คำว่า อิสระทางการเงิน ดูจะได้รับการพูดถึงกันมากเหลือเกิน จริงๆ มันคืออะไรกันแน่ ซึ่งนับแต่หนังสือเกี่ยวกับการเงิน การเล่นหุ้น การบริหารเงิน หรือทุกเรื่องที่เกี่ยวกับความร่ำรวย ได้ถูกตีพิมพ์ออกจำหน่าย โดยผู้ที่ประสบความสำเร็จด้านนี้ งานสัมมนา คอร์สต่างๆ ฯลฯ มีการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการเงิน การบริหารเงิน คำนี้ก็จะถูกหยิบยกมาใช้เสมอ ดูน่าเชื่อถือ น่าสนใจ น่าติดตาม

 

ความไม่มีอิสระภาพทางการเงิน

ก่อนอื่นเราไปทำความรู้จัก การไม่มีอิสระภาพทางการเงินกันก่อน เพราะเรื่องนี้ทุกคนเข้าใจอย่างดี เนื่องจากคนส่วนใหญ่จะไม่มีอิสระทางการเงิน จะใช้อะไร ก็คิดหนัก คิดแล้วคิดอีก ไม่มีอิสระ เพราะหากใช้เงินอย่างอิสระมากเกินไป ก็มักจะอยู่ได้ไม่ถึงต้นเดือน เรื่องสิ้นเดือนเอาไว้ทีหลังเลย

 

ในเรื่องการทำงานก็เช่นกัน บางคนอาจจะมีทางเลือกที่ดีกว่า ได้งานที่ดีกว่า แต่รวมๆ แล้วก็ยังจะต้องทำงาน ยังต้องเป็นมนุษย์เงินเดือน พนักงาน ทำงานรับจ้าง เป็นต้น ไม่ทำงานก็ไม่มีรายได้เข้ามา ไม่สามารถหยุดงานได้ อิสระภาพทางการเงินยังไม่มี

 

การมีอิสระภาพทางการเงินนั้นเป็นอย่างไร

การมีอิสระภาพทางการเงิน อธิบายได้ง่ายๆ ก็คือ มีอิสระทางการเงิน จะทำงานหรือไม่ทำงานก็จะมีเงินเข้ามาทุกเดือน มากพอสำหรับค่าใช้จ่าย เหลือเก็บ เหลือใช้ โดยที่รายรับที่เข้ามานั้นมีความมั่นคงพอสมควร ในระยะยาว โดยสิ่งสำคัญที่สุดของอิสระภาพทางการเงินจะอยู่ที่การรู้จักบริหารเงินให้เกิดรายได้ โดยที่เราไม่ต้องลงมือทำเอง เป็นหัวใจสำคัญของอิสระภาพทางการเงิน เช่น

 

นาย ก อาจจะทำงานมีเงินเดือนประจำ โดยแบ่งเงินเดือนเป็น 3 ส่วน รายจ่าย เงินออม และเงินสำหรับลงทุนในด้านต่างๆ เช่น เล่นหุ้น จนกระทั่งมีรายได้จากเงินปันผลแต่ละปี เฉลี่ยต่อเดือนแล้วสูงพอสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ก็ถือว่ามีอิสระภาพทางการเงินระดับหนึ่งแล้ว นาย ก อาจจะทำงานประจำกินเงินเดือนต่อไป หรือไม่ทำแล้ว ลาออกจากงาน ก็ได้ นี่คือตัวอย่าง อิสระภาพทางการเงิน

 

อยากจะมีอิสระภาพทางการเงินจะต้องทำอย่างไร

ถ้าอยากจะมีอิสระภาพทางการเงินก็จะต้องเรียนรู้วิธีทำงาน การใช้เงินและสิ่งสำคัญที่สุดก็คือการบริหารเงิน 3 เรื่องนี้สำคัญมาก หากทำได้ดี อิสระภาพทางการเงินก็จะอยู่ไม่ไกล หลักการสำคัญก็คือการนำเงินไปลงทุน เพื่อให้เกิดรายได้ ใช้เงินช่วยทำงาน สร้างรายได้ในรูปแบบต่างๆ เช่น ดอกเบี้ยธนาคาร เงินปันผล กำไรทางธุรกิจ เป็นต้น

