สร้างงานนำเสนอ สื่อการสอน

รวมบทความและหนังสืออธิบายเกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมสำหรับนำเสนอข้อมูลยอดนิยมอย่าง PowerPoint หรือ Flash ตลอดจนการสร้าง CAI หรือโปรแกรมช่วยสอนด้วย Authorware การใช้ Impress

 

Step 4 ทดสอบการแสดงภาพนิ่งหรือสไลด์โชว์
สไลด์ตัวอย่างทั้งสองแบบ เป็นสไลด์แบบง่ายๆ ที่เราทดลองทำ เพื่อให้เห็นภาพโดยรวม ของการนำเสนอ หลังจากทำสไลด์เสร็จแล้ว ก็จะทดสอบการแสดงสไลด์
1. คลิกปุ่ม เริ่มแสดงภาพนิ่ง
2. ภาพก็จะถูกแสดงเต็มหน้าจอคอมพิวเตอร์ ให้คลิกเมาส์เพื่อไปยังภาพถัดไป และคลิกเมาส์ ไปเรื่อยๆ เพื่อออก และกลับไปยังมุม มองวาดรูป เพื่อไปแก้ไข กรณมีส่วนใดที่ไม่ถูกต้อง
ใน Step ที่ 4 นี้ จะเป็นลักษณะการใช้งานจริง เมื่อแสดงภาพแบบเต็มจอ ผู้บรรายก็จะอธิบาย ขยายความหัวข้อที่ได้จัดทำไว้ แล้วคลิกปุ่มซ้ายของเมาส์ เพื่อแสดงภาพถัดไปหรือคลิกปุ่มขวาของเมาส์ เพื่อย้อนกลับไปหาภาพก่อนหน้านั้น หรืออาจกดปุ่ม Esc ที่แป้นพิมพ์ เพื่อออกจากการแสดงภาพ แบบเต็มจอภาพ

Step 5 กำหนดเอฟเฟ็คให้กับสไลด์
ในขณะแสดงบนหน้าจอแบบเต็มจอ ใน Step ที่ 4 วิธีนี้เหมาะสำหรับการนำเสนอ โดยใช้คอมพิวเตอร์ เนื่องในโอกาศต่างๆ อาจเป็นการจัดนิทรรศการ ก็เปิดเครื่องทิ้งไว้แล้วหน้าจอ ก็เปลี่ยนภาพ ไปตามเนื้อหาที่ถูกจัดวางไว้
1. คลิกปุ่ม มุมมองภาพนิ่ง
2. ก็จพบภาพสไลด์ทั้งหมด ที่เราได้จัดทำไว้
3. จะมีหน้าจอ แสดงตัวอย่าง เพื่อแสดงผลการเลือกเอฟเฟ็คแต่ละแบบ
4. ถ้าหน้าจอ แสดงตัวอย่าง ถูกปิดไป ก็เรียกกลับมาได้โดยคลิกเมนู มุมมอง แล้วคลิกติ๊กถูก หน้าแสดงตัวอย่าง
5. คลิกสไลด์ที่ 1 เพื่อเริ่มต้นกำหนดเอฟเฟ็ค
6. คลิกเลือกลักษณะของเอฟเฟ็ค เช่น ลู่แนวนอน แล้วดูผลที่ได้ในหน้าจอ แสดงตัวอย่าง
7. คลิกเลือกความเร็วของการแสดงเอฟเฟ็คนั้นๆ เช่น ช้า ปานกลาง หรือเร็ว
8. คลิกเลือกลักษณะการเปลี่ยนภาพ
- กำหนดเอง จะเป็นการคลิกเมาส์เพอเปลี่ยนจากสไลด์หนึ่งเป็นอีกสไลด์หนึ่ง
- กึ่งอัตโนมัติ ภาพจะเปลี่ยนจากสไลด์หนึ่งเป็นอีกสไลด์หนึ่งตามเวลาที่ได้ตั้งไว้ หรือ ตามแต่ผู้บรรยายจะคลิกปุ่มเมาส์เพื่อเปลี่ยนเอง
- อัตโนมัติ ภาพจะเปลี่ยนตามเวลาที่ตั้งไว้
9. ถ้าได้เลือก ลักษณะการเปลี่ยนแบบอัตโนมัติ ก็จะสามารถกำหนดเวลาได้ เช่น 00:00:04 จะเป็นการกำนดให้ภาพสไลด์นั้นๆ ค้างอยู่บนหน้าจอนาน 4 วินาที
10. คลิกปุ่ม การทดสอบเวลา ถ้าเลือกใช้การเปลี่ยนสไลด์แบบ อัตโนมัติ ปุ่มการทดสอบเวลา จะมีประโยชน์มาก เพราะจะทำให้เรา รู้ว่าต้องใช้เวลาประมาณกี่วินาที ในการอ่านข้อมูล ในแต่ละสไลด์
11. จะปรากฏหน้าจอแบบเต็มจอภาพ และปรากฏปุ่มบอกเวลาที่มุมล่างซ้ายของจอภาพ ให้คลิกปุ่มบอกเวลา เฃ่น 00:00:04 วินาที เพื่อเป็นการกำหนดให้แสดงภาพนั้นๆค้างบนหน้าจอนาน 4 วินาที
12. หลังจากกำหนดค่าต่างๆ เสร็จแล้ว ก็คลิกปุ่ม เริ่มแสดงภาพนิ่ง เพื่อทดสอบการทำงาน
13. บันทึกงานเก็บไว้โดยคลิกเมนู แฟ้ม>>บันทึก

