การใช้งานภาษาอังกฤษ การเรียบเรียงประโยค จะยึดตามกาล เมื่อวาน วันนี้ และอนาคต การเรียบเรียงประโยคจะต่างกัน ซึ่งจะ Tense ที่ต่างกันไป จำเป็นจะต้องทำความเข้าใจ เพื่อจะใช้งานให้ถูกต้อง 

คำกริยา 3 ช่อง และคำกริยาใช้ตามกาล

ก่อนจะทำความเข้าใจกับ Tense จำเป็นต้องศึกษาคำกริยา 3 ช่อง ให้เข้าใจเสียก่อน เพราะเป็นพื้นฐานที่จะช่วยให้เข้าใจเรื่อง Tense ได้ดียิ่งขึ้น

 

คำกริยา 3 ช่อง ใช้ตามกาล

คำกริยาภาษาอังกฤษจะใช้ตามกาลเวลา เมื่อวานนี้ วันนี้ หรือพรุ่งนี้อนาคต ดังในหัวข้อก่อนหน้านี้ ซึ่งจะเรียกว่า กริยา 3 ช่อง หรือ นิยมเรียกกันว่า v1, v2, v3 ตัวอย่าง

 

คำกริยา กิน/eat/อีท ก็จะแบ่งเป็นกริยา 3 ช่อง แต่เป็นคำเดียวกัน ความหมายเหมือนกัน เพียงแต่ต้องเปลี่ยนรูปเพื่อใช้กับกาล เวลาที่ต่างกัน


1. คำกริยาช่องที่ 1 หรือ v1 eat อีท กิน คำกริยานี้จะใช้กับการกระทำในวันนี้ เวลานี้ ปัจจุบันนี้ เช่น วันนี้แดงกินก๋วยเตี๋ยว กริยาช่อง 1 หรือ v1 จะต้องเติม s หรือไม่เติม s ต่อท้าย ขึ้นอยู่กับจำนวนประธานประโยค คนเดียว (แดง) ก็ต้องเติม s เป็น eats หลายคน (แดง และสมศรี)ก็ไม่ต้องเติม s เป็น eat


2. คำกริยาช่องที่ 2 หรือ v2 ate เอท กิน คำกริยานี้จะใช้กับการกระทำในอดีต อาจจะเป็นวันก่อน เมื่อวาน หรือตอนไหนก็ได้ ในอดีต เช่น เมื่อวานนี้ แดงกินข้าวผัด กริยาช่องที่ 2 หรือ v2 อาจจะมีการเปลี่ยนรูป หรือการออกเสียง เช่น eat เป็น ate


3. คำกริยาช่องที่ 3 หรือ v3 eaten อีทเท่น กิน คำกริยานี้จะใช้ในความหมายว่าได้กระทำสิ่งนั้น ได้ทำเรื่องนั้น หรือได้กระทำต่อเนื่อง มาจนถึงปัจจุบัน เช่น วันนี้แดงได้กินก๋วยเตี๋ยวแล้ว Daeng has eaten noodles. กริยาช่องที่ 3 หรือ V3 จะต้องมี Has, Have เติมข้าง หน้า

 

จะเห็นได้ว่า ทั้ง 3 ประโยคนี้มีความหมายที่ต่างกัน ภาษาไทยเราไม่ยุ่งยากแบบนี้ แต่ภาษาอังกฤษจะมีการเปลี่ยนรูปคำ เมื่อกล่าว ถึงเรื่องในอดีต หรือปัจจุบัน หรืออนาคต คำกริยาเดียวกัน แต่จะใช้ไม่เหมือนกัน เพื่อที่เวลาอ่าน ก็จะรู้ว่า เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเวลาใด นั่น เอง

 

ตัวอย่าง คำกริยา 3 ช่อง เช่น

arise arose arisen   เกิดขึ้น
awake  awakened / awoke awakened / awoken  ตื่น
backslide  backslid  backslidden / backslid ย้อนกลับ
be was, were been เป็น, อยู่, คือ
bear bore  born ทน

ฯลฯ

 

 

