โปรแกรมดูหนัง ฟังเพลง ความบันเทิง

รวมบทความและหนังสือเกี่ยวสอนใช้งานโปรแกรมด้านความบันเทิง ดูหนัง ฟังเพลง ตัดต่อเสียง บันทึกเสียง ซึ่งเป็นกิจกรรมโปรดของคนใช้งานคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ เช่น ฟังเพลง ดูหนังด้วย Windows Media Player เป็นต้น

 


หน้าจอโปรแกรมค่อนข้างเล็ก โดยเฉพาะเวลาเปลี่ยนโหมดเป็น Windowshade Mode แต่ เครื่องมือช่วยในการปรับแต่งมีให้เลือกใช้ถึง 5 แบบด้วยกัน คือ Equalizer, Playlist Editor, Thinger, Media Library และ Video เมื่อคลิกปุ่มเปิดหน้าจอเครื่องมือเหล่านี้ขึ้นมาบนจอแล้ว ก็สามารถจัดการ ในลักษณะต่างๆ เช่น
1. คลิกปุ่ม Close Window เพื่อปิดหน้าจอเครื่องมือต่างๆ
2. คลิกปุ่ม Windowshade Mode เพื่อย่อหน้าจอเครื่องมือนั้นๆ เป็นหน้าจอเล็ก ดูน่ารัก ไปอีกแบบ
3. การย้ายหน้าจอเครื่องมือใดๆ ให้เลื่อนเมาส์ไปชี้ที่แถบชื่อเครื่องมือ กดปุ่มซ้ายของเมาส์ ค้างไว้ แล้วลากเมาส์ย้ายเครื่องมือไปวางยังตำแหน่งใดๆ แล้วปล่อย ปุ่มซ้ายของเมาส์


1. คลิกปุ่ม EQ ในหน้าจอหลักเพื่อซ่อนหรือแสดงกรอบข้อความ EQUALIZER
2. คลิกปุ่ม ON เพื่อเปิดใช้งานชุดปรับแต่งเสียง
3. เลื่อนแถบปรับแต่งเสียงตามต้องการ
4. คลิกปุ่ม PRESETS แล้วคลิกเลือกคำสั่ง
= Load>>Preset เพื่อเลือกลักษณะการปรับแต่งสำเร็จรูป เช่น Pop
= Save เพื่อเก็บค่าลักษณะการปรับแต่งเสียงที่ได้ทำ
= Delete ลบพรีเซ็ตที่ไม่ต้องการ

 

5. คลิกปุ่ม Advanced Equalizer เพื่อปรับเสียงของลำโพงซ้ายหรือขวา (BALANCE) และ ปรับความต่อเนื่องในการเล่นระหว่างเพลงต่อเพลง เพลงแรกจบ เพลง ถัดไปก็จะเล่นต่อทันที ต่อเนื่องกัน อย่างราบรื่น ไม่มีช่องว่างสะดุดอารมณ์ในการฟัง ( Crossfade )
6. ปุ่ม Close Window เป็นปุ่มปิดหน้าจอ EQUALIZER


เป็นคล้ายกับห้องสมุดหรือหน้าจอโปรแกรมที่รวมไฟล์มิเดีย เช่น ไฟล์เพลง MP3, ไฟล์ AVI, ไฟล์ MPG เป็นต้น
1. ส่วนแสดงหมวดหมู่ของไฟล์มิเดีย เช่น
- All Media แสดงรายชื่อไฟล์มิเดียทั้งหมด
- Audio Files เป็นไฟล์เสียงแบบต่างๆ เช่น MP3 , WAV , WMA
- CD Tracks เป็นไฟล์ที่ถูกแปลงจากเพลงในแผ่นซีดีเพลง
- HTTPSTREAMS ไฟล์มิเดียบนอินเตอร์เน็ต
- Video Files ไฟล์วิดีโอแบบ AVI หรือ MPG อาจเป็นไฟล์ที่ได้จาก กล้องดิจิตอล
2. Artist แบ่งรายชื่อเพลงตามชื่อศิลปิน
3. Album แบ่งรายชื่อเพลงตามชื่ออัลบั้ม
4. ส่วนแสดงรายชื่อเพลง
5. ปุ่ม Add to Library คำสั่งเพิ่มไฟล์มิเดียเข้ามาใน MEDIA LIBRARY
- Add File คำสั่งเพิ่มไฟล์มิเดีย
- Add directory เพิ่มรายชื่อไดเรคทอรีที่มีไฟล์มิเดียเข้ามา
- Add location เพิ่มรายชื่อเว็บไซท์ที่มีไฟล์มิเดียเข้ามา

