ความหมาย : สำนวนนี้มักจะใช้พูดแนะนำบางอย่างกับคนใกล้ตัว เช่น ในกรณีที่คนใกล้ตัว ญาติพี่น้อง ลูกหลาน ทำตัวไม่ดี ก็ต้อง ตัดหางปล่อยวัด

ตัวอย่าง :

บางครั้งพ่อแม่ก็ต้องทำใจดำ ตัดหางปล่อยวัดให้ลูกหลานได้มีชีวิตในแบบของเขาเอง หากสอนสั่งแล้วไม่เชื่อฟัง

ในช่วงวัยรุ่น ลูกหลาน อาจจะประพฤติตัวไม่ดี ทำตัวแย่มาก จนต้องปล่อยแล้วแต่เวรแต่กรรม ตัดหางปล่อยวัด บางทีก็เป็นเรื่องดี เพราะบางคนก็จะคิดได้เร็ว อย่างช่วงวัยรุ่นบางคนเกเรมาก แต่หลังจากผ่านช่วงวัยนั้นไปแล้ว ก็คิดได้เร็วขึ้น เรื่องแบบนี้ ต้องวัดใจ เหมือนกัน ความกลัวว่าลูกหลานจะเสียคน จึงฟูมพักอย่างดี อาจจะไม่ใช่เรื่องดีก็ได้ ควรปล่อยให้ไปเผชิญกับอุปสรรคบ้าง

การ ตัดหางปล่อยวัด ใครบางคน บางทีก็จำเป็นต้องทำ เพราะความคิดที่ต่างกันมาก มีความเห็นไม่ลงรอยกัน ก็ต้องปล่อยให้ออกไปผจญกับโลกภายนอก เพื่อหาประสบการณ์ชีวิตด้วยตนเอง แต่ก็ควรดูแลใส่ใจบ้าง พ่อแม่ ปู่ ย่า ตายาย นับวันก็แก่ตัวลง การตัดสัมพันธ์กับลูกหลาน ตัวเองอาจจะเดือดร้อนในภายหลัง บางคนนั้น จะไม่เหลียวกลับมามองที่บ้านอีกเลย เพราะถือว่า เมื่อไม่ช่วยอะไร ก็ต่างคนต่างอยู่ ไม่มีการให้ความช่วยเหลือยามตกยากเหมือนกัน