ประเภทของ Tense

Tense มี 3 แบบคือ ปัจจุบัน อดีต และอนาคต แต่ละแบบจะแบ่งเป็น 4 ประเภทย่อยดังนี้

1. Present Tense

กล่าวถึงเรื่องที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เป็นเรื่องที่เป็นความจริง แยกได้ 4 ประเภทด้วยกัน
1.1 Present Simple กล่าวถึงเรื่องที่เป็นข้อเท็จจริง หรือเรื่องราวที่เกิดวันนั้น เช่น ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก
1.2 Present Continuous กล่ววถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในเวลานั้น ขณะนั้น กำลังทำอะไร
1.3 Present Perfect กล่าวถึงสิ่งที่ได้เกิดขึ้นในวันนั้นหรือขณะที่ได้พูดถึง เหตุการณ์นั้นได้จบลงแล้ว เช่น ขณะนั้นเวลาเที่ยงแต่ได้พูดถึง เมื่อเช้าว่าได้กินกาแฟไปแล้ว
1.4 Present Perfect Continuous เป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นต่อเนื่อง โดยไม่ได้หยุดพักเลย เช่น เมื่อเช้าได้วิ่งเป็นเวลา 2 ชั่วโมงโดยไม่ได้หยุดพักเลย

 

2. Past Tense

กล่าวถึงเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีต เรื่องที่ผ่านไปแล้ว อาจจะเป็นเมื่อวาน หรือหลายวันก่อน เดือนก่อน ปีก่อน หรือย้อนหลังไปหลายปี
2.1 Past Simple กล่าวถึงเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีต จะใช้ประโยคแบบ พาสตเทนซ เช่น เมื่อวานฉันกินข้าวผัด
2.2 Past Continuous กลาวถึงเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีต โดยมีลักษณะเป็นการกระทำที่มีความต่อเนื่อง เช่น เมื่อวานขณะที่ฉันกำลังกินเข้า ผัด ฝนก็ตกลงมา
2.3 Past Perfect กล่าวถึงเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตที่ได้จบลงไปแล้ว เช่น ก่อนฝนจะตก เขาได้กินข้าวเสร็จแล้ว
2.4 past Perfect Continuous กล่าวถึงเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีต โดยเหตุการณ์นั้นมีลักษณะต่อเนื่อง เช่น เมื่อวาน ฝนได้ตกต่อเนื่องเป็น เวลา 3 ชั่วโมงขณะที่กำลังกินข้าว

 

3. Future Tense

กล่าวถึงเรื่องในอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้น เช่น
3.1 Future Simple กล่าวถึงเรื่องที่จะเกิดในอนาคต พรุ่งนี้ หรืออีกหลายวันข้างหน้า เช่น พรุ่งนี้ฉันจะกินก๋วยเต๊๋ยว เดือนหน้าฉันจะไป เกาหลี หากเทียบกับภาษาไทยจะมีคำว่า จะ จะทำสิ่งนั้น จะทำสิ่งนี้
3.2 Future Continuous กล่าวถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมีความหมายว่า กำลังอยู่ระหว่างทำเหตุการณ์นั้นในอนาคต เช่น ช่วงเช้าพรุ่งนี้ ฉันจะกำลังออกกำลังกาย ให้ติดต่อหลังเวลา หรืออย่าติดต่อเข้ามา เพราะไม่สะดวกรับสาย
3.3 Future Perfect กล่าวถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่จะจบลงในเวลาที่กำหนด เช่น 8 โมงเช้าพรุ่งนี้ ออกกำลังกายเสร็จแล้ว เรานัดเจอกันช่วงนั้นก็แล้วกัน เป็นต้น
3.4 Future Perfect Continuous กล่าวถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่มีลักษณะเป็นการกระทำอย่างต่อเนื่อง เช่น หลัง 8 โมงเช้า พรุ่งนี้ ฉัน จะมีประชุมต่อเนื่องไปจนกว่าจะถึง 5 โมงเย็น จะเป็นการกระทำที่ดำเนินอย่างต่อเนื่อง ไม่มีหยุด

 

1. Present Tense กล่าวถึงเรื่องที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

1.1 Present Simple

กล่าวถึงเรื่องที่เป็นข้อเท็จจริง หรือเรื่องราวที่เกิดวันนั้น เช่น ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก

