อาจพิมพ์เฉพาะเนื้อหาและภาพแยกกัน (ภาพอาจจะไม่พิมพ์ก็ได้ แต่ใช้การตรวจ สอบจากหน้าจอ คอมพิวเตอร์ การพิมพ์ภาพ ออกมาด้วยค่อนข้างเปลืองหมึก) เพื่อความประหยัด นการตรวจสอบและแก้ไข การพิมพ์แนะนำให้เลือกโหมดการพิมพ์แบบประหยัด หมึก การตรวจสอบคุณภาพของเนื้อหา ไม่ควร ตรวจสอบเดี๋ยวนั้น ควรเว้นระยะไปสักพัก เช่น อาทิตย์หน้าจึงเริ่มตรวจทานเนื้อหาทั้งหมด หากเป็นงาน ที่ไม่รีบเร่งมากนัก

การทิ้งช่วงไว้นานพอสมควรจะมีทั้งข้อดีข้อเสีย หากปล่อยไว้นานเราอาจจะลืมข้อมูลไป บางส่วน การอ่านตรวจสอบก็เหมือนกับการต้องเริ่มต้นใหม่ ปรับความคิดใหม่ ตอนนี้เราก็จะมองเห็น ข้อบกพร่องของหนังสือค่อนข้าง ชัดเจนว่าเนื้อหาต่างๆ อ่านแล้วเป็นอย่างไรบ้าง จับใจความได้ตรงกับที่เรา ต้องการสื่อความหมายหรือไม่ จากนั้นจึงทำการแก้ไขข้อมูล ในไฟล์ ข้อความที่ได้พิมพ์ไว้ ส่วนข้อเสียก็อาจ ทำให้เกิดความขี้เกียจ เบื่อ งานไม่เดิน


ช่วงหยุดพักงานไว้ชั่วคราว ควรอ่านหรือหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังสือที่เขียน เพื่อเสริมฐาน ความรู้ให้กว้างกว่าเดิม เพราะ ระหว่างที่เขียนอยู่นั้นจะมองโลกค่อนข้างแคบ คิดอะไรออกก็เขียนๆๆ


นอกจากตรวจสอบข้อความแล้วก็ตรวจสอบรูปภาพด้วย ภาพใดบ้างมีปัญหา ไม่สื่อความหมาย ไม่ชัด เจน แต่ส่วนมากจะ ไม่ค่อยมีปัญหามากนัก อาจมีปัญหาเรื่องความ คมชัดของภาพ หลังการพิมพ์จริงจาก โรงพิมพ์ ภาพที่คิดว่าดีแล้วแต่เวลาโรงพิมพ์ พิมพ์ ออกมาปรากฏว่าแตกเป็นเม็ด ภาพไม่ชัด เพราะฉะนั้นก็อาจ ต้องทำอาร์ตเวิร์คขึ้นมาชิ้น หนึ่งส่งไปทำเพลทเพื่อพิมพ์ทดสอบ ก่อนพิมพ์เป็นรูปเล่มจริง