บทความนี้จะมาแนะนำวิธีเติมเงินเพื่อรักษาเบอร์มือถือ รักษาวัน และใช้ซิมเน็ต ที่จะช่วยประหยัดเงินต่อปีมากที่สุด เพราะในเรื่องนี้หากไม่ ศึกษาให้ดี ก็มักจะเสียเงินไปเปล่าๆ หลักพันบาทต่อปี กับการเติมเงินใส่ซิม การสมัครโปรเน็ต หรือการถูกคิดค่าบริการอื่นๆ

 

มือถือเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ แต่สิ่งที่สำคัญกว่าก็คือเบอร์มือถือประจำตัว ซึ่งทุกคนจะต้องมีเบอร์มือถือ เอาไว้เพื่อติดต่อ หรือสมัครบริการต่างๆ ของรัฐบาง การโอนเงิน รับเงิน สมัครใช้งานแอปในมือถือ เพื่อใช้ Line, Facebook ฯลฯ แต่การมีเบอร์มือถือนั้น จะมีรายจ่ายทุกเดือน ทุกปี ที่จะ ต้องจ่ายเพื่อรักษาวัน รักษาเบอร์ของตัวเองเอาไว้ หากไม่จ่าย เบอร์นั้นก็จะถูกยกเลิก ไม่สามารถใช้งานได้อีก

 

และเมื่อเบอร์มือถือถูกยกเลิกหรือระงับการใช้งาน ก็ย่อมจะสร้างปัญหาในการติดต่อ การโอนเงิน การเปลี่ยนเบอร์ใหม่ ก็จะเสียเวลาแนะนำ บอกแจ้งเพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง หรือต้องไปลงทะเบียนหรือแจ้งเปลี่ยนเบอร์ในแอป หรือ บริการต่างๆ ที่เคยสมัครไว้ ก็ต้องไปเปลี่ยนเบอร์ใหม่ด้วย เช่นกัน อย่างผู้เขียนใช้แอปของธนาคารกรุงเทพ หากเปลี่ยนเบอร์มือถือ ก็จะต้องไปแจ้งที่สาขาของธนาคาร เพื่อเอาไว้รับ SMS แจ้งโอนเงินถอนเงิน หรือยืนยันตัวตนว่าเป็นเจ้าของบัญชีตัวจริง

 

วิธีใช้ซิมมือถือและการเติมเงินแบบต่างๆ

สำหรับการใช้งานเบอร์มือถือ การเติมเงิน กับซิมแบบเติมเงินนั้น ก็จะมีรูปแบบการใช้งานหลักๆ 3 แบบ ด้วยกัน โดยแต่ละแบบจะมีค่าใช้จ่าย รายปีต่างกันไป
1. ใช้ซิมเติมเงินซิมเดียว เบอร์เดียว ทั้งโทรศัพท์ และ สมัครอินเตอร์เน็ต
2. ใช้ 2 ซิม ซิมเติมเงินรักษาเบอร์และซิมเน็ต
3. ใช้ซิมเน็ตรายปี

 

ใช้ซิมเติมเงินซิมเดียว เบอร์เดียว

การใช้ซิมเติมเงินกรณีมีเบอร์เดียวนั้น หากเป็นการเติมเงินเพื่อรักษาซิม รักษาเบอร์เอาไว้ ก็จะมีค่าใช้จ่ายที่ถูกที่สุด โดยแต่ละค่ายมือถือจะมีค่า เติมเงินมากน้อยต่างกันไป

 

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายในการเติมเงินเพื่อรักษาเบอร์ รักษาวัน

1. ซิม AIS จะมีค่าเติมเงินขั้นต่ำ 5 - 7 บาทต่อเดือน เติม 5 บาท ใช้ได้ 30 วัน แต่กรณีเติมกับตู้เติมเงิน จะต้องจ่ายเพิ่มอีก 2 บาท รวมเป็นเงิน 7 บาท ใน 1 ปี หรือ 12 เดือน จะมีค่าใช้จ่าย 5 x 12 = 60 บาท หรือ 7 x 12 = 84 บาท ต่อปี

2. ซิม Dtac จะมีค่าเติมเงินขั้นต่ำ 10 - 12 บาทต่อเดือน เติม 10 บาท ใช้ได้ 30 วัน แต่กรณีเติมกับตู้เติมเงิน จะต้องจ่ายเพิ่มอีก 2 บาท รวมเป็น เงิน 12 บาท ใน 1 ปี หรือ 12 เดือน จะมีค่าใช้จ่าย 10 x 12 = 120 บาท หรือ 12 x 12 = 144 บาท ต่อปี

3. ซิม True จะมีค่าเติมเงินขั้นต่ำ 10 - 12 บาทต่อเดือน เติม 10 บาท ใช้ได้ 30 วัน แต่กรณีเติมกับตู้เติมเงิน จะต้องจ่ายเพิ่มอีก 2 บาท รวมเป็น เงิน 12 บาท ใน 1 ปี หรือ 12 เดือน จะมีค่าใช้จ่าย 10 x 12 = 120 บาท หรือ 12 x 12 = 144 บาท ต่อปี