 

วิธีบริการเงินหรือใช้เงินช่วยทำงานและผลตอบแทนที่จะได้รับ

การนำเงินที่มีอยู่ไปลงทุนให้เกิดดอกผลหรือบริหารเงินให้เกิดกำไรมีหลายวิธี ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องศึกษา เพราะหากรู้วิธีบริหารเงิน โอกาสที่ชีวิตจะมีอิสระภาพทางการเงินย่อมจะไปถึงเร็วกว่าคนปกติทั่วไป

 

ตัวอย่างการนำเงินเก็บ 100,000 บาท ไปลงทุนด้านต่างๆ

1. นาย A. มีเงิน 100,000 บาท นำเงินไปฝากธนาคาร ในแต่ละปีจะได้ดอกเบี้ยไม่กี่ร้อยบาทเท่านั้นเอง ประมาณ 600-700 บาท

2. นาย B. มีเงิน 100,000 บาทเหมือนกัน เอาไปซื้อหุ้น อาจจะได้ปันผลประมาณ 1,800-3,000 บาทต่อปี

3. นาย C. มีเงิน 100,000 บาทเหมือนกัน เอาไปดาวน์บ้าน หรือคอนโดแล้วปล่อยเช่า สมมุติว่าผ่อนธนาคารเดือนละ 2000 ปล่อยให้เช่าเดือนละ 2500 นั่นหมายความว่า คนเช่าทำหน้าที่ผ่อนให้เรา แถมมีกำไรอีกเดือนละ 500 บาท 1 ปี เงิน 100,000 ให้ผลตอบแทน 6,000 บาท มากกว่า ฝากธนาคารหลายเท่าตัวหรือมากกว่าเล่นหุ้นปันผลเช่นกัน

4. นาย D. มีเงิน 100,000 หากนำไปปล่อยให้กู้คิดดอกเบี้ยตามที่ธนาคารกำหนดคือ 1.25% ก็จะได้ดอกเดือนละ 1,250 บาท รวม 12 เดือนเท่ากับ 15,000 บาท

5. นาย E. มีเงิน 100,000 เอาไปปล่อยให้พวกจำนำรถแบบจอด ดอกเบี้ยร้อยละ 1 หรือ 1% ค่าจอดรถ ค่าดูแลรถเดือนละ 2000 บาท รวม 3000 บาทต่อ เดือน 12 เดือนจะทำเงินได้มากถึง 12 x 3000 = 36,000 บาท

6. นาย F. มีเงิน 100,000 เอาไปลงทุน เช่น ทำแฟรนไชน์ต่างๆ หรือตามแต่ความถนัด ถ้าสามารถทำกำไรได้วันละ 500 บาท ก็จะได้เดือนละ 15,000 บาท จากการลงทุนด้วยเงิน 100,000 บาท หรือได้ปีละ 12 x 15,000 = 180,000

7. นาย G. มีเงิน 100,000 บาท เอาไปลงทุนกับธุรกิจซื้อมาขายไป เช่น ซื้อเสื้อผ้าตลาดโบ๊เบ๊มาตัวละ 100 ได้ 1000 ตัว เอาไปขายต่อกำไรตัวละ 50 บาท ถ้าเดือนเดียวขายหมดเกลี้ยง ก็จะทำกำไรได้ 50,000 บาท ต่อเดือน หรือ 600,000 บาทต่อปี ขึ้นไป เพราะเดือนแรกกำไร 50,000 ก็เอาไปลงทุนต่อ เพิ่มทุนจาก 100,000 เป็น 150,000 ก็ยิ่งทำกำไรได้มากยิ่งขึ้น

