ความหมาย : สำนวนนี้ใช้เปรียบเทียบกับพฤติกรรม ของคนเรา ซึ่งบางคนนั้นพอได้ดีแล้วก็ลืมตัว เย่อหยิ่ง เชิดหัว ชูหัว ไม่มองใคร ไม่ให้เกียร์ติใคร เหมือนคางคกขึ้นวอ

ตัวอย่าง :

เมื่อคนเราได้ดี มีฐานะ หน้าที่การเงินสูงขึ้น ก็เป็นธรรมดาที่จะทำตัวเป็น คางคกขึ้นวอ จากที่เป็นเพื่อนเล่นกัน คุยกันได้ทุกเรื่อง อาจจะเริ่มวางตัว ไม่เหมือนเดิม เพราะถือว่าตัวเองมีฐานะดีกว่า มีดีมากกว่า เป็นเรื่องปกติ ที่เราจะพบเห็นได้ทั่วไปกับคนรอบตัว ที่ เคยยากจนมาก่อน พอรวย ก็จะวางตัวอีกระดับหนึ่ง เจอแบบนี้ ก็ไม่ต้องคิดอะไรมาก เวลาเปลี่ยนคนก็มีวันเปลี่ยน มองดูเฉยๆ หรือ เดินจากไป หรือวางตัวใหม่ คบกันแบบเป็นทางการ ไม่วุ่นวายเรื่องส่วนตัว

การทำตัวเป็น คางคกขึ้นวอ ของคนที่เคยมีฐานะยากจน ต่ำต้อย พอได้ดี แล้วก็ไม่คบใคร ไม่เห็นแก่หน้าใคร บางคนก็มีเหตุผลที่ ทำแบบนั้น เช่น เมื่อก่อนยากจน ก็โดนคนอื่นดูถูก ดูแคลน หรือกว่าจะตั้งตัวจนร่ำรวยได้นั้น ต้องทำงานอย่างหนัก ดังนั้นเมื่อตั้งตัว ได้มีฐานะดี จึงทำตัวเย่อหยิ่ง ไม่คบใคร แต่บางคนก็มีเหตุผลที่จำเป็นต้องวางตัวแบบนั้น เพื่อป้องกันตัวเอง จากคนที่จ้องจะหาผล ประโยชน์ เพราะคนต่ำต้อยด้วยกันเองนั้น ส่วนใหญ่ค่อนข้างเห็นแก่ตัว หากเป็นคนที่มาจากต่างจังหวัด มีญาติพี่น้องที่มีฐานะไม่ดี หากตัวเองได้ดี มักจะถูกเรียกร้องขอช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ ทั้งเงินทอง หรือทุกเรื่อง บางคนจึงจำเป็นต้องทำตัวเป็น คางคกขึ้นวอ เพื่อปกป้องตัวเองจากคนเหล่านั้น คนรวย คนมีอำนาจที่เข้าถึงได้ง่าย ก็จะสร้างความลำบากใจ เพราะคนที่พยายามจะเข้าหานั้น ล้วน ต้องการผลประโยชน์ใส่ตัวแทบทั้งสิ้น ถ้าเป็นเรา ก็จะทำแบบเดียวกัน

เวลาคางคกนั่งนิ่งๆ มันมักจะพยายามชูคอ ชูหัว จนอาจจะดูเหมือนเย่อหยิ่ง คนก็เลยเอามาเปรียบเทียบว่าทำตัวไม่ดี จริงๆ แล้ว อาจจะเป็นการพยายามดูว่ามีศัตรูหรืออาหารอยู่ที่ใดบ้าง หากไม่ชูคอให้สูงๆ ก็ยากจะมองเห็น ยึ่งไปอยู่บนที่สูงด้วยแล้ว หาก พยายามชูคอ ก็จะถูกมองว่า เย่อหยิ่ง แต่จริงๆ แล้วเป็นเรื่องปกติของธรรมชาติ ส่วนคนเราก็เหมือนกัน ในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิตก็มี บ้างที่จะทำแบบเดียวกัน แต่ความหมายไม่เหมือนกัน จนกว่าจะเข้าใจว่า ลาภ ยศ ชื่อเสียง สรรเสริญ เงินทอง ไม่ได้มีความหมายอะไร ก็จะเปลี่ยนตัวเอง ร่ำรวย เพียงใด ก็จะยังทำตัวตามปกติ ไม่ถือตัว เป็นกันเอง

สำนวน สุภาษิตที่ คล้ายกัน : กิ้งก่าได้ทอง