จากข้อมูลที่ศึกษามานั้น จะพบว่า ซิมของ AIS จะมีค่าใช้จ่ายต่อปีน้อยที่สุด เพียง 60- 84 บาท ต่อปีเท่านั้นเอง สำหรับการเติมเงินเพื่อรักษา เบอร์เอาไว้ ในขณะที่ Dtac กับ True มีค่าใช้จ่าย 120 - 144 บาท แต่การเติมเงินนั้น จะต้องเติมผ่านตู้เติมเงิน หรือ แอปของมือถือแต่ละค่าย กรณีเติมผ่านร้านค้า หรือ ธนาคาร อาจจะต้องเติมขั้นต่อที่ 50 บาท ขึ้นไป แต่มีอายุวันได้เพียง 30 วันเท่ากัน ซึ่งถือว่าไม่คุ้ม เพราะหากเติมแบบ นี้บ่อยๆ ในแต่ละปี จะเสียเงินค่อนข้างมาก

 

เรื่องต้องระวังการใช้ซิมเติมเงินซิมเดียว เบอร์เดียว

การใช้ซิมเดียว เบอร์เดียวแบบนี้ กรณีจะต้องต่อเน็ต ก็จะมีค่าใช้จ่ายสูงมาก อย่างโปรเน็ตใช้ได้ 30 วัน ไม่อั้น จะมีค่าใช้จ่ายเกิน 300 บาท ต่อ เดือน หรือเกิน 3600 บาทต่อปี ดังนั้น หากจะต้องต่อเน็ต ก็แนะนำให้ใช้ 2 ซิม เบอร์ประจำตัว และซิมเน็ตโดยเฉพาะ ศึกษาได้ในหัวข้อถัดไป

 

ใช้ 2 SIM ซิมเติมเงินและซิมเน็ต

การใช้เบอร์มือถือในลักษณะนี้ จะมี 2 ซิม ก็คือ เบอร์ประจำตัวหรือซิมที่ไม่อยากเปลี่ยน เป็นเบอร์ที่ใช้มานาน อยากเก็บเอาไว้ และเบอร์มือ ถือหรือซิมที่เอาไว้สำหรับเล่นเน็ตโดยเฉพาะ ในมือถือแอนดรอยด์จะใส่ได้ 2 ซิม จึงไม่มีปัญหาในการใช้งานในลักษณะนี้ อย่างมือถือผู้เขียน เครื่องนี้ จะมี 2 ซิม
- ซิมแรก หรือ SIM 1 เป็นเบอร์ประจำตัวที่ไม่อยากเปลี่ยน เพราะสมัครใช้บริการต่างๆ ก็ใช้เบอร์นี้ ทั้งของรัฐบาล แอปธนาคาร อีเมล์ ฯลฯ ก็ จะเติมเงินรักษาซิมไว้เดือนละ 12 บาท เป็นซิมของทรู
- ซิมที่สอง หรือ SIM 2 เป็นซิมเน็ตแบบรายปี เอาไว้ต่อเน็ตทั้งปี จ่ายครั้งเดียว 1345 บาท

 

ค่าใช้จ่ายกรณีใช้ 2 SIM

ค่าเติมเงินรักษาเบอร์ที่ไม่อยากเปลี่ยน

เบอร์มือถือหรือซิมที่ไม่อยากเปลี่ยน เป็นเบอร์ที่ใช้มานาน การเติมเงินเพื่อรักษาเบอร์เอาไว้ แต่ละค่ายมือถือจะมีค่าเติมเงินขั้นต่ำตามนี้
1. AIS ขั้นต่ำประมาณ 5-7 บาทต่อเดือน หรือ 60 - 84 บาท ต่อปี
2. Dtac ขั้นต่ำประมาณ 10-12 บาทต่อเดือน หรือ 120 - 144 บาท ต่อปี
3. True ขั้นต่ำประมาณ 10-12 บาทต่อเดือน หรือ 120 - 144 บาท ต่อปี

 

ค่าใช้จ่ายซิมเน็ตแบบรายปี

ซิมเน็ตแบบนี้ เสียเงินรายปี หรือ 12 เดือน จ่ายครั้งเดียว ครบ 12 เดือน แล้วก็โยนทิ้ง ซื้อซิมใหม่ ไม่ยุ่งยากอะไร นอกจากซิมแบบรายปี 12 เดือน แล้วก็ยังมีแบบ 6 เดือน จ่ายครั้งเดียว ใช้ได้ 6 เดือน ให้เลือกใช้ด้วยเช่นกัน
ตัวอย่างเช่น
1. ซิม AIS จะมีโปรเน็ตรายปี หรือ ซิมรายปี จ่ายครั้งเดียว ใช้ได้ 12 เดือน หรือ 1 ปี เช่น
- ซิมรายปี จ่ายครั้งเดียว ใช้ได้ 12 เดือน หรือ 1 ปี 1529 บาท