ภาษาไทยเรานั้น เวลาใช้พูดหรือเรียบเรียงประโยค จะใช้คำกริยาแบบเดียวกัน อย่าง เมื่อวาน วันนี้ หรือพรุ่งนี้ ก็ใช้แบบเดียวกัน เช่น เมื่อวานแดงกินข้าวผัด วันนี้แดงกินก๋วยเตี๋ยว พรุ่งนี้แดงจะกินแฮมเบอร์เกอร์ แต่ภาษาอังกฤษคำกริยาจะเปลี่ยนไปตามกาล อย่างคำ กริยาที่บ่งบอกว่าเป็นเรื่องของปัจจุบัน เช่น วันนี้แดงกินก๋วยเตี๋ยว

วันนี้แดงกินก๋วยเตี๋ยว
Daeng eats noodles today.
แดง อีทสฺ นูเดิ้ล ทูเดย์
แดง กิน ก่วยเตี๋ยว วันนี้ คำว่า eat หรือกิน จะต้องใช้ eats เพราะเวลาเป็นวันนี้ เป็นปัจจุบันนี้ ต้องใช้ eats เติม s ด้วย เพราะประธาน คือแดง มีคนเดียว แต่หากประธานมีสองคน (แดงและสมศรี) Daeng and Somsri eat noodles today จะใช้ eat ไม่ต้องเติม s

เมื่อวานนี้แดงกินข้าวผัด
Daeng ate fried rice yesterday.
แดง เอท ฟราย ไรเซอะ เยสเตอเดย์
เขากินข้าวผัดเมื่อวานนี้ คำว่า ate แปลว่ากิน มาจาก eat แต่หากเป็นอดีตซึ่งผ่านไปแล้ว จะต้องใช้คำว่า ate เป็นกริยาช่อง 2 หรือ v2 ใช้ eat หรือ v1 จะผิดไวยากรณ์

พรุ่งนี้แดงจะกินแฮมเบอร์เกอร์
Daeng will eat hamburger tomorow.
แดง วิล อีท แฮมเบอร์เกอร์ ทูโมโรว์
เดงจะกินแฮมเบอร์เกอร์ในวันพรุ่งนี้ ซึ่งยังมาไม่ถึง เป็นเรื่องอนาคต จะต้องใช้คำว่า จะ/will มาวางก่อนหน้าคำกริยา กิน/eat และไม่ ต้องเติม s หากมีประธานสองคน (แดงและสมศรี) ก็จะใช้เหมือนกัน Daeng and Somsri will eat hamburger tomorow.

จะเห็นว่า คำกริยา กิน/ eat คำเดียว แต่ในกาลเวลาที่ไม่เหมือนกัน อดีดหรือเมื่อวาน วันนี้ปัจจุบันนี้ และพรุ่งนี้ จะใช้ต่างกัน ไม่ เช่นนั้นผิดไวยากรณ์ ซึ่งการใช้ตามกาลหรือเวลานั้น จะมีรูปแบบการใช้งานอีกหลายแบบ ซับซ้อนกว่านี้

 

1.2 Present Continuous

กล่ววถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในเวลานั้น ขณะนั้น กำลังทำอะไร

การกระทำที่กำลังทำอยู่ในเวลานั้น เช่น กำลังเดิน กำลังกิน กำลังวิ่ง จะมีรูปแบบการใช้อีกแบบหนึ่ง ตัวอย่าง

แดงกำลังกินแอปเปิ้ลในขณะนี้ เวลานี้ วันนี้
Daeng is eating an apple.
แดง อีส อีตติ้ง แอน แอพเพิ่ล
เดงกำลังกินแอปเปิ้ล ความหมายจะหมายถึง กำลังทำอยู่ แดงกำลังกินแอปเปิ้ล ต่างจากประโยค Daeng eat apple. ซึ่งจะหมายถึง ใน วันนี้แดงกินแอปเปิ้ล แต่ไม่ระบุว่า กินเวลาไหน กินตอนกี่โมง แต่กินในวันนี้ การเติม is ก่อนจะหมายถึง กำลังกิน กำลังทำสิ่งนั้นอยู่คา ตาเลย คาหนังคาเขา

