ความหมาย : สำนวนนี้มักจะใช้พูดถึงนิสัยไม่ดีของคนเรา เรื่องการชอบโทษคนอื่น หรือสิ่งอื่น เมื่อตัว เองทำผิด รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง แทนที่จะโทษตัวเอง กลับไปโทษสิ่งอื่น หลายมักจะเป็นแบบนี้ มีนิสัยแบบนี้ เรื่องนี้สำคัญที่ จะต้องรู้ให้เท่าทัน เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ โดนโทษว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน

ความหมาย : สำนวนนี้ใช้พูดเตือนสติในเรื่องความสัมพันธ์ของคนเรา หรือในเรื่องการคบหาสมาคมกัน กับเพื่อนฝูง คนในครอบครัว หรือแม้แต่คู่ครอง รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ ถ้าอยากจะรักกันยาวๆ ก็ต้องให้ตัดเรื่องกระทบทั่ง ปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ตัดออกไป อย่าเก็บมาคิดให้มากนัก เพราะหากนำเรื่องไม่เป็นเรื่องมาเป็นประเด็นชวนทะเลาะบ่อยๆ ก็จะ คบกันได้ไม่นาน

ความหมาย : สำนวนนี้มักจะใช้พูดถึงพฤติกรรม การกระทำของคนเรา โดยเฉพาะคนที่เคยมีฐานะ ร่ำ รวยแล้วตกอับ ตกต่ำ กลายเป็นคนจน สิ้นเนื้อประดาตัว แต่ยังทำตัวเหมือนคนเคยรวย หรือ เรือใหญ่คับคลอง ทั้งๆ ที่ตัวเองก็ ไม่ได้ร่ำรวยอีกแล้ว คนแบบนี้ เรามักจะพบเห็นได้ทั่วไป ในสังคมจริง เพราะมีคนรวยไม่น้อยที่ตกต่ำ แต่ยังจนไม่ลง ยังใช้ชีวิต ไม่ต่างไปจากเมื่อครั้งยังร่ำรวย

ความหมาย : สำนวนนี้เราอาจจะได้ยินบ่อยๆ โดยเฉพาะในวงการซื้อขายรถยนต์ รถจักรยานยนต์ อย่างการซ่อมแซมรถให้กลับมามีสภาพสวยงาม ซึ่งรถเหล่านั้นเคยเป็นรถที่ประสบอุบัติเหตุ นำมาทำใหม่ให้สวยงาม ย้อม แมวขาย ซึ่งคนซื้อรถอาจจะดูไม่ออกเลยว่า รถเหล่านั้นมีประวัติความเป็นมาอย่างไร

ความหมาย : สำนวนนี้มักจะใช้พูดถึงสิ่งที่มีความวุ่นวาย ยุ่งเหยิงไปหมด ดูไม่ออกว่าอะไรเป็นอะไร ยุ่ง เหมือนยุงตีกัน ลองนึกภาพเวลาที่ยุงพากันบินออกจากถังหรือมุมอับ ก็จะมีแต่ความวุ่นวาย ส่งเสียงอื้ออึงน่ารำคาญ แต่กรณี ของคนที่ทำอะไรวุ่นวายนั้นจะสร้างปัญหามากกว่า