บทความแนะนำการทำบทความลงบล็อกใน Blogger.com ขั้นพื้นฐาน เช่น วิธีการเขียนบทความ การทำ อ่านเพิ่มเติม ป้ายกำกับ ตั้งค่าต่างๆ การแทรกภาพเข้ามาในบทความ เป็นต้น

การเขียนบทความลงในบล็อกสำหรับการสร้างบล็อกใน Blogger นั้นค่อนข้างง่าย สามารถเขียนได้อย่างอิสระ ตราบเท่าที่เนื้อหาไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ใคร สร้างความเดือดร้อน ผิดกฏหมาย ผิดศีลธรรม ฯลฯ ซึ่งแนวนั้นเหมาะสำหรับการทำเว็บบล็อกส่วนตัวเพื่อเผยแพร่ความรู้ หรือแชร์ประสบการณ์ด้านต่างๆ แต่การทำเว็บบล็อกเพื่อหาเงินจากเน็ต ไม่ว่าจะเป็นการค้าขายผ่านบล็อก หรือ ทำเว็บบล็อกหาเงินจากการคลิกโฆษณา การเขียนบทความในแนวนี้จะต้องเป็นเรื่องเป็นราว ต้องมีหลักการ เพราะเป็นการทำธุรกิจอย่าง การเขียนจะยากกว่า

 

ตั้งจุดมุ่งหมายในการทำบทความลงบล็อก

ก่อนจะเขียนบทความลงบล็อกนั้น เราต้องตั้งจุดมุ่งหมายก่อนว่าเราจะทำบล็อกแบบไหน เพื่ออะไร เช่น

1. เน้นทำบล็อกส่วนตัว ไม่เน้นธุรกิจ หรือหาเงินจากเว็บไซต์ เน้นแชร์ประสบการณ์ เล่าเรื่อง เป็นพื้นที่ให้แสดงความคิดของตัวเอง ให้ความรู้ ไม่เน้นธุรกิจ ไม่เน้นรายได้ เขียนเป็นงานอดิเรก เป็นต้น จุดมุ่งหมายในการทำบล็อกแนวนี้จะทำอย่างสบายใจที่สุด สามารถเขียนแนวไหนก็ได้ตามที่ต้องการ โดยไม่ต้องสนใจว่าจะมีใครเข้ามาอ่านมากน้อยแค่ไหน เว็บบล็อกแนวนี้จะมีมากที่สุด เพราะสร้างง่ายกว่า

 

2. เน้นทำเว็บบล็อกเพื่อสร้างรายได้แบบต่างๆ เช่น ชายสินค้า คลิกโฆษณา แบนเนอร์ ฯลฯ เว็บบล็อกแนวนี้การเขียนบทความจะต้องมีการวิเคราะห์ วิจัยคีย์เวิร์ด จะเขียนตามใจ ตามความชอบเว็บบล็อกจะไม่สร้างรายได้ ยากกว่า มาก เพราะต้องศึกษาคีย์เวิร์ดก่อนจะเขียนบทความทุกครั้ง การทำเว็บบล็อกแนวนี้ค่อนข้างยาก ตัวอย่างเว็บบล็อกแนวหาเงินออนไลน์ จากการคลิกโฆษณา Adsense ในเว็บ

 

ตัวอย่างการโพสต์บทความลงบล็อกขั้นพื้นฐาน

1. เข้าระบบของ Blogger จากตัวอย่างต้องการทำบทความหรือโพสต์ลงในบล็อกชื่อ ASUS fonepad Guide ให้คลิกไอคอน รูปดินสอสีส้มทางขวามือ


2. จะปรากฏหน้าจอให้ทำบทความ ในช่อง โพสต์ ให้พิมพ์ชื่อบทความ ลงไป


3. ช่องด้านล่าง พิมพ์เนื้อหาของบทความลงไป พิมพ์ย่อหน้าแรก ประมาณ 2-3 บรรทัด ก็พอ แล้ว กด Enter ลงบรรทัดใหม่ ย่อหน้าแรกนี้สำคัญมาก เขียนให้น่าอ่าน เพราะเมื่อ Google นำไปแสดงในผลการค้นหา จะดึงข้อมูลในส่วนย่อหน้าแรกไปแสดง


4. คลิกปุ่ม ใส่ อ่านเพิ่มเติม กั้นย่อหน้าแรก กับเนื้อหาส่วนอื่นๆ


5. จากนั้นก็พิมพ์เนื้อหาส่วนที่เหลือของบทความ เนื้อหาที่พิมพ์นั้น แต่ละย่อหน้าอย่าให้ยาวเกินไป กรณีใช้หัวข้อ ต้องเน้นหัวข้อให้เป็นตัวหนา และเนื้อหาต่างๆ ให้เคาะบรรทัดหรือเว้นวรรคให้สวยงาม