หากต้องการพูดว่า กำลังทำอะไร ก็ต้องเติม is หน้าคำกริยา ที่ต้องการ และ เติม ing หลังคำกริยา เช่น
run รัน แปลว่าวิ่ง
is running อีส รันนิ่ง แปลว่า กำลังวิ่ง

stand แสตนด์ ยืน
is standing อีส แสตนด์ดิ้ง กำลังยืน

แต่ถ้าประธานมีหลายคน เช่น แดง และ สมศรี กำลังยืนข้างหน้าต่าง ต้องเปลี่ยนจาก is เป็น are
Daeng and Somsri are standing by the window.
แดง แอนด์ สมศรี อาร์ แสตนดิ้ง บาย เดอะ วินโดว์
แดง และ สมศรี กำลังยืนอยู่ข้างหน้าต่าง

 

1.3 Present Perfect

กล่าวถึงสิ่งที่ได้เกิดขึ้นในวันนั้นหรือขณะที่ได้พูดถึง เหตุการณ์นั้นได้จบลงแล้ว เช่น ขณะนั้นเวลาเที่ยงแต่ได้พูดถึงเมื่อเช้าว่าได้กิน กาแฟไปแล้ว

คำกริยาแบบนี้จะใช้ในการพูดหรือแต่งประโยคที่มีความหมายว่าได้ทำสิ่งนั้นไปแล้ว ในขณะที่พูด ก็ได้ทำเรียบร้อยแล้ว

สถานการณ์ที่จะใช้ประโยคเหล่านี้ อาจจะเป็นการสนทนากันในวันนั้น บางคนอาจจะถามเพื่อนว่า กินอะไรมาหรือยัง คนตอบ ก็ตอบ ว่า ได้กินข้าวแล้ว ประโยคในลักษณะนี้จะเติมคำว่า has หรือ have หน้าคำกริยา และคำกริยาต้องผันเป็น V3 หรือ กริยาช่อง 3
Daeng has eaten fried rice this morning.
แดง แฮส อีทเท่น ฟราย ไรซ์ ดีส มอร์นิ่ง
เดงกินข้าวผัดเช้านี้ หรือ แดงได้กินข้าวผัดแล้วเมื่อเข้านี้ ประธานมีคนเดียว คือ Daeng จะต้องใช้ has

 

กรณีประธานมีหลายคน
Daeng and Somsri have eaten fried rice this morning.
แดง แอนด์ สมศรี แฮพ อีทเท่น ฟราย ไรซ์ ดีส มอร์นิ่ง
แดงและสมศรีได้กินข้าวผัดแล้วเมื่อข้านี้ กรณีประธานหลายคน จะต้องเปลี่ยนจาก has เป็น have

 

กรณีใช้ประโยคว่า ฉันได้กิน การพูดหรือการแต่งประโยคจะต่างออกไป
I have eaten fried rice this morning.
ไอ แฮพ อีทเท่น ฟราย ไรซ์ ดีส มอร์นิ่ง
ฉันได้กินข้าวผัดแล้วเมื่อข้านี้ กรณีใช้ ฉัน/ I จะใช้ Have

 

1.4 Present Perfect Continuous

เป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นต่อเนื่อง โดยไม่ได้หยุดพักเลย เช่น เมื่อเช้าได้วิ่งเป็นเวลา 2 ชั่วโมงโดยไม่ได้หยุดพักเลย

หากต้องการบอกเล่า พูดหรือแต่งประโยคในความหมายว่า ได้กระทำบางอย่างอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีต วันนั้น เวลานั้น ทำไม่หยุด อย่างต่อเนื่องถึงปัจจุบัน แม้แต่ขณะที่พูดก็ยังคงกระทำอยู่ยังไม่รู้จะหยุดเมื่อไหร่ เช่น เขาอ่านหนังสือต่อเนื่องมาตั้งแต่เมื่อคืน ตอนนี้ก็ยัง ไม่หยุดอ่านเลย ไม่รู้จะหยุดตอนไหน

 

He has been reading novel since last night.
ฮี แฮส บีน รีดดิ้ง โนเวล ซิ๊น ลาส ไนทฺ
เขาได้อ่านนิยายอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่เมื่อคืนแล้ว (ติดนิยาย) ตอนนี้ก็ยังอ่านอยู่ คงจะอ่านให้จบทุกเล่ม ทุกตอน ประธานมีคนเดียว จะใช้ has

 

Daeng and Somchai have been playing snooker for 5 hours.
แดง แอนด์ สมชาย แฮพ บีน เพลย์อิ้ง สนุ๊กเกอร์ ฟอร์ ฟาย เอาเออสฺ
แดงและสมชายได้เล่นสนุ๊กเกอร์กันมาเป็นเวลา 5 ชั่วโมงแล้ว และขณะนี้ก็ยังไม่หยุด เฮ้ยยยย หยุดกินข้าวกันก่อน ประธานมีสองคนจะ ใช้ have กรณีประธานเป็น ฉัน / ไอ I ก็เช่นกัน I have been playing snooker for 5 hours.