Step 6 วิธีนำผลงานที่ได้ไปใช้งานจริง
จะเป็นการนำผลงานไปใช้งานจริงๆ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับลักษณะการจัดงานนั้นๆ เช่น
1. ถ้าเป็นการบรรยาย ก็ก็อปปี้ไฟล์ลงเก็บในแผ่นดิสก์ แล้วนำไปเปิดกับเครื่องที่จะใช้งาน หรือถ้ามีโน้ตบุ๊คก็สะดวกมาก ใช้โน้ตบุ๊ค แสดงภาพขณะบรรยายก็ได้
2. อาจใช้กล้องถ่ายรูป ถ่ายภาพหน้าจอเป็นฟิล์มสไลด์ เพื่อนำไปใช้กับเครื่องฉายสไลด์ก็ได้

จากตัวอย่างขั้นตอนต่างๆ ผู้อ่านก็คงจะเห็นภาพโดยรวมแล้วว่า ลักษณะการนำเสนอนั้น เป็นอย่างไร คราวนี้ก็จะสามารถสร้างผลงาน นำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พิมพ์และจัดการกับข้อความใน PladaoOffice Impress

ลักษณะการพิมพ์ข้อความในโปรแกรมย่อยใดๆ ในกลุ่มโปรแกรม PladaoOffice จะใช้ วิธีการคล้ายๆกัน เมื่อสามารถพิมพ์ข้อความในโปรแกรมใดได้ ก็จะใช้โปรแแกรมอื่นๆ ได้ไม่ยาก เพราะจะมีวิธีการทำงานกับข้อความคล้ายๆ กัน

การพิมพ์ข้อความใน PladaoOffice Impress
1. เริ่มต้นด้วยการสร้างสไลด์หน้าว่างๆ หรือภาพนิ่งเปล่า
2. ชี้ลูกศรที่เครื่องมือพิมพ์ข้อความ กดปุ่มซ้ายของเมาส์ค้างไว้สักพัก เพื่อเรียกกรอบเครื่องมือ
3. คลิกที่เครื่องมือตัว T
4. คลิกเลือกแบบและขนาดของตัวหนังสือ เช่น Times New Roman ขนาด 36
5. คลิกในพื้นที่สร้างสไลด์ แล้วพิมพ์ข้อความ PladaoOffice
6. พิมพ์เสร็จแล้ว ให้คลิกที่ว่างๆ เพื่อให้กรอบข้อความหายไป

7. การเปลี่ยนสี ขนาด ตัวอักษณ ให้เลื่อนเมาส์ไปที่ข้อความ เช่น หน้าตัว P กดปุ่มซ้ายค้างไว้ แล้วลากไปที่ 2.0 เมื่อเกิดเป็นแถบดำ แล้วก็ปล่อยเมาส์
8. คลิกเลือกขนาด แบบ ตัวหนา (น) ตัวเอียง (อ) ตัวขีดเส้นใต้ (ส) และสี (A) ได้ตามต้องการ

Sponsored Ads