ Arrow ลากเป็นกรอบรอบ แล้วแปลง เป็น Symbol

23. คลิกเฟรมที่ 1 แล้วนำภาพรถไปวางนอกเสตจด้านขวามือดังภาพ
24. สร้างคีย์เฟรมที่เฟรมสุดท้ายจากตัวอย่างก็คือ เฟรมที่ 100
25. คลิกเฟรมที่ 100 อีกครั้ง แล้วนำรถไปไว้นอกเสตจที่ด้านซ้ายมือ
26. สร้าง Motion Tween เพื่อให้รถวิ่งจากขวาไปซ้ายมือ
27. ทดสอบผลงานโดยกดปุ่ม Ctrl + Enter
28. ก็จะพบว่า ขณะแสดงภาพ ก็จะมีรถวิ่งผ่าน


ลักษณะของมาสก์เลเยอร์จะเป็นการใช้อีกภาพมาบังอีกภาพ ขณะที่มีการเคลื่อนไหว
มาสก์เลเยอร์แบบข้อความ
1. สร้างงานใหม่ คลิก Modify>>Document...
2. กำหนดขนาดของงานตามตัวอย่าง 300 x 50 Pixels
3. สร้างเลเยอร์ไว้ 2 เลเยอร์ดังตัวอย่าง
4. ใน Layer 1 คลิกเฟรม 1 วาดวงกลมไว้ที่ตำแหน่งดังรูป แล้วแปลงเป็น Symbol ให้เรียบร้อย
5. Layer 2 คลิกเฟรมที่ 1 แล้วพิมพ์คำว่า Macromedia Flash ด้วยตัวหนังสือ Time New Roman ขนาด 30 pt
6. ใน Layer 1 ให้แทรกคีย์เฟรมที่เฟรมที่ 10 แล้วย้ายวงกลมไปไว้ด้านขวานอกเสตจ
7. สร้าง Motion Tween เพื่อให้วงกลมวิ่งจากซ้ายมือไปขวามือ
8. Layer 2 เฟรมที่ 30 ให้ปิดเฟรมด้วยคำสั่ง Insert Frame ชี้ลูกศรที่เฟรม 30 กดปุ่มขวา ของเมาส์ แล้วคลิกคำสั่ง Insert Frame
9. เสร็จแล้วกดปุ่ม Enter เพื่อดูผลงาน จะพบว่า วงกลมจะวิ่งใต้ข้อความจากซ้ายไปขวา

10. ชี้ลูกศรที่ไอคอนหน้า Layer 2 กดปุ่มขวาของเมาส์ เรียกคำสั่งลัด
11. คลิกคำสั่ง Mask
12. ทดสอบการทำงาน โดยกด Ctrl + Enter อีกครั้ง จะพบว่า ผลที่ได้จะต่างจากเดิม ดู เหมือนมีลูกบอลวิ่งจากซ้ายไปขวาและปรากฏข้อความที่ลูกบอลที่หมุน
13. การแก้ไขก็ต้องยกเลิก Mask ก่อน โดยชี้ที่ Layer 2 กดปุ่มขวาของเมาส์เรียกคำสั่งลัด แล้วคลิกเอาถูกออกหน้าคำสั่ง Mask
14. คลิกที่ไอคอนกุญแจ เอาออก ด้วยไม่เช่นนั้นจะแก้ไขข้อมูลในเฟรมต่างๆ ไม่ได้ เมื่อแก้ ไขเสร็จแล้วจะดูผลงานก็ต้องสร้าง Mask อีกครั้ง

 

15. อีกเทคนิคหนึ่งที่ดูน่าสนใจ ไม่ต้องใช้คำสั่ง Mask เพียงแค่เปลี่ยนพื้นหลังของเสตจเป็น สีดำ ด้วยคำสั่ง Modify>>Document
16. คลิกเลือกพื้นดำ
17. ไม่ต้องทำ Mask ที่ Layer 2
18. เมื่อให้วงกลมที่วาดแบบไล่น้ำหนักเคลื่อนที่ผ่านข้อความ ก็จะดูคล้ายมีแสงส่องที่ด้านหลัง ข้อความ