 

2. Past Tense

กล่าวถึงเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีต เรื่องที่ผ่านไปแล้ว อาจจะเป็นเมื่อวาน หรือหลายวันก่อน เดือนก่อน ปีก่อน หรือย้อนหลังไปหลายปี

2.1 Past Simple

กล่าวถึงเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีต จะใช้ประโยคแบบ พาสตเทนซ เช่น เมื่อวานฉันกินข้าวผัด

การเล่าเรื่องว่า เมื่อวานไปไหน ทำอะไร การเล่าความหลังในสิ่งที่ทำลงไป การพูดหรือเรียบเรียงประโยคจะต้องใช้กริยาช่องที่ 2 หรือ V2 เช่น เมื่อวานนี้แดงกินข้าวผัด วันนี้แดงกินก๋วยเตี๋ยว

 

เมื่อวานนี้แดงกินข้าวผัด
Daeng ate fried rice yesterday.
แดง เอท ฟราย ไรเซอะ เยสเตอเดย์
เขากินข้าวผัดเมื่อวานนี้ คำว่า ate แปลว่ากิน มาจาก eat แต่หากเป็นอดีตซึ่งผ่านไปแล้ว จะต้องใช้คำว่า ate เป็นกริยาช่อง 2 หรือ v2 ใช้ eat หรือ v1 จะผิดไวยากรณ์ หากใช้ v1 จะหมายถึง การกระทำในวันนี้

 

วันนี้แดงกินก๋วยเตี๋ยว (แต่เมื่อวานกินข้าวผัด)
Daeng eats noodles today.
แดง อีทสฺ นูเดิ้ล ทูเดย์
แดง กิน ก่วยเตี๋ยว วันนี้

 

Daeng and Somsri ate fried rice yesterday.
แดง แอนด์ สมศรี เอท ฟราย ไรเซอะ เยสเตอเดย์
แดงและสมศรี กิน ข้าวผัด เมื่อวานนี้ ประธานมีคนเดียว หรือสองคน (แดงและสมศรี) แต่คำกริยาจะใช้ตัวเดียวกันคือ ate ไม่มีการ เติม

 

การพูดถึงเรื่องในอดีต ต้องศึกษาเรื่องกริยา 3 ช่องและการทำกริยาให้เป็นอดีต ซึ่งบางคนก็เปลี่ยนรูป eat เป็น ate บางคำก็เติม ed อย่าง knock เป็น knocked เคาะประตู

 

2.2 Past Continuous

กลาวถึงเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีต โดยมีลักษณะเป็นการกระทำที่มีความต่อเนื่อง เช่น เมื่อวานขณะที่ฉันกำลังกินเข้าผัด ฝนก็ตกลง มา

เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อวานหรือในอดีต ในความหมายว่า กำลังทำอะไร ในขณะนั้น เวลานั้น ของวันใดๆ ในอดีต เช่น แดงกำลังกิน ข้าวผัด เมื่อหล่อนเดินทางมาถึง

 

Daeng was eating fried rice when she arrived.
แดง วอส อีททิ่ง ฟราย ไรซ์ เว๊น ชี อะร๊ายฟฺ
แดงกำลังกินข้าวผัด เมื่อหล่อนเดินทางมาถึง ประธานมีคนเดียวคือ แดง จะใช้ วอส / was เป็นกริยาช่วย

 

กรณีประธานหลายคนก็จะต้องเปลี่ยนจาก was เป็น were เช่น

 

Daeng and his son were eating fried rice when his wife arrived.
แดง แอนด์ ฮิส ซัน เวอ อีททิ่ง ฟราย ไรซ์ เว๊น ฮีส ไวฟฺ อะร๊ายฟฺ
แดง และลูกชาย กำลังกินข้าว เมื่อภรรยาของเขามาถึง ประธานมี 2 คน (แดง และลูกชาย ) หรือ ฉัน / I จะต้องใช้ เวอ were ซึ่งเป็น กริยาช่วย

