บทความแสดงตัวอย่างการนำคำนามในภาษาอังกฤษไปใช้งาน หรือหน้าที่ในประโยคที่เราพูดหรือเขียน จะมีวิธีใช้งานหลายแบบ เช่น เป็นประธานของประโยค เป็นกรรม เป็นต้น

 

ในภาษาไทยเรา การเรียบเรียงประโยคหรือเรียบเรียงคำพูด จะต้องมีประธานว่าใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เช่น แดงไปจังหวัดเขียงใหม่ คำว่า แดง ในภาษาอังกฤษจะเป็นคำนามที่ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค สมศรีกินกล้วย สมศรีเป็นคำนามที่ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค ส่วนกล้วย ทำหน้าที่เป็นกรรมของคำว่าของประโยคนี้ ในภาษาอังกฤษก็เช่นเดียวกันจะมีประธาน กริยา กรรม เพียงแต่จะมีการแบ่งหน้าที่ที่จัดเจนกว่าภาษาไทยของเรา

 

คำนามทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค

ตัวอย่างคำนามที่ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยคเช่น
Daeng go to Chieng Mai.
แดง โก ทู เชียงใหม่
แดงไปเชียงใหม่

Tom smiles.
ทอม สไมล์สฺ
ทอมยิ้ม

 

คำนามทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค

คำนามทำหน้าที่เป็นกรรม เพื่อให้รู้ว่า ใครทำอะไรกับใคร สิ่งใด เช่น
Somsri eats banana.
สมศรี อีทสฺ บานานา
สมศรี กินกล้วย กล้วยทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค โดนสมศรีกิน

Tree dogs chase cat.
ทรี ดอกสฺ เชส แคท
สุนัขสามตัวไล่แมว แมวเป็นกรรม

 

คำนามทำหน้าที่ขยายประธนานหรือเติมเติมอธิบายประธานของประโยค

การใช้คำนามในลักษณะนี้จะช่วยให้ประโยค สมบูรณ์ เช่น
Tongchai is a teacher.
ธงชัย อีส อะ ทีเฉอะ
ธังชัยเป็นครู คำว่า a teacher หรือ ครู เป็นคำช่วยขยายประธานหรือเติมเติมประโยคให้รู้ว่า ธงชัย เป็นอะไร เป็นบุคคลคนเดียวกัน แบบนี้จะไม่ใช่กรรม

Tongchai hits a teacher.
ธงชัย ฮิทสฺ อะ ทีเฉอะ
ธงชัย ตี ครู กรณีนี้ ครูเป็นกรรม เพราะโดนตี และไม่ใช่บุคคลเดียวกัน เหมือน Tongchai is a teacher.

 

คำนามทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยา

คำกริยาหลายตัวจะต้องมีกรรมมารับ ไม่เช่นนั้นจะเป็นประโยคที่ไม่สมบูรณ์ เช่น
Tim smiles.
ทิม สไลล์สฺ
ทิมยิ่ม กรณีนี้เป็นประโยคที่สมบูรณ์ ไม่ต้องมีกรรมมารับ

Tim eats
ทิม อีทสฺ
ทิมกิน..
กรณีนี้เป็นประโยคที่ไม่สมบูรณ์ เพราะไม่รู้ว่ากินอะไร จะต้องมีกรรมของคำว่า กิน อีกที เช่น Tim eats breakfast. ทิมทานอาหารเช้า breakfast /เบรคฟาสตฺ อาหารเช้าทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยา eats

 

คำนามทำหน้าที่เป็นกรรมของคำบุพบท

คำบุพบทจะทำหน้าที่เชื่อมกริยากับคำนามให้ประโยคมีความสมบูรณ์เช่น
Tree dogs run to the fench.
ทรี ด็อกสฺ รัน ทู เดอะ เฟนซ์
สุนัขสามตัววิ่งไปที่รั้ว to เป็นคำบุพบท และ fench (รั้ว) ทำหน้าที่เป็นกรรมของ to อีกที

 

คำนามทำหน้าที่ขายกรรมหรือเต็มเต็มให้กรรมสมบูรณ์

บางประโยคมีกรรมอยู่แล้ว แต่อาจจะไม่สมบูรณ์ จำเป็นต้องมีคำนามมาช่วยขยายกรรมอีกที เช่น
Google make me rich.
กูเกิ้ล เมก มี ริช
กูเกิ้ลทำให้ฉันรวย
คำว่า me หรือ ฉัน เป็นกรรมของ make แต่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องมีคำว่า rich มาเสริมอีกที เพื่อให้กลายเป็นประโยคที่สมบูรณ์ อ่านแล้ว เข้าใจ

 

คำนามทำหน้าที่ขยายประธานให้ประโยคสั้นลง

Tongchai, my son, is a teacher.
ธงชัย, มาย ซัน, อีส อะ ทีเฉอะ
ธงชัย ลูกชายของฉัน เป็นครู คำว่า my son ช่วยขยายประธานคือ ธงชัย อีกที เพื่อให้ประโยคสมบูรณ์ยิ่งขึ้น รวบรัดมากขึ้น ไม่เช่น นั้น
ก็ต้องพูด 2 ประโยคก็คือ
Tongchai is my son
ธงชัย อีส มาย ซัน
ธังชัยเป็นลูกชายของฉัน

Tongchai is a teacher
ธงชัย อีส อะ ทีเฉอะ
ธงชัย เป็นครู

 

คำนามทำหน้าที่เป็นคำเรียกขาน

คำนามจะทำหน้าที่การเรียกชื่อ คน สิ่งของ สถานที่ ฯลฯ เช่น
Tim, let's go.
ทิม, เลท สะ โก
ทิม, เราไปกันเถอะ

 

คำนามทำหน้าที่ประกอบคำอื่นผสมคำอื่น

เราอาจจะนำคำนามตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป ประกอบหรือผสมกันให้เป็นคำใหม่ หรือให้คำนั้นๆ มีความหมายสมบูรณ์ กระชับมากขึ้น เช่น two+bottles = two bottles
Tom drinks two bottles of water per day.
ทอม ดริงคฺ ทู บอทเบิ้ลสฺ ออฟ วอเตอร์ เปอร์ เดย์
ทอมดื่มน้ำวันละ 2 ขวด

green+house+effect = greenhouse effect
Greenhouse effect make our earth hotter.
กรีนเฮ้าส์ เอฟเฟคต์ เมก เอาเอ่อ เอิร์ธ ฮอตเทอร์
ปรากฏการณ์เรือนกระจกทำให้โลกเราร้อนขึ้น

หากรู้ว่าคำนามจะต้องใช้งานอย่างไรบ้าง การนำคำต่างๆ ไปเรียบเรียงให้เป็นประโยคที่สมบูรณ์ก็ไม่ยาก แต่การจำคำศัพท์ให้มากๆ เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถพูดหรือเรียบเรียงประโยคได้หลากหลายมากขึ้น