บทความนี้จะมาแนะนำวิธีจดจำ ข้อมูลส่วนตัวให้ฝังในสมอง ยากจะลบลืม ซึ่งการใช้ชีวิตในยุคไอทีอย่างทุกวันนี้ มีข้อมูลหลายอย่างมีความสำคัญกับชีวิต ที่จะต้องจัดการบริการให้ดี เพื่อให้ชีวิตมีความสะดวก หรือ เพื่อรักษา ข้อมูลส่วนตัวให้มีความปลอดภัย เช่น ข้อมูลบัญชีธนาคาร มือถือ อีเมล์ รหัสผ่าน รหัส ATM ฯลฯ

 

การจะใช้ชีวิตในทุกวันนี้อย่างมีความสุข เราจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการกับข้อมูลของเรา และต้องจำให้ได้ ก็จะช่วยให้ชีวิตมีความสะดวกเมื่อจะต้องจัดการกับข้อมูลเหล่านั้น และ ข้อมูลส่วนตัวก็มีความปลอดภัย

 

ตัวอย่างความสะดวก เมื่อเราสามารถจดจำข้อมูลส่วนตัวได้เป็นอย่างดี เช่น
1. หากจำข้อมูลหมายเลขบัญชีธนาคารของตัวเองได้ ก็จะง่ายเมื่อต้องการให้ใครโอนเงินเข้าบัญชี ซึ่งอาจจะเป็นการซื้อขายสินค้า
2. หากจำข้อมูลเกี่ยวกับมือถือที่ใช้ อีเมล์ รหัสผ่าน และหมายเลขโทรศัพท์ กรณีเปลี่ยนเครื่องใหม่ หรือ เครื่องหมาย การตามหาเครื่อง หรือ ตั้งค่ามือถือเครื่องใหม่จะเป็นเรื่องง่าย ทันที นำข้อมูลที่จดจำไว้ในสมองของเราไปใช้ได้เลย

 

ตัวอย่างข้อมูลส่วนตัวแบบต่างๆ

ข้อมูลส่วนตัวของเรา ปัจจุบันมีหลายอย่าง ที่เราจะต้องบริการจัดการ และ จดจำไว้ให้ดี ตัวอย่างเช่น

1. ข้อมูลบัตรประจำตัวประชาชน

ข้อมูลแรกก็คือข้อมูลบัตรประจำตัวประชาชนของเรา สิ่งที่จะต้องรู้และจำให้ได้ ก็คือ
1. หมายเลขบัตรประชาชน ด้านหน้า มี 13 หลัก
2. หมายเลขบัตรประชาชนด้านหลัง มี 12 หลัก ขึ้นต้นด้วย ME ตัวเลข เช่น ME0 (ศูนย์ ไม่ใช่ตัวโอ O) - และเลขที่เหลืออีก 9ตัว
3. ชื่อนามสกุลเป็นภาษาอังกฤษ ต้องจำได้ว่าสะกดอย่างไร เขียนอย่างไร ไม่มีผิดพลาด กรณีจะต้องลงทะเบียน หรือ สมัครบริการบางอย่าง จะต้องป้อนข้อมูลเหล่านี้ลงไปด้วย มีทั้งชื่อภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ


วิธีจำให้ฝังในสมองไม่มีลืม

วิธีง่ายๆ ใช้การเขียน ข้อมูลทั้งหมด ใส่กระดาษ แล้วฉีกทิ้งทุกวัน หรือ บางวัน หรือ ทำบ่อยๆ ก็จะจำได้เอง ทำไปเรื่อยๆ อย่าหยุดเขียน

 

2. ข้อมูลมือถือสมาร์ทโฟนของเรา

ข้อมูลมือถือไม่ว่าจะเป็น iPhone หรือแอนดรอยด์ ก็จะมีข้อมูลที่จะต้องรู้ เช่น
1. ข้อมูลยี่ห้อ รุ่น ของเครื่อง ความจำเป็นจะต้องรู้ เพื่อความสะดวกในการซื้ออุปกรณ์เสริม หรือ อะไหล่ หรือกรณีจะขายต่อ ก็ง่ายในการสืบค้นหาราคา เป็นต้น
2. ข้อมูลอีเมล์ หรือ เมล และ รหัสผ่าน ประจำเครื่อง กรณีของรหัสผ่านนั้น จะต้องผสมทั้ง ตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์พิเศษ รวม 8 ตัวขึ้นไป เพื่อป้องกันไม่ให้ใครแกะได้ เช่น M$3rT8gwfa
3. ข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ที่ผูกติดกับอีเมล์นั้นๆ
ข้อมูลเหล่านี้มีความสำคัญ กรณีติดตั้งแอปอื่น ก็นำข้อมูลอีเมล์ รหัสผ่าน และเบอร์โทรศัพท์ไปใช้ลงทะเบียนในแอปนั้นๆ ได้เลย เช่น ติดตั้งแอป Lazada แอป Shopee ก็นำข้อมูลไปตั้งค่าได้เลย กรณีลบแอป ติดตั้งแอปใหม่ ซื้อมือถือเครื่อง ใหม่ ก็นำข้อมูลอีเมล์ รหัสผ่าน เบอร์โทรศัพท์ไปตั้งค่าในเครื่องใหม่ ก็จะใช้งานได้เหมือนเดิม เข้าไปจัดการกับแอปได้ทันทีอย่างต่อเนื่อง