 

2.3 Past Perfect

กล่าวถึงเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตที่ได้จบลงไปแล้ว เช่น ก่อนฝนจะตก เขาได้กินข้าวเสร็จแล้ว

หากมีคำพูดที่ต้องการพูดในลักษณะที่ว่า ได้ทำเสร็จแล้ว อาจจะเป็นการเล่าเรื่องราวในอดีตว่า เมื่อแม่มาถึง พ่อกับลูกก็ได้กินข้าว เสร็จแล้ว จะเป็นเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นและจบลงแล้ว

 

Daeng had eaten fried rice when she arrived.
แดง แฮด อีททิ่ง ฟราย ไรซ์ เว๊น ชี อะร๊ายฟฺ
แดงได้กินข้าวผัดหรือได้ทานอาหารเสร็จแล้วเมื่อหล่อนเดินทางมาถึง ประธานมีคนเดียวคือ แดง จะใช้ แฮด / had เป็นกริยาช่วย

 

Daeng and his son had eaten fried rice when his wife arrived.
แดง แอนด์ ฮิส ซัน แฮด อีททิ่ง ฟราย ไรซ์ เว๊น ฮีส ไวฟฺ อะร๊ายฟฺ
แดง และลูกชาย ได้กินข้าวผิดเสร็จแล้วหรือได้ทานอาหารเสร็จแล้วเมื่อภรรยาของเขามาถึง ประธานมี 2 คน (แดง และลูกชาย ) หรือ ฉัน / I จะใช้ had เป็นกริยาช่วยเหมือนกัน

 

ประโยคในลักษณะนี้ หากเทียบกับภาษาไทยเรา ก็จะเป็นคำพูดในลักษณะ บอกว่า ได้ทำ.. แล้ว เช่น
เมื่อเขากลับไปถึงบ้าน ลูกชายก็ได้เข้านอนแล้ว
เมื่อวานฝนได้ตกหนักมากก่อนที่เขาจะเดินทางไปถึง (แต่เมื่อไปถึงฝนได้หยุดแล้ว)

 

2.4 past Perfect Continuous

กล่าวถึงเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีต โดยเหตุการณ์นั้นมีลักษณะต่อเนื่อง เช่น เมื่อวาน ฝนได้ตกต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ชั่วโมงขณะที่กำลังกิน ข้าว

เรื่องแบบนี้ เราคงจะไม่ได้พูดบ่อยนัก เพราะสถานการณ์ยากจะเกิด เป็นลักษณะของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตที่มีความต่อเนื่อง จากช่วงเวลาหนึ่งไปจนถึงช่วงเวลาหนึ่ง หากเทียบกับภาษาไทยเราแล้วก็จะเป็นประโยคคล้ายตัวอย่าง เช่น เมื่อวานนี้แดงได้ไปบ้านเพื่อน เขาได้เล่นเกมแบบข้ามวันข้ามคืน ก่อนที่แดงจะไปถึง

 

จะเห็นว่า การเล่นเกมแบบข้ามวันข้ามคืน เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องในอดีต ณ ช่วงเวลาหนึ่ง และเมื่อแดงไปถึง เพื่อนของเขาอาจจะ เล่นเกมต่อ หรือชวนกันเล่นเกมเรื่องนี้อาจจะเป็นเรื่องในอดีตที่เกิดขึ้น เมื่อวาน หรือเดือนที่แล้ว ปีที่แล้ว เป็นต้น

 

Somchai had been playing snooker game when Daeng came.
สมชาย แฮด บีน เพลย์อิ้ง สนุ๊กเกอร์ เกม เว็น แดง เคม
สมชาย เล่นเกมสนุกเกอร์แบบข้ามวันข้ามคืนก่อนหน้าแดงจะไปถึง (เมื่อไปถึงก็ยังเล่นอยู่) เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีต สิ่งที่แดงทำ Daeng came คำว่า เคม/ came เป็นกริยาช่อง 2 หรือ v2 ของ come แปลว่า มา เรื่องในอดีตจะต้องใช้ช่องที่ 2 แบบนี้