8. นาย H. มีเงิน 100,000 บาท เอาไปลงทุนกับธุรกิจข้ามชาติ หาสินค้าไปขายให้ฝรั่งใน eBay amazon ซึ่งจะทำกำไรได้มากที่สุด สินค้าบางชิ้นไม่ใช่ กำไรแค่หลักร้อย แต่หลักพันบาท เช่น ซื้อสินค้ามาตัวละ 100 บาท ได้ 1000 ชิ้น ทำกำไรได้ชิ้นละ 200 บาท หรือเดือนละ 200,000 บาท ปีละ 2,400,000 บาท

 

การบริหารเงินให้เกิดรายได้ดังกล่าวข้างบน จะเห็นว่ามี 2 แนวทาง คือ
1. การนำไปลงทุน โดยไม่ต้องเสียเวลาไปบริหารจัดการอะไรมากนัก ไม่ต้องลงมือทำ แต่ได้รับผลตอบแทนทุกปี เช่น ฝากธนาคารได้ดอกเบี้ย เล่นหุ้นปันผล ปล่อยกู้ การดาวน์บ้านหรือคอนโดหรือซื้อที่ดิน ที่นาให้เช่า จะมีรายรับทุกปี มากน้อยต่างกันไปตามแต่ ลักษณะการลงทุน
2. การนำเงินไปลงทุน โดยต้องบริหารจัดการการลงทุนนั้นๆ อย่างการค้าขาย ทั้งสองแบบนี้ต้องผสมผสานกัน กำไรที่ได้จากการค้าขาย ก็นำไปเติมหุ้นให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้มีรายได้จากระบบที่เราไม่ต้องลงมือทำงาน

 

การนำเงินไปลงทุนแบบต่างๆ มีโอกาสทำให้เงินที่มีอยู่เกิดดอกออกผล มีกำไร เมื่อมีกำไร ก็ทยอยนำเงินไปลงทุนหรือต่อยอดด้านอื่นๆ ต่อไป เช่น ถ้าสามารถทำกำไรได้ทั้งหมดประมาณ 10,000,000 นำไปซื้อหุ้นปันผลทั้งหมดเลย โดยมีผลตอบแทนประมาณ 3% ต่อปีขึ้นไป ก็มีสิทธิได้เงินปันผลประมาณ 300,000 บาท หรือเดือนละประมาณ 25,000 บาท เพียงพอสำหรับการใช้จ่ายในแต่ละเดือน ไม่ต้องทำงานอะไรแล้วก็ได้ มีอิสระทางการเงิน มากพอสมควร

 

ในความเป็นจริงแล้ว คนที่สามารถมีอิสระภาพทางการเงินได้นั้นมีน้อยมาก ต้องเป็นคนที่มีวินัยการเงินสูงมาก อย่างคนที่ประสบความสำเร็จ แล้วออกมาเขียนหนังสือหรือทำคอร์ส นั่นก็เป็นการต่อยอดสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง หากหนังสือขายดี คอร์สขายดี ก็มีโอกาสทำเงินได้หลักล้านบาท ซึ่งเป็นช่องทางสร้างรายได้ให้พวกเขา เป็นสินค้าที่ต่อยอดความสำเร็จจากการเป็นผู้ที่มีอิสระภาพทางการเงินแล้วนั่นเอง

 

แต่สำหรับคนมีครอบครัวแล้วอิสระภาพทางการเงินนั้น อาจไม่มีทางเป็นจริงได้เลย แม้คุณจะหาเงินได้มาก มีรายรับเสริมจากการลงทุนอย่างมากก็ตาม แต่ภรรยาของคุณอาจจะเก็บเรียบ และให้เงินใช้อย่างจำกัดจำเขี่ยเหมือนเดิม เหอๆๆๆ

 

ดังนั้นไม่ต้องไปคิดอะไรกับมันมาก กับคำพูด สวยหรู อิสระภาพทางการเงิน ที่บรรดาคนรวยออกมาโปรโมตตัวเองเพื่อวัตถุประสงค์หลายๆ ด้านนั้น มีจุดประสงค์เพื่ออะไร ก็น่าจะเห็นกันอยู่ หากเป็นคนไม่มีวินัยการเงิน ก็ไม่ควร