วิธีจำให้ฝังในสมองไม่มีลืม

วิธีง่ายๆ ใช้การเขียน อีเมล์ และ รหัสผ่าน ใส่กระดาษ แล้วฉีกทิ้ง ทำบ่อยๆ ทุกวัน เว้นวัน หรือทำไปจนกว่าจะจำได้

 

3. ข้อมูลเกี่ยวกับธนาคาร

ในการเปิดบัญชีธนาคาร หรือ ใช้แอปธนาคาร ก็จะมีข้อมูลต่างๆ ที่ควรรู้ดังนี้
1. ข้อมูลธนาคาร ชื่อ ธนาคาร สาขา และหมายเลขบัญชีธนาคาร
2. ข้อมูลอีเมล์ รหัสผ่าน เข้าระบบธนาคาร ซึ่งในการเปิดบัญชีให้สมัครธนาคารออนไลน์ หรือ นำข้อมูลอีเมล์ รหัสผ่าน ในมือถือของเรา ไปลงทะเบียนเอาได้เลย ให้เป็นข้อมูลชุดเดียวกัน เมื่อมีข้อมูลเหล่านี้ การจัดการกับบัญชีธนาคารของเราจะเป็นเรื่องง่าย ยืมมือถือ หรือ คอมพิวเตอร์ของคนอื่นมาใช้เข้าระบบ เพื่อไปโอนเงิน ดูยอดเงิน ก็สามารถทำได้ การตั้งค่าอีเมล์กับบัญชีธนาคาร เมื่อมีการโอนเงิน ฝากเงิน มีคนแอปเข้าบัญชีของเรา ก็จะมีอีเมล์แจ้งเตือนไปที่มือถือของเรา
3. ข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์ประจำหมายเลขบัญชีธนาคาร ต้องมีเพื่อเอาไว้แจ้งเตือนเงิน เข้าออก ให้รู้ตัว และยืนยันตัวตน กรณีมีคนแอปเข้าระบบจะโอนเงิน หรือ การติดตั้งแอป เป็นต้น


วิธีจำให้ฝังในสมองไม่มีลืม

วิธีง่ายๆ ใช้การเขียน หมายเลขบัญชีธนาคาร ใส่กระดาษ แล้วฉีกทิ้ง ทำทุกวัน ทำบ่อยๆ ก็จะจำได้เอง ส่วนข้อมูลอีเมล์ และ หรัสผ่าน

 

4. หมายเลขโทรศัพท์มือถือ

หมายเลขโทรศัพท์มือถือ เป็นข้อมูลสำคัญที่จำเป็นจะต้องมี เพราะทุกวันนี้ไม่ได้ใช้เพื่อการติดต่อเท่านั้น แต่เอาไว้ใช้งานด้านอื่นด้วย เช่น
1. การเปิดบัญชีธนาคาร ต้องมี หมายเลขโทรศัพท์
2. การใช้มือถือ แท็บเล็ต ต้องการมีนำหมายเลขโทรศัพท์ไปตั้งค่า
3. การติดตั้งแอปบางตัวจะต้องมีการยืนยันตัวตนผ่านหมายเลขโทรศัพท์
เป็นต้น

วิธีจัดการกับหมายเลขโทรศัพท์หลัก

หมายเลขโทรศัพท์ประจำตัวของเรานั้น เราจำเป็นต้องมี หมายเลขโทรศัพท์หลัก เป็นเลขที่จะไม่เปลี่ยน ไม่ยกเลิก เพื่อเอาไว้ใช้ติดต่อ หรือ ทำธุระกรรมต่างๆ โดยจะมีค่าใช้จ่ายรายเดือน แม้จะเป็นซิมแบบเติมเงินก็ตาม ต้องเติมเงินทุกเดือน เพื่อรักษาเบอร์ รักษาหมายเลขของเราเอาไว้ ไม่ให้โดนตัด

 