- ซิมรายปี จ่ายครั้งเดียว ใช้ได้ 12 เดือน หรือ 1 ปี 2199 บาท


- ซิมแบบ 6 เดือน จ่ายครั้งเดียว ใช้ได้ 6 เดือน ราคา 754 บาท


2. ซิม Dtac จะมีโปรเน็ตรายปี หรือ ซิมรายปี จ่ายครั้งเดียว ใช้ได้ 12 เดือน หรือ 1 ปี และ แบบจ่ายครั้งเดียว ใช้ได้ 6 เดือน
- ซิมรายปี จ่ายครั้งเดียว ใช้ได้ 12 เดือน หรือ 1 ปี ราคา 1390 บาท


- ซิมรายปี จ่ายครั้งเดียว ใช้ได้ 12 เดือน หรือ 1 ปี ราคา 1650 บาท


- ซิมแบบ 6 เดือน จ่ายครั้งเดียว ใช้ได้ 6 เดือน ราคา 899 บาท


3. ซิม True จะมีโปรเน็ตรายปี หรือ ซิมรายปี จ่ายครั้งเดียว ใช้ได้ 12 เดือน หรือ 1 ปี และ แบบจ่ายครั้งเดียว ใช้ได้ 6 เดือน
- ซิมรายปี จ่ายครั้งเดียว ใช้ได้ 12 เดือน หรือ 1 ปี ราคา 1390 บาท


- ซิมรายปี จ่ายครั้งเดียว ใช้ได้ 12 เดือน หรือ 1 ปี ราคา 1890 บาท


- ซิมแบบ 6 เดือน จ่ายครั้งเดียว ใช้ได้ 6 เดือน ราคา 490 บาท

 

สำหรับใครที่มีเบอร์ประจำ ไม่อยากเปลี่ยนเบอร์ และมีความจำเป็นจะต้องต่อเน็ต ใช้เน็ต เพื่อเล่น Line ใช้แอปธนาคาร ใช้เฟสบุ๊ค ใช้โซเชีย ลต่างๆ การใช้ซิม 2 เบอร์แบบนี้จะคุ้มค่าที่สุด เบอร์ประจำตัว ก็แค่เติมเงินรักษาเบอร์ไม่เกิน 144 บาทต่อปี ส่วนซิมไว้ต่อเน็ต ก็เลือกได้ตามความ ชอบ หรือ ความแรงของสัญญาณมือถือใกล้บ้าน เป็นซิมราย 6 เดือน หรือ รายปี หมดโปรโมชันแล้วก็ทิ้งไปเลย ซื้อใหม่ เริ่มใหม่

 

ใช้ซิมเน็ตรายปีเบอร์เดียว

การใช้ซิมหรือเบอร์โทรศัพท์แบบนี้จะช่วยประหยัดเงินมากที่สุด โดยใช้ซิมเทพ ซิมเล่นเน็ตแบบรายปี แต่จะต้องเปลี่ยนเบอร์ทุกปี จึงไม่เหมาะ สำหรับคนทั่วไป ยกเว้นผู้เขียน อยู่ตัวคนเดียว ไม่มีเพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง ไม่เคยติดต่อใคร ในแต่ละปีแทบจะไม่เคยพูดโทรศัพท์กับใคร

 

การใช้ซิมแบบนี้ประหยัดเงินก็จริง เช่น ใช้ซิมเทพ True ปีละ 1390 บาท ก็จะเสียเงินต่อปีแค่นี้ หรืออาจจะมากกว่านี้เล็กน้อย หากเติมเงินเพื่อ เอาไว้โทรศัพท์ พูดคุยบ้าง แต่ว่าในแต่ละปีนั้นจะต้องแก้ไขเบอร์มือถือที่ลงทะเบียนเอาไว้ เช่น ลงทะเบียนใช้แอปธนาคาร หรือบริการต่างๆ ของ รัฐบาล ดังนั้นการใช้ซิมหรือเบอร์มือถือในลักษณะนี้ ช่วยประหยัดเงิน แต่ก็ทำให้ชีวิตยุ่งยากทุกปี

 

สรุป

สำหรับบทความนี้ก็หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์สำหรับหลายๆ ท่าน เพื่อจะได้เลือกใช้ซิม การเติมเงินเพื่อรักษาเบอร์ และใช้ซิมเน็ต ได้อย่าง ประหยัดเงินมากที่สุด และรักษาเบอร์มือถือประจำตัวไว้ได้นานๆ โดยมีค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน หรือแต่ละปี น้อยที่สุด ซึ่งการใช้งานที่คุ้มค่าที่สุดก็ จะเป็นการใช้งาน 2 ซิม