 

3. Future Tense กล่าวถึงเรื่องในอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้น

3.1 Future Simple

กล่าวถึงเรื่องที่จะเกิดในอนาคต พรุ่งนี้ หรืออีกหลายวันข้างหน้า เช่น พรุ่งนี้ฉันจะกินก๋วยเต๊๋ยว เดือนหน้าฉันจะไปเกาหลี หากเทียบ กับภาษาไทยจะมีคำว่า จะ จะทำสิ่งนั้น จะทำสิ่งนี้

การพูดว่าจะทำอะไร ในอนาคต เป็นการพูดหรือประโยคที่เรามักจะพูดบ่อยๆ เช่น พรุ่งนี้ฉันจะกินอาหารเมนูนี้ ในอนาคตฉันจะทำ สิ่งนั้นสิ่งนี้ ตัวอย่าง

 

พรุ่งนี้ ฉันจะกินแฮมเบอร์เกอร์
I will eat hamberger tomorrow.

 

ประโยคในความหมายว่าจะทำ สิ่งนั้นสิ่งนี้ จะใช้ will นำคำกริยาหลัก will + กริยาช่อง V1 จะทำอะไรก็ไปตามนั้น
I will + V1 ไอ วิล ฉันจะ.. (จะทำอะไรก็เอาคำกริยามาวางลงไป)
He will + V1 ฮี วิล เขาจะ. (จะทำอะไรก็เอาคำกริยามาวางลงไป)
They will + V1 พวกเขาจะ.... (จะทำอะไรก็เอาคำกริยามาวางลงไป)
Daeng and Somchai will + V1 แดงและสมชายจะ.... (จะทำอะไรก็เอาคำกริยามาวางลงไป)

 

3.2 Future Continuous

กล่าวถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมีความหมายว่า กำลังอยู่ระหว่างทำเหตุการณ์นั้นในอนาคต เช่น ช่วงเช้าพรุ่งนี้ ฉันจะ กำลังออกกำลังกาย ให้ติดต่อหลังเวลา หรืออย่าติดต่อเข้ามา เพราะไม่สะดวกรับสาย

สิ่งที่เราจะทำในอนาคตหรือในวันพรุ่งนี้ บางอย่างเราอาจจะต้องทำเวลากี่โมง จำเป็นต้องพูดบอกเพื่อให้ผู้ที่จะติดต่อได้รับรู้ เช่น พรุ่งนี้เวลาประมาณ 8 โมงเช้า ฉันจะอยู่ระหว่างการเดินทาง หรือทำอะไรบางอย่าง จึงควรหลีกเลี่ยงการติดต่อ เพราะไม่สะดวกหรือจะ ไม่สามารถติดต่อได้ (แต่ปกติจะอยู่ที่ทำงาน วันนั้นอาจจะมีธุระต้องไปทำภาระกิจพิเศษ)

 

ประโยคอื่นที่ใกล้เคียงกัน เช่น พรุ่งนี้ 8 โมงเช้า ผมน่าจะกำลังขับรถอยู่บนถนนเส้นนั้น บอกให้รู้ เผื่ออีกฝ่ายอยากจะนัดเจอกัน ตามปั้ม ตามร้านกาแฟ ในเส้นทางนั้น

 

At seven o’clock tomorrow, I will be driving to Pataya.
แอท เซเวน โอ คล็อก ทูโมโร, ไอ วิล บี ไดรวิ่ง ทู พัทยา
เจ็ดโมงเช้าพรุ่งนี้ ฉันน่าจะกำลังขับรถหรืออยู่ระหว่างกำลังขับรถไปพัทยา ถ้าอยากเจอ ก็นัดกันมาว่า ปั๊มไหน ร้านอะไร เป็นต้น

 

รูปแบบการใช้งานจะคล้ายกันคือ ประธาน + will + be + v.ing
I will be driving
He will be driving
Daeng and Somchai will be ...

