ความหมาย : ใช้เปรียบเทียบถึงสิ่งที่ได้กระทำเป็นสิ่งที่มีอันตราย แต่ไม่ทำให้สำเร็จ อาจจะประมาทเลินเล่อ ทำให้ตัวเองต้องได้รับความเดือดร้อน เพราะสิ่งนั้นย้อนกลับมาทำร้ายตัวเอง

ตัวอย่าง :

นายดำจับงูเหลือมตัวใหญ่ได้ หลังจากที่ได้เข้ามากินไก่หมดไปหลายตัว แต่ก็เอาไปปล่อยไม่ไกลบ้านมากนัก ทำให้งูย้อนกลับมาขโมยกินไก่อีกหลายตัว ขว้างงูไม่พ้นคอ แบบนี้คงจะไม่ดีแน่ ต้องเอาไปปล่อยให้ห่างบ้านหลายกิโลเมตร /p>

นาย แดง มีนิสัยเกเรและชอบลักขโมยของใช้เพื่อนๆ ในที่ทำงาน นายจ้างให้โอกาสหลายครั้ง เพราะสงสาร แต่ก็เป็นการแก้ปัญหา แบบขว้างงูไม่พ้นคอ เพราะนายแดงไม่ปรับปรุงตัว จนนายจ้างต้องให้ออกจาก ไปหาที่ทำงานใหม่

ขว้างงูไม่พ้นคอ มักจะใช้เปรียบเทียบกับการแก้ปัญหาในเรื่องต่างๆ โดยที่ไม่ยอมแก้ไขให้จบ อาจจะด้วยประสบการณ์ที่ยังน้อย คาดไม่ถึง หรือเกรงใจ หรือให้โอกาสก็ตามแต่ และก็ทำให้ปัญหานั้นๆ ย้อนกลับมาทำให้ตัวเองเดือดร้อน

สำนวน สุภาษิตที่ คล้ายกัน :