ปัจจุบันก็จะใช้การเติมเงินประมาณ 10 บาท ต่อเดือน เพื่อรักษาเบอร์เอาไว้ จะเติมผ่านตู้เติมเงินก็ได้ คิด 10 + ค่าบริการ 2 บาท หรือ เติมผ่านแอปก็ได้ อย่างแอป TrueMoney Wallet 10 บาท ไม่มีค่าบริการ ในการเติมเงินเข้าเบอร์โทรศัพท์ของตัวเอง

 

ส่วนการเติมผ่านแอปธนาคาร ไม่ควรทำ เพราะส่วนใหญ่จะบังคับให้ต้องเติมขั้นต่ำ 50 บาท สำหรับผู้ใช้ซิมเติมเงิน ปัญหาใหญ่ก็คือ บรรดา ข้อความดูดเงิน SMS คิดเงิน จะแอบมาสมัครบริการอัตโมัติและดูดเงินที่เติมไว้ จนไม่เหลือ หากไม่รู้วิธีป้องกัน เติม 10 บาท ก็เสียน้อยหน่อย เติม 50 บาท หรือมากกว่านั้นก็ไม่เหลือ


การจัดการกับหมายเลขโทรศัพท์รอง

ทุกวันนี้ควรมี SIM หรือหมายเลข 2 โทรศัพท์ 2 ประเภท ก็คือ
1. SIM หลัก หรือเบอร์หลักของเรา ที่จะไม่เปลี่ยน และ
2. SIM รอง ซึ่งอาจจะเป็นซิมเทพใช้เน็ตไม่อั้นทั้งปี หรือ โทรไม่อั้นทั้งปี ใช้แล้วทิ้ง เปลี่ยนทุกปี

ซิมอย่างหลังเอาไว้ใช้เน็ต หรือ โทรทั้งปี แบบนี้ ไม่ต้องจำหมายเลข เพราะแทบจะไม่ได้ใช้


วิธีจำให้ฝังในสมองไม่มีลืม

วิธีง่ายๆ ใช้การเขียน หมายเลขโทรศัพท์ ใส่กระดาษ แล้วฉีกทิ้งทุกวัน ทำบ่อยๆ ก็จะจำได้เอง เชื่อไหมว่า บางคนจำไม่ได้ ผู้เขียนเองก็จำเบอร์ตัวเองไม่ได้เลย เพราะแทบจะไม่ได้ใช้การโทรคุยกันสักเท่าไหรนัก

 

5. ข้อมูลส่วนตัวของคนใกล้ตัว

สำหรับใครที่มีครอบครัว มีคนใกล้ตัวที่ไม่มีความรู้ในเรื่องของข้อมูลดังที่กล่าวมา โดยเฉพาะคนสูงวัย พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ที่มีข้อมูลบัญชีธนาคาร บัตรประชาชน ข้อมูลมือถือ ฯลฯ ก็จำเป็นจะต้องช่วยจำ ด้วยการจดใส่กระดาษและเก็บไว้ในที่ปลอดภัยก็ได้ ซึ่งจะช่วยให้ชีวิตสะดวกมากขึ้น เช่น มือถือพัง เปลี่ยนเครื่องใหม่ ก็นำข้อมูลอีเมล์ รหัสผ่านมาตั้งค่าในเครื่องใหม่ได้เลย เป็นต้น


วิธีจำให้ฝังในสมองไม่มีลืม

กรณีนี้คงจะไม่ต้องจำ แต่ให้ใช้วิธีถ่ายรูปแล้วส่งไปเก็บไว้ในอีเมล์ของเราเอง หรือ พื้นที่เก็บข้อมูลส่วนตัวอย่าง Google Drive ก็ได้ ขอเพียงเราจำข้อมูลของเราได้ ก็จะสามารถเข้าไปดูข้อมูลได้ตลอดเวลา แต่อย่าถ่ายรูปแล้วเก็บไว้ในเครื่อง เพราะหากเครื่องหมาย และไม่ได้ล็อก คนอื่นก็จะรู้ข้อมูลเหล่านั้น

 

สรุป

การใช้ชีวิตในยุคไอทีอย่างนี้ หากจดจำข้อมูลส่วนตัวดังที่กล่าวมาได้ทั้งหมด การใช้ชีวิตก็จะเป็นเรื่องง่าย แม้ว่าโอกาสจะได้ใช้งานไม่บ่อย แต่ถ้าจำไม่ได้ ก็จะสร้างปัญหาให้ทุกครั้ง บางคนเปลี่ยนมือถือบ่อย ก็ต้องเสียเงินให้ร้านมือถือ หรือ รบกวนคนอื่นมาช่วยตั้งค่า เป็นต้น