 

3.3 Future Perfect

กล่าวถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่จะจบลงในเวลาที่กำหนด เช่น 8 โมงเช้าพรุ่งนี้ ออกกำลังกายเสร็จแล้ว เรานัดเจอกันช่วง นั้นก็แล้วกัน เป็นต้น

คำพูดหรือประโยคในลักษณะนี้จะใช้เพื่อนัดหมายหรือแจ้งให้ทราบ เช่น พรุ่งนี้ เวลา 10 โมงเช้า ฉันจะขับรถถึงพัทยาแล้ว หรือหาก พูดสำนวนแบบไทย อาจจะพูดว่า พรุ่งนี้ 10 โมงเช้า ก็ขับรถถึงพัทยาแล้ว มีธุระสำคัญ ก็โทรมาได้เลย เวลานั้น ในระหว่างขับรถมีผู้ โดยสารหลายคนไม่สะดวก หรือ พรุ่งนี้ 10 โมงเช้า ฉันก็ตื่นนอน อาบน้ำ กินข้าวเรียบร้อยแล้ว เข้ามาได้เลย เป็นต้น

 

At ten o' clock tomorrow, she will has reached Pattaya.
แอท เทน โอ คล็อก ทูโมโร ชี วิล แฮส รีชเชด พัทยา
พรุ่งนี้สิบโมงเช้า หล่อนจะเดินทางไปถึงพัทยา (ถึงพัทยา 100%) ประธานมีคนเดียวจะใช้ will has

 

กรณีประธานมีหลายคนจะใช้ will have
At ten o' clock tomorrow, I will have reached Pattaya. ประธาน ฉัน / ไอ / I ใช้ I will have
At ten o' clock tomorrow, Daeng and Somchai will have reached Pattaya. ประธาน สองคน (Daeng and Somchai) ใช้ I will have

 

ประโยคแบบนี้ แต่งไม่ยาก จะทำอะไร ก็หาคำกริยามาแทนที่คำว่า reached หรือเดินทางไปถึง โดยจะต้องใช้กริยาช่องที่ 3 หรือ V3 เช่น กิน /eaten, อาบน้ำ /taken a bath

 

การกระทำที่จะใช้กับกริยานี้ก็คือ จะเป็นการกระทำอย่างต่อเนื่องในอนาคต ในเวลาใดเวลาหนึ่ง ก่อนสิบโมงเช้ากำลังขับรถและสิ้น สุดลงในเวลาที่กำหนด เวลาสิบโมงเช้า ก็ขับรถไปถึงพัทยาแล้ว จะเข้ากับเงื่อนไขนี้ คือ ประธาน + will have/has+กริยาช่อง 3

 

3.4 Future Perfect Continuous

กล่าวถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่มีลักษณะเป็นการกระทำอย่างต่อเนื่อง เช่น หลัง 8 โมงเช้า พรุ่งนี้ ฉันจะมีประชุมต่อเนื่องไปจนกว่า จะถึง 5 โมงเย็น จะเป็นการกระทำที่ดำเนินอย่างต่อเนื่อง ไม่มีหยุด

ประโยคนี้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการแจ้งเวลาว่างของตัวเองหรือแจ้งเวลาที่สะดวกในการติดต่อ เพื่อนัดหมายหรือทำธุระต่างๆ ใน อนาคต วันพรุ่งนี้ มะรืนนี้ หรืออาทิตย์หน้า เดือนหน้า

 

ตัวอย่างข้อความคำพูด สำนวนแบบไทย เราอาจจะบอกว่า พรุ่งนี้ 8:00 - 10:00 น. กำลังติดประชุมนะ หรือกำลังทำอะไร ติด ธุระต้องทำอะไร เป็นการกระทำที่ติดพันต่อเนื่องในช่วงระยะเวลาหนึ่งในอนาคต

 

At 8:00 - 10:00 am tomorrow, Somchai will has been teaching math.
แอท เอ้ด ทู เทน เอ เอ็ม ทูโมโร สมชาย วิล แฮส บีน ทีชชิ่ง แมธ
พรุ่งนี้เวลา 8:00 น - 10:00 น. สมชายจะมีชั่วโมงสอนวิชาคณิตศาสตร์ การสอนจะเป็นการกระทำที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง ติดพัน

 

การกระทำที่จะใช้กับกริยานี้ก็คือ จะเป็นการกระทำอย่างต่อเนื่องในอนาคต ในช่วงเวลาหนึ่ง (8:00 - 10:00 น) ซึ่งการสอนเป็น การกระทำที่จะต้องทำอย่างต่อเนื่อง