มาสก์เลเยอร์แบบรูปภาพ
1. เริ่มต้นสร้างงานใหม่ ขนาด 320 x 240 pixel
2. สร้างเลเยอร์ 3 เลเยอร์ ดังรูป
3. Layer 1 คลิกเฟรม 1 แล้วนำภาพม้าน้ำ (ภาพมืด) เข้ามาวาง ภาพนี้จะนำไปแต่งในโปรแกรม Photoshop โดยลดความสว่างของภาพลงจนเกือบมืด
4. Layer 2 คลิกเฟรม 1 แล้วนำภาพม้าน้ำ (ภาพสว่าง) เข้ามาวาง ส่วนภาพนี้ก็เพิ่มความสว่าง
5. Layer 1 และ Layer 2 ให้กำหนดขอบเขตของงานถึงเฟรม 30 เท่านั้น ก็ชี้ลูกศรที่เฟรม 30 กดปุ่มขวาของเมาส์เรียกคำสั่งลัด แล้วคลิกคำสั่ง Insert Frame

6. Layer 3 คลิกเฟรม 1 วาดวงกลมแล้วแปลงเป็น Symbol ให้เรียบร้อย
7. Layer 3 ชี้ลูกศรที่เฟรม 15 แล้วสร้างคีย์เฟรม โดยกดปุ่มขวาของเมาส์แล้วคลิกคำสั่ง Insert Keyframe เฟรมที่ 30 ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน
8. ส่วนวงกลมในเฟรมที่ 1, 15 และ 30 ก็ย้ายตำแหน่งดังภาพ แล้วก็สร้างภาพเคลื่อนไหวแบบ Motion Tween
9. ทดสอบการทำงาน โดยกดปุ่ม Enter จะพบว่าวงกลมจะกระเด้งอยู่ด้านบนภาพ
10. ชี้ลูกศรที่ Layer 3 กดปุ่มขวาของเมาส์ แล้วคลิกคำสั่ง Mask
11. ดูผลงานอีกครั้ง โดยกด Ctrl + Enter ก็จะได้ผลงานเหมือนการส่องแสงวงกลมไปที่ ภาพ


มาสก์เลเยอร์แสดงภาพสี่เหลี่ยม
1. กำหนดขนาดของงานไว้ที่ 300 x 50 Pixels
2. สร้าง 2 เลเยอร์
3. Layer 1 คลิกเฟรมที่ 1 แล้ววาดสี่เหลี่ยมและวาดเส้นตามตัวอย่าง
4. Layer 2 คลิกเฟรมที่ 1 แล้ววาดสี่เหลี่ยมทับสี่เหลี่ยมและเส้นในเฟรมที่ 1 Layer 1 แล้ว แปลงเป็น Symbol ให้เรียบร้อย
5. Layer 1 ให้แทรกเฟรมที่เฟรมที่ 50 โดยชี้ลูกศรเฟรมที่ 50 กดปุ่มขวาของเมาส์ แล้วคลิก คำสั่ง Insert Frame เป็นการปิดท้ายขอบเขตงาน
6. Layer 2 ให้สร้างคีย์เฟรมที่เฟรม 25 โดยชี้ลูกศรที่เฟรม 25 กดปุ่มขวาของเมาส์ แล้วคลิก คำสั่ง Insert Keyframe
7. แทรกคีย์เฟรมที่เฟรม 26 และ 50 ด้วยตามตัวอย่าง
8. Layer 2 คลิกเฟรม 1 แล้วกดปุ่มลูกศรที่แป้นพิมพ์ย้ายสี่เหลี่ยมไปไว้ด้านซ้ายมือดังรูป วางไว้นอกเสตจเลย
9. Layer 2 คลิกเฟรม 26 แล้วกดปุ่มลูกศรย้ายสี่เหลี่ยมไปทางขวามือ ไว้นอกเสตจเช่นกัน
10. สร้างภาพเครื่องไหว Motion Tween ให้กับเฟรมที่ 1-25 และเฟรมที่ 26-50
11. ชี้ลูกศรที่ Layer 2 กดปุ่มขวาของเมาส์ แล้วคลิกคำสั่ง Mask
12. ใน Layer 1 เฟรมที่ 1 อาจพิมพ์ข้อความแทนภาพสี่เหลี่ยมก็ได้ ก็จะได้ผลงานที่ดูดีไปอีก แบบ เป็นข้อความที่ค่อยๆ ปรากฏในลักษณะการเลื่อนภาพคล้ายกัน

 

Sponsored Ads