ความหมาย : สำนวนนี้มักจะใช้พูดถึงวิธีใช้เงินของคนเราบางครั้งก็เป็นไปในลักษณะ อัฐยายซื้อขนมยาย คนที่ให้เงินเรามานั้น เราก็นำเงินที่ได้ไปซื้อสิ่งของ ซื้อสินค้าของคนผู้นั้น คนที่ให้เงินก็จะได้เงินของตัวเองกลับคืนไป ส่วนคนซื้อก็ไม่ได้ใช้เงินตัวเองเลย

ตัวอย่าง :

บางคนแก่ชราแล้ว ก็ไม่ได้ทำอะไรอาจเปิดร้านขายของเล็กๆ ในหมู่บ้านเวลามีลูกหลานมาเยี่ยมเยือน ก็จะให้เงินเล็กๆ น้อยๆแต่บางทีเงินเหล่านั้นก็ไม่ได้ไปไหน เพราะในร้านอาจมีขนม ของขบเคี้ยว ที่เด็กๆ ชอบ ก็จะนำเงินที่ได้ มาซื้อของในร้านนั่นเอง ซึ่งก็จะเข้าทำนอง อัฐยายซื้อขนมยาย คนให้เงินก็ได้เงินของตัวเองกลับคืนมา ส่วนคนซื้อก็ไม่ได้ใช้เงินของตัวเอง

การแต่งงานของบางครอบครัว ที่ลูกสาวอาจทำผิดพลาดไปแล้ว แอบมีสัมพันธ์ลึกซึ้งกับฝ่ายชายจนตั้งท้องหรือฝ่ายชายนั้นอาจจะเป็นคนดีที่ทางครอบครัวนั้นต้องการ อยากจะได้มาเป็นลูกเขย แต่ติดที่ว่าฝ่ายชายนั้นมีฐานะยากจน ในกรณีอย่างนี้ ทางครอบครัวฝ่ายหญิงก็อาจจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ในการจัดงานแต่ง ค่าสินสอดทองหม้ินทั้งหมด แม้ฝ่ายชายจะไม่มีเงินทองมาสู่ขอ ก็จะให้เงินฝ่่ายช่าย เพื่อใช้เป็น ค่าสินสอด เพื่อมาสู่ขอและจัดงานแต่ง เพื่อเป็นการรักษาหน้าตาของทางครอบครัวฝ่ายหญิง ซึ่งก็จะเข้าทำนอง อัฐยายซื้อขนมยาย ทางครอบครัวของฝ่ายหญิงเป็นผู้ออกเงินจัดการงานแต่งทั้งหมด รวมทั้งค่าสินสอดส่วนฝ่ายชายเมื่อมาสู่ขอฝ่ายหญิงมีการมอบสินสอดให้ฝ่ายหญิง ครอบครัวฝ่ายหญิงก็จะได้รับเงินของตัวเองกลับคืนไป ส่วนฝ่ายชายก็จะได้แต่งงานโดยที่ตัวเองก็ไม่ได้ออกเงินแต่อย่างใด

ในครอบครัวคนรวยบางครอบครัวนั้น บางคนก็ขอเลือกคนดีมาเป็นลูกเขย แม้จะมีฐานะยากจน แต่คนดีย่อมไม่สร้างปัญหาเดือดร้อนใดๆ ตามมา บางคนไม่ได้สนใจเรื่องหน้าตาตัวเอง ไม่เกี่ยงว่าลูกเขยจะต้องร่ำรวย มีฐานะ มีชื่อเสียง มีหน้าที่การงานที่ดีแต่ขอให้เป็นคนดีก็พอใจแล้ว เพราะบางคนนั้นก็เข้ามาโดยเข้ามาดูแลทั้งครอบครัว ดูแลพ่อแม่ฝ่ายหญิงด้วยเช่นกัน ในขณะที่ ลูกเขยซึ่งร่ำรวย มีฐานะ แต่อาจเป็นคนเห็นแก่ตัว ไม่เอาใคร ไม่คบใคร อยากจะได้เพียงลูกสาวอยากจะแต่งงานกันเท่านั้น แล้วก็พากันแยกตัวไม่มายุ่งกับครอบครัวของฝ่ายหญิงในกรณีอย่างนี้ การเลือกคนดีย่อมจะดีกว่าเลือกลูกเขยฐานะร่ำรวยแต่เห็นแก่ตัวอย่างแน่นอน