 

6. ปุ่ม Sel สำหรับเลือกไฟล์
7. ปุ่ม Sort สำหรับจัดเรียงไฟล์ เช่น จัดเรียงตามชื่อ (Name), จัดเรียงตามตำแหน่งที่เก็บไฟล์ (path filename) เป็นต้น
8. ปุ่ม Send Results To คำสั่งส่งรายชื่อเพลงในห้องสมุดไฟล์มิเดีย ไปเป็น เพลย์ลิสต์
9. ปุ่ม Close Window ปุ่มปิดกรอบข้อความ Media Library


เพลย์ลิสต์ เป็นส่วนแสดงรายชื่อเพลง เราสามารถจัดการกับรายชื่อเพลงได้ เช่น ลากย้ายรายชื่อ เพลงไปวางต่อกัน เป็นต้น


1. การเล่นเพลงหรือฟังเพลงใดๆ ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ชื่อเพลงนั้นๆ เช่น ซมซาน


2. การลบเพลงใดๆ ให้คลิกแล้วกดปุ่ม Delete ที่แป้นพิมพ์ ถ้าต้องการเลือกเพลงเพื่อลบ มากกว่า 1 เพลง ให้คลิกที่เพลงแรก กดปุ่ม Ctrl หรือ Shift แล้วจึงกดปุ่ม Delete หรือจะคลิกปุ่ม Delete แล้วคลิกคำสั่ง Delete Selected items ก็ได้


3. การย้ายรายชื่อเพลง ให้ลากย้ายชื่อเพลงไปวางต่อกันได้ตามต้องการ


4. การเพิ่มรายชื่อเพลงเข้ามาในเพลย์ลิสต์ แล้วคลิกเลือกคำสั่ง Add Files เพื่อไปเลือกไฟล์ เพลงหรือ Add directory เพื่อไปเลือกโฟลเดอร์ที่ได้เก็บไฟล์เพลงไว้ หรือถ้าจะฟังเพลงจากแผ่นซีดี MP3 ก็คลิกเลือกซีดีรอมไดรว์ ( จากตัวอย่างเป็นไดรว์ H: )

 

5. ปุ่ม Del เป็นปุ่มไว้ลบรายชื่อเพลงที่ถูกเลือก การลบในที่นี้ เป็นเพียงการลบ รายชื่อเพลงเท่านั้น ไม่ได้ลบไฟล์ออกไปจากเครื่องแต่อย่างใด ไฟล์จริงๆก็ยังอยู่ ให้คลิกปุ่มนี้ แล้วคลิก คำสั่ง Delete Selected items
6. ปุ่ม Sel ปุ่มช่วยเลือกรายชื่อเพลง เช่น Select all เลือกทั้งหมดทุกเพลง
7. ปุ่ม Sort ปุ่มช่วยจัดเรียงรายชื่อเพลง
8. ปุ่ม Playlist ปุ่มเก็บคำสั่งอื่นๆ เช่น
- Load Playlist เปิดรายชื่อเพลย์ลิสต์ที่ได้ Save หรือเก็บไว้
- Save playlist as เมื่อจัดเรียงตำแหน่งหรือเพิ่มรายชื่อเพลงเข้ามาในส่วน Playlist Editor แล้วก็ควร Save หรือบันทึกเก็บไว้ เพราะถ้าเครื่องนั้นๆใช้กัน หลายคน รายชื่อเพลงอาจถูก แก้ไขเละเทะ ก็ไม่มีปัญหา เพราะเราได้เซฟไว้แล้ว