6. การแทรกภาพเข้ามาในบทความนั้น สำคัญมาก ภาพใดที่ต้องการแชร์ไปยัง Google+ ให้แทรกภาพนั้นๆ เข้ามาเป็นภาพแรกในบทความ ซึ่งภาพนี้จะถูกนำไปทำเป็นภาพธัมเนลเช่นกัน


7. คลิกตำแหน่งที่จะแทรกภาพ เช่น หน้าคำว่า ใน แล้วกด Enter เพื่อแทรกบรรทัดว่างๆ เพราะเราจะวางภาพไว้ด้านบน ย่อหน้าแรก


8. คลิกปุ่ม แทรกภาพ ในเมนูคำสั่งด้านบน

 

9. คลิกเลือกไฟล์ภาพที่ต้องการ แทรกลงในบทความ

10. คลิก Open

11. เมื่อภาพถูกแทรกเข้ามาแล้ว ให้คลิกเลือกภาพที่ต้องการ


12. คลิก เพิ่มรายการที่เลือก


13. ภาพจะถูกแทรกเข้ามาในบทความ การลบให้คลิกที่ภาพ ก็จะปรากฏคำสั่งให้จัดการกับภาพ เช่น จัดตำแหน่ง ปรับขนาดภาพ หรือลบภาพ เป็นต้น


14. ภาพที่นำเข้ามาใส่ในบทความในบล็อก ของ Blogger ควรใช้ภาพขนาดไม่เกิน 580 Pixels แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเทมเพลทที่ใช้


15. อาจจะแทรกภาพที่ตำแหน่งอื่นๆ ได้ตามต้องการ


16. ตั้งค่าที่จำเป็นให้บทความ เช่น ป้ายกำกับ ตัวเลือกนี้สำคัญมาก ทุกบทความต้องมีป้ายกำกับ ซึ่งจะเป็นการ กำหนดหมวดหมู่ให้กับบทความนั้นด้วย ห้ามลืมอย่างเด็ดขาด คลิก แล้วพิมพ์ป้ายกำกับลงไป


17. เสร็จแล้ว คลิก บันทึก และ เผยแพร่ ตามลำดับ


18. แต่ในกรณีที่ได้เปิดบทความนั้น ขึ้นมาแก้ไข คำสั่ง บันทึก จะเปลี่ยนเป็น อัพเดท ให้คลิก อัพเดท แทน


19. เสร็จแล้ว ดูผลงาน โดยคลิก ดูบล็อก


20. ผลงานที่ได้ หลังจากได้ทำบทความ หรือทำโพสต์ ลงบล็อก ของ Blogger บทความที่แสดงจะมีส่วนประกอบดังภาพ มีวันที่ที่สร้างบทความ ชื่อบทความ ภาพธัมเนล ย่อหน้าแรก ลิงก์ อ่านเพิ่มเติม ปุ่มโซเชียล ส่วนประกอบเหล่านั้น ปรับแต่งได้ใน รูปแบบ ของบล็อก


21. ตัวอย่างภาพธัมเนล ที่แสดงก่อนบทความ การใช้ภาพที่น่าสนใจจะช่วยดึงดูดผู้เช้าชม ให้อยากคลิกอ่านบทความ


22. ผลจากการแทรก อ่านเพิ่มเติม ก็จะแสดงบทความ แค่ย่อหน้าแรก เท่านั้น และคั่นด้วย อ่านเพิ่มเติม ให้คลิกเพื่ออ่านต่อ ย่อหน้าแรก ต้องกำหนดจำนวนข้อความให้เท่ากัน เพื่อความสวยงาม เวลาแสดงผล


23. หมวดหมู่ จะดึงป้ายกำกับ ของแต่ละบทความมาแสดง ซึ่งบทความใดใช้ป้ายกำกับ เหมือนกัน ก็จะถูกจัดกลุ่มไว้ด้วยกันอย่างเป็นระเบียบ

 

การทำบทความหรือสร้าง โพสต์ ลงบล็อก ใน Blogger ค่อนข้างง่าย แต่สิ่งสำคัญจะอยู่ที่บทความ การทำบทความคุณภาพ เป็นเรื่องใหญ่ และส่งผลโดยตรงกับจำนวนผู้เข้าชมเว็บบล็อก ซึ่งการเขียนบทความนั้น เป็นหัวใจของการทำบล็อก ต้องศึกษาอย่างมาก เพื่อจะเขียนบทความดีๆ ให้มีคนติดตามมากๆ

 

บทความเนื้อหาใกล้เคียงกัน :