บทความแนะนำวิธีตรวจสอบ และ ซ่อมหม้อหุงข้าวไฟฟ้า Sharp เบื้องต้น ด้วยตนเอง สำหรับมือใหม่ ไม่มีเครื่องมือ เพราะบางกรณีก็เกิดจากสาเหตุง่ายๆ อย่างเทอร์โมฟิวส์ขาด ก็แค่ซื้อมาเปลี่ยนใหม่แค่นั้นเอง บางทีอาจจะไม่ต้องทิ้งหม้อหุงข้าวใบนั้น โดยเฉพาะในหม้อราคาถูกมักจะเสียบ่อย คุณภาพต่ำ ก็ลองใช้วิธีแบบนี้ดูก่อน ด้วยการเปลี่ยนฟิวส์ 

 

 

ตัวอย่างอาการที่เกิดกับหม้อหุงข้าว Sharp

หม้อหุงข้าวยี่ห้อดีๆ จะมีความทนทาน อาจจะมีปัญหา ก็จะเป็นเรื่องเทอร์โมฟิวส์ อย่างใบนี้ใช้มา 6 ปี แล้ว มีอาการไฟไม่เข้า จึงเดาว่า ต้องเป็นที่เทอร์โมฟิวส์ ซึ่งเป็น ฟิวส์ที่จะป้องกันไม่ให้หม้อมีปัญหาหากมีอุณหภูมิสูงเกินไป ฟิวส์จะขาด เพื่อตัดไฟฟ้าไม่ให้เข้าหม้อหุงข้าว


ตัวเทอร์โมฟิวส์จะถูกหุ้มไว้ในฉนวนสีขาวกันความร้อน เพื่อป้องกันการลัดลงจร


ส่วนสาเหตุที่ทำให้เทอร์โมฟิวส์ขาด ก็น่าจะเกิดจากผู้เขียนเอง วางหม้อในไม่สนิทไปเกยกับผนังห้อง ทำให้ก้นหม้อไม่สัมผัสแผ่นความร้อนได้อย่างเต็มที่ การส่งผ่านความ ร้อนจึงมีปัญหา ทำให้ตัวหม้อร้อนจัด เพราะสะสมความร้อนไว้มาก ฟิวส์จึงขาด ปกติหากสัมผัสได้สนิท ก็จะส่งผ่านความร้อนไปได้ดี ตัวหม้อหุงข้าวจะไม่ร้อนมาก

 

วิธีตรวจสอบเทอร์โมฟิวส์

การตรวจสอบว่าเทอร์โมฟิวส์มีปัญหาหรือไม่ ทำได้ง่ายมาก ให้ถอดเทอร์โมฟิวออกมาก่อน สายสีขาวใหญ่กว่าเส้นอื่น แล้วนำสายไฟมาต่อตรง (สายสีชมพู)


สำหรับเทอร์โมฟิวส์อาจจะลองหาซื้อตามร้านอุปกรณ์ไฟฟ้าใกล้บ้านดูก่อน แต่มักจะไม่มีขาย หากไปซื้อร้านซ่อมก็อาจจะแพง ก็สามารถส่งซื้อในเน็ตได้ อย่างเช่น ที่ shopee ราคาอันละ 15 บาท แต่ค่าจัดส่งจะแพงหน่อย

 

อัปเดตหลังใช้งานเปรียบเทียบกับของแท้

เทอร์โมฟิวส์ที่มากับหม้อมีความทนทานมาก ใช้งานได้เกิน 6 ปี ที่เสีย เพราะน่าจะวางหม้อหุงข้าวไม่สนิท ส่วนฟิวส์แบบราคาถูก ใช้ไ้ด้ประมาณ 3 ปีครึ่ง ตอนนี้เพิ่งจะขาด ส่วนใครที่ต้องการความปลอดภัย ก็มีของแท้ตรงรุ่น ดีกว่า ซื้อมาแล้วเปลี่ยนได้เลย ไม่ต้องดัดแปลงเหมือนในบทความนี้ ราคาประมาณ 99 บาท หรือ ไม่เกิน 150 บาท รวมค่าส่ง แต่ก็ควรสอบถามร้านชายเครื่องใช้ไฟฟ้าใกล้บ้านดูก่อน  


จากนั้นก็เสียบปลั๊กไฟเข้าหม้อหุงข้าว หากมีไฟเข้าปกติ ก็แสดงว่า เป็นที่เทอร์โมฟิวส์ หากอาการผิดไปจากนี้ ก็ต้องเกิดจากตัวอื่น ซึ่งเกินกำลังมือใหม่ ก็ต้องส่งร้านซ่อม แต่ ทั้งนี้หากใช้หม้อคุณภาพต่ำ ไม่ใช่ยี่ห้อดีๆ อย่างพวก Sharp แล้วก็อย่าไปซ่อมจะดีกว่า ไม่คุ้ม


ส่วนปัญหาบางอย่างที่เกิดกับหม้อหุงข้าวไฟฟ้า อย่างไฟไม่ตัดเมื่อข้าวสุกแล้ว ต้องกดดีดขึ้นเอง กรณีนี้ ก็ให้ใช้วิธีการจับเวลา โดยเปิดฝาดูว่า น้ำแห้งหมดเมื่อใด จับเวลาเอา ไว้ แล้วดีดขึ้นเอง
ส่วนบางกรณีจะกดลงไม่ได้ อุ่นได้อย่างเดียว กรณีนี้ก็ต้องดูว่า หม้อใบน้้นใช้เวลาหุงข้าวกี่นาที แล้วนั่งเฝ้า หรือใช้นาฬิกาปลุก แล้วก็ใช้ไม้ขัดปุ่มกดเพื่อหุงข้าวเอาไว้ก่อน เมื่อ ข้าวสุกตามเวลาแล้วก็เอาไม้ออก ก็พอจะแก้ปัญหานี้ได้ ปกติกว่าข้าวจะสุกจะใช้เวลาประมาณ 20 นาที แต่ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณข้าวที่หุง


ส่วนการหาทางช่วยเหลือตัวเองเบื้องต้น เผื่อรองรับปัญหาหม้อหุงข้าวเสีย ก็ต้องฝึกหุงข้าวด้วยหม้อธรรมดา อย่างการหุ้งข้าวแบบไม่เช็ดน้ำด้วยเตาแก๊สกระป๋อง ค่อนข้าง ง่ายมาก สะดวก เมื่อเทียบกับการหุงข้าวด้วยเตาถ่าน หรือกองไฟ แต่ทั้งนี้ จะไม่ยากเลย หากเข